กินเจ..อย่างมืออาชีพ
advertisement
เทศกาลกินเจ ไม่ใช่เทศกาลกินผัก และเฮโลกินตามแฟชั่นแบบขาดความรู้เรื่องการกินเจ แต่เป็นเทศกาลแห่งการ "ถือศีลกินเจ" ซึ่งไม่เพียงแต่งดกินเนื้อสัตว์ หรือไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่นเท่านั้น แต่การกินเจต้องทำจิตใจให้สงบดีงาม มองบวก ไม่พูดโกหก ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น การกินเจแบบขาดความรู้ที่แท้จริง อาจได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพไม่เต็มที่ และการกินเจแบบหลงทางอาจทำให้เสียสุขภาพได้
[ads]
advertisement
วงการแพทย์แผนปัจจุบัน ยอมรับว่าการถือศีลกินเจที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ เป็นการพักระบบการย่อยอาหารที่เคยกินแต่เนื้อสัตว์มาตลอด ซึ่งย่อยยากมากกว่าการกินผักผลไม้ เพิ่มใยอาหารไปล้างลำไส้ เปรียบได้ดั่งการล้างพิษด้วยธรรมชาติ ลดความเสี่ยงต่อการเกิด NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพราะให้แคลอรีต่ำ และในผักมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเพียบ แถมลดน้ำหนักได้ถ้ากินอย่างถูกต้อง แต่ส่วนมากช่วงกินเจหลายคนน้ำหนักจะขึ้น เพราะกินเจไม่ระวัง
การกินเจเพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุด ต้องกินแบบมืออาชีพที่มีความรู้ ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.ต้องมั่นใจว่ากินแล้วได้อาหารครบ 5 หมู่ ไม่ใช่เน้นกินแต่ผักเท่านั้น เพราะช่วงกินเจแม้จะเป็นช่วงสั้นๆ 10 วัน แต่ร่างกายก็ยังต้องการสารอาหาร โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ และ ไขมันอยู่เช่นเดิม ถ้าเราเน้นกินแต่ผักก็จะได้เฉพาะวิตามิน และแร่ธาตุเท่านั้น
2.ต้องมั่นใจว่าได้โปรตีน จากพืชอย่างเพียงพอ อาหารเจทุกมื้อต้องปรุงและประกอบด้วย ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์เสมอ เพราะมีกรดอะมิโนใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะกินพร้อมกับข้าว โปรตีนจากพืชมาจากเต้าหู้ ฟองเต้าหู้ โปรตีนเกษตร และถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิด
advertisement
3.ควรกินข้าวกล้อง หรือแป้งที่ขัดสีแต่น้อย เพราะมีสารอาหารมากกว่าข้าวขาว แถมยังมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า ที่จะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลได้ช้าๆ จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายได้
4.ต้องระมัดระวังการปนเปื้อนในอาหารเจ โดยเฉพาะสารเคมีที่ติดมากับผัก เพราะอาหารเจเน้นการกินผัก ดังนั้น ต้องมั่นใจว่าผักที่นำมาปรุงอาหารเจได้ล้างอย่างสะอาดปลอดภัยแล้ว รวมทั้ง พวกเครื่องปรุงอาหารเจด้วย
5.ระวังอาหารเจที่มันจัดและเค็มจัด อาหารเจมักจะเป็นพวกทอดและผัด แม้กระทั่งต้มๆ แกงๆ ยังใส่น้ำมันเยิ้มทุกเมนู ทำให้เรามีโอกาสกินน้ำมันเกิน 6 ช้อนชาใน 1 วันได้ และเมนูเจหลายเมนูมี รสเค็ม นั่นแปลว่า ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป หรือได้รับเกลือ 1 ช้อนชาต่อวัน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคไตได้
6.ระวังการกินแป้งมากจนเกินไป เพราะนอกจากจะได้จากการกินข้าวในปริมาณที่มากเกินแล้ว อาจได้คาร์โบไฮเดรตจากแป้งสาลีที่นำมาแปรรูปให้ดูคล้ายเนื้อสัตว์ หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ แท้ที่จริงให้คาร์โบไฮเดรตล้วนๆ
advertisement
7.ควรกินอาหารเจที่มีเมนูที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอ เมนูอาหารเจก็เหมือนเมนูอาหารธรรมดาทุกอย่าง ที่มีทั้งแกง ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง ยำ อบ น้ำพริก ยกเว้นเปลี่ยนจากเนื้อสัตว์เป็นถั่วเม็ดแห้ง ไม่ปรุงด้วยผักห้าชนิดและเครื่องปรุงต้องทำจากผลิตภัณฑ์ถั่วเมล็ดแห้งและเกลือ
8.กินเจระวังน้ำหนักขึ้น เพราะกินแป้งมากเกิน เนื่องจากไม่ได้กินเนื้อสัตว์มันจะโหยเลยอัดแป้งเข้าไปซะล้นเกิน อีกอย่างเป็นเพราะกินอาหารเจที่มันย่องเป็นประจำ
9.กินเจตามสูตร 2:1:1 สามารถลดน้ำหนักได้ โดยแบ่งจานข้าวออกเป็น 4 ส่วน ใน 2 ส่วน หรือครึ่งจานเป็นผักที่สะอาดหลากหลายชนิด อีก 1 ส่วนเป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้ง และเหลืออีก 1 ส่วนเป็นข้าวกล้อง แต่ต้องควบคู่การออกกำลังกายไปด้วย จะลดน้ำหนักได้แน่นอน
[ads]
เทศกาลถือศีลกินเจ เป็นวิถีชีวิตที่ดีงาม เหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันทุกวันของชีวิต ไม่ต้องรอให้ถึงเทศกาลกินเจแล้วค่อยทำ เช่น เมื่อออกเจแล้วอาจกินมังสวิรัติหรือแมคโคร ไบโอติกต่อได้ โดยเน้นการกินผักผลไม้ต่อไป แต่อาจดื่มนม กินไข่ กินปลามากกว่าเนื้อสัตว์ใหญ่ เป็นต้น แต่อย่าลืมออกกำลังกาย และสลัดความเครียดออกให้เร็วเมื่อรู้ว่าตัวเองเครียด ถ้าทำได้จนกลายเป็นวิถีชีวิต มั่นใจได้เลยว่าเราจะบรรลุซึ่งสุขภาพดีตลอดปีครับ
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thaihealth.or.th, saowalak pisitpaiboon, หนังสือพิมพ์มติชน, อ.สง่า ดามาพงษ์