ชาหญ้าหวาน..สมุนไพรดี เพื่อสุขภาพ!!
advertisement
ความหวาน เป็นรสชาติที่คนเราจะขาดไม่ได้เลยนะคะ แต่ความหวานโดยทั่วไปนั้นมักมาพร้อมกับพลังงาน ปริมาณแคลอรี่จำนวนสูง ยิ่งหวานมากแคลอรี่ก็ยิ่งปริมาณสูงมากตามไปด้วย เป็นปัญหาสุขภาพตามมามากมาย ไม่ว่าจะความอ้วน ความดัน เบาหวาน ฯลฯ แม้จะรู้เช่นนี้แล้วแต่จะให้ตัดรสชาติหวานออกไป ก็คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยุ่งยาก อย่างไรก็ตามความสำคัญของสุขภาพนั้นมีค่ามากยิ่งกว่า ปัจจุบันมีทางเลือกของการใช้ความหวานแทนน้ำตาลทั่วไปอยู่หลายชนิดด้วย ต่างก็เกิดจากการสังเคราะห์ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นวันนี้ Kaijeaw.com จึงขอชวนให้คุณรู้จักกับ พืชสมุนไพรจากธรรมชาติที่ให้รสชาติหวาน โดยไม่ให้พลังงาน นั่นก็คือหญ้าหวานนั่นเองค่ะ ซึ่งนอกจากจะให้ ซึ่งนอกจากจะให้ความหวานแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมาก
advertisement
หญ้าหวาน เป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ ใบหญ้าหวานสด สกัดด้วยน้ำได้สารหวานแห้งประมาณร้อยละหนึ่ง ซึ่งสารหวานนี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150 – 300 เท่า และทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส จึงไม่สลายตัวหรือเปลี่ยนสภาพจากความร้อนในการปรุงอาหาร
สารให้ความหวานจากหญ้าหวาน เป็นสารสกัดที่มาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยเป็นความหวานที่ปราศจากพลังงาน และไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในร่างกาย เพราะเมื่อรับประทาน ร่างกายสามารถขับออกมาได้ทันทีไม่มีการสะสม เหมาะสำรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพทั่วไป ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ที่เป็นเบาหวาน
หญ้าหวาน (Stevia) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni เป็นพืชที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ ASTERACEAE เป็นพืชล้มลุกระยะยาว มีลักษณะคล้ายต้นกะเพราหรือต้นแมงลัก ลำต้นกลมและแข็ง มีใบเดี่ยว รูปหอก ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบให้สารที่มีรสหวาน และมีช่อดอกสีขาว เดิมทีหญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัย ต่อมามีการใช้อย่างกว้างขวางในหลายประเทศ รวมถึง ประเทศไทยด้วยซึ่งได้เริ่มมีการนำหญ้าหวานมาใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อ 20 ปีที่แล้ว นิยมปลูกในภาคเหนือ เพราะหญ้าหวานขึ้นได้ดีในสภาพอากาศค่อนข้างเย็น [ads]
advertisement
สรรพคุณของหญ้าหวาน
ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงตับอ่อน ลดไขมันในเส้นเลือดและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและโรคอ้วนได้ แถมยังช่วยสมานแผลทั้งภายนอกและภายใน ทำให้แผลหายไวขึ้นได้ รวมทั้งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ใครที่รู้สึกไม่ค่อยมีแรงล่ะก็ลองดื่มเครื่องดื่มที่ผสมหญ้าหวานก็จะช่วยให้มีกำลังวังชาเพิ่มขึ้นด้วยล่ะ และด้วยความที่หญ้าหวานเป็นพืชที่ไม่มีพลังงานนี่ล่ะ จึงมีการนำไปใช้ในการลดความอ้วนกันอย่างกว้าง ไม่ว่าจะใช้ผสมดื่ม หรือไปผลิตเป็นอาหารเสริม
คุณประโยชน์ของหญ้าหวาน
ถึงแม้ว่าหญ้าหวานจะให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า แต่ความหวานเหล่านั้นก็ไม่ได้ทำให้ระดับน้ำตาลในเพิ่มสูงขึ้น แถมยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และบำรุงตับอ่อนได้ดีอีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงสามารถรับประทานหญ้าหวานได้อย่างแน่นอน ทั้งยังเป็นตัวช่วยที่ดีในการควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนักในผู้ที่ต้องการลดความอ้วน แม้จะหวานแต่หญ้าหวานไม่มีไขมัน และ ไม่ให้พลังงานเลย (0 แคลลอรี่)
มีสรรพคุณ
– ช่วยเพิ่มกำลัง
– สมานแผลทั้งภายในและภายนอก
– ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
– ใช้ทดแทนเกลือแร่ในผู้ที่ขาดน้ำ
– รักษาอาการท้องร่วง
– ลดอาการบวมน้ำ
– ใช้ผสมกับเครื่องดื่มอื่นๆ เพื่อทดแทนน้ำตาลและเพิ่มความหวานได้
จะเห็นได้ว่า หญ้าหวานได้ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น ใบอบแห้ง, ใบแห้งบดสำหรับชงแบบสำเร็จรูป (ชาหญ้าหวาน), ใบสด, ใบแห้งบดสำหรับใช้แทนน้ำตาล (หญ้าหวานผง) และแบบสารสกัดจากใบแห้งด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนำมาชงดื่มหรือนำไปผสมกับเครื่องดื่มต่างๆ เพราะในหญ้าหวานมีสารที่เรียกว่า สารสตีวิโอไซด์ ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-300 เท่า แถมยังมีความทนทานต่อกรดและความร้อน และไม่ถูกย่อยสลายด้วยสารจุลินทรีย์ เมื่อใช้หญ้าหวานกับอาหารหรือเครื่องดื่มจึงไม่ทำให้เกิดการเน่าเสีย และไม่กลายเป็นสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูงอีกด้วย ซึ่งก็ทำให้ถูกนำไปใช้ในการผลิตอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด อย่างเช่น น้ำอัดลม น้ำชาเขียว ขนมเบเกอรี่ แยม เยลลี่ ไอศกรีม ลูกอม หมากฝรั่ง ซอสปรุงรส ฯลฯ นอกจากนี้ สารสตีวิโอไซด์ยังถูกใช้ในการผลิตยาสีฟันในปัจจุบันอีกด้วย [ads]
ความปลอดภัยจากการใช้หญ้าหวาน
มีงานวิจัยพบว่า การใช้หญ้าหวานก็ไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบหรือผลข้างเคียงแต่อย่างใด จากการวิจัยในหนูทดลองถึง 3 ชั่วอายุ ก็ไม่พบว่าจะมีหนูในรุ่นใดที่มีการกลายพันธุ์หรือกลายเป็นหมัน ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นก็มีการใช้หญ้าหวานมายาวนานถึง 17 ปี และมีรายงานการแพทย์ของอิเคดะ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 ซึ่งได้รายงานรับรองไว้ในเอกสารทางการแพทย์ว่าไม่พบแนวโน้มความเป็นพิษในหญ้าหวานแต่อย่างใด ดังนั้นหญ้าหวานจึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัน แต่ก็ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมค่ะ
ปริมาณการบริโภคหญ้าหวานที่เหมาะสม
อาจารย์วีรสิงห์ เมืองมั่น จาก รพ.รามาธิบดี ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับหญ้าหวานพบปริมาณที่ใช้ได้ ประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 ถ้วยหรือสูงสุดกินได้ถึง 7.9 กรัม/วัน นับว่าเป็นปริมาณที่สูงมากเมื่อเปรียบได้กับกินผสมกาแฟ หรือเครื่องดื่มได้ถึง 73 ถ้วย/วัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่
advertisement
การชงชาหญ้าหวาน
สามารถชงได้ 2 แบบด้วยกันค่ะ คือ
1. แบบชงชาทั่วไป นำใบหญ้าหวานตากแห้งเพียง 2-3 ใบใส่ในถ้วยนำ้ร้อน ขนาดถ้วยกาแฟแช่ไว้ประมาณ 2-5 นาที ก็จะทำให้น้ำนั้นหวาน ความหวานนี้จะเป็นความหวานแบบนุ่ม และหวานติดคอ อยู่นานพอควร หรือสามารถนำไปผสมกับใบชาชนิดอื่น แล้วทำเป็นซองชงดื่มได้
2. แบบเข้มข้น นำชาหญ้าหวานไปต้มกับน้ำ (อาจจะต้มรวมกับอย่างอื่นด้วยก็ได้เช่นเก๊กฮวย มะตูม รากบัวเป็นต้น) เคี่ยวซักพักจนเดือด ยกลง กรองกากชาออก แล้วนำไปดื่มได้เลย หรือจะแช่เย็นก็อร่อยสดชื่น
หญ้าหวาน ไม่ได้มีดีแค่ความหวานเท่านั้นนะคะ แต่มีประโยชน์และสรรพคุณที่น่าอัศจรรย์มากเลยทีเดียว ใครที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาล ก็สามารถใชหญ้าหวานทดแทนกันได้ รับรองว่าได้ผลดี ปลอดภัยจากอันตรายของความหวานที่เกิดจากการสังเคราะห์เคมีต่างๆ อย่างแน่นอนค่ะ
เรียบเรียงเรื้อหาโดย : Kaijeaw.com