กินกะหล่ำปลีดิบเป็นคอพอก…จริงหรือไม่ ?
advertisement
เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่อง “กินกะหล่ำปลีดิบเป็นคอพอก” หลายคนจึงเกิดข้อสงสัยว่าอะไรจริงอะไรเท็จ วันนี้ไข่เจียว จะพาทุกคนมาหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้กันนะคะ
กะหล่ำปลีเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นสั้น ใบซ้อนหลายชั้นเกาะกันแน่น ลักษณะเป็นหัวกลม เส้นใบนูนชัดเจน เพราะเก็บสะสมอาหารไว้ที่เส้นใบและก้านใบ รสหวานอ่อน ๆ เนื้อกรอบของกะหล่ำปลีสดเข้ากันดีเมื่อกินคู่กับลาบ ส้มตำ ยำ แหนม หรือไส้กรอกอีสาน เมนูปรุงกะหล่ำปลีก็เช่น ผัดน้ำมันหอย กะหล่ำปลีทอดน้ำปลา แกงจืด กะหล่ำปลียัดไส้ ในต่างประเทศก็กินกะหล่ำปลีกันไม่น้อย เช่นนำไปทำสกัดกะหล่ำปลีที่เรียกว่า ‘โคลสลอว์” (Coleslaw)
advertisement
กะหล่ำปลีดิบจะมีสาร กอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสารที่ทำลายหรือขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมหรือขัดขวางไม่ให้ร่างกายนำสารไปใช้ประโยชน์ พบมากในกะหล่ำ หัวผักกาด บรอกโคลี (broccoli) ถั่วต่างๆ และพืชตระกูลหัวหอม สารกอยโตรเจนมีฤทธิ์ยับยั้งในการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปรกติ
[ads]
หากเรารับประทานอาหารที่มีสารชนิดนี้มากเกินไปอาจทำให้ท้องอืดจนทำให้ร่างกายขาดสารไอโอดีนจนกลายเป็นโรคคอพอกได้ เมื่อเรานำผักพวกนี้ไปทำให้สุกเมื่อโดนความร้อนสารกอยโตรเจนก็จะสลายไปอย่างรวดเร็ว เราจึงควรปรุงให้สุกก่อนทาน กะหล่ำปลีจะอ่อนนุ่มและยิ่งมีรสหวานขึ้นด้วยกะหล่ำปลีมีกลิ่นเฉพาะตัวที่บางคนก็บอกว่าเหม็นเขียว เป็นกลิ่นที่เกิดจากสารซัลเฟอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยย่อยอาหาร จากการวิจัยยังพบว่า สารซัลเฟอร์อาจป้องกันการเกิดมะเร็งได้ นอกจากนี้ กะหล่ำปลียังมีวิตามินซี เบตาแคโรทีน และเส้นใยอาหารด้วย สำหรับคนที่กินกะหล่ำปลีดิบๆ ก็แต่อย่าพึ่งตกใจไปนะคะ การกินกะหล่ำปลีดิบแล้วเป็นอันตรายต่อร่างกายนั้น จะต้องกินติดต่อกันเป็นเวลานาน และต้องกินครั้งละเป็นกิโลกรัมเลยทีเดียว
advertisement
เรียบเรียงโดย Kaijeaw.com , ไข่เจียว.com