10 วิธีง่ายๆ..ที่ทำให้ลูกฉลาดมากขึ้น!!
advertisement
นอกจากว่าพ่อแม่จะเลี้ยงลูกให้อยู่สุขสบาย และมีสุขภาพี่แข็งแรงสมบูรณ์แล้วล่ะก็ อีกสิ่งที่พ่อแม่คาดหวังก็คือ ความฉลาดของลูกนั่นเองค่ะ นอกจากพันธุกรรมและเรื่องอาหารการกินแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ การที่ลูกได้เรียนรู้ตามวัย เข้าโรงเรียนอย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการส่งเสริมที่ดีจากที่บ้าน ที่บ้านมีพ่อแม่ รวมถึงบุคคลอื่นๆ เป็นครู ที่ต้องคอยชี้แนะและสั่งสอนลูกให้เป็นคนดีและฉลาด ซึ่งจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่พ่อแม่จะสามารถสอนให้ลูกฉลาดได้นั้น Kaijeaw.com มีวิธีการง่ายๆ ถึง 10 วิธีด้วยกันมาฝากค่ะ บ้านไหนที่มีเด็กเล็กไม่ควรพลาดค่ะ
advertisement
1.ให้ความรัก ความอบอุ่นอยู่เสมอ คนในบ้านต้องสร้างให้บ้านน่าอยู่ มีแต่ความรัก ความอบอุ่น ทำได้โดยการยิ้มแย้มแจ่มใส พูดคุยกันด้วยความรักความเข้าใจในธรรมชาติของลูก ความเข้าใจซึ่งกันและกันของสมาชิก มีน้ำใจ และอภัยให้กัน สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานให้บรรยากาศภายในบ้านเอื้อต่อการเรียนรู้ ลูกจะอยู่ด้วยความรู้สึกอบอุ่น มีความมั่นคงในจิตใจและอารมณ์ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ควรเป็นต้นแบบที่สำคัญที่สุดของลูก เนื่องจากลูกใช้เวลาภายในบ้านกับพ่อแม่มากที่สุด ดังนั้นการเลียนแบบต่างๆ ทั้งเรื่องภาษา การเคลื่อนไหว พฤติกรรม ดังนั้น เมื่อพ่อแม่แสดงความรักกับลูกทุกครั้งที่มีโอกาส ลูกก็จะรู้จักแสดงความรักออกไป และพร้อมที่จะเปิดใจยอมรับในสิ่งใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน
2. สอนให้ลูกเรียนรู้ในในเรื่องเหตุและผล เราสามารถสอนให้ลูกรู้จักเหตุและผลง่ายๆ ด้วยการใช้ชีวิตประจำวันของเราเองที่สอนพวกเขาได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะสอนลูกๆ ว่า เวลาเราปิดไฟ หนูเห็นหรือไม่คะว่า มันจะทำให้มืดและเราจะมองไม่เห็น แต่ถ้าเราเปิดไฟ ทุกอย่างก็จะสว่าง หนูก็จะมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้อาบน้ำแปรงฟัน เพราะร่างกายและฟันจะได้สะอาด สดชื่น ไม่เหม็น เป็นต้น
3. สร้างประชาธิปไตยในบ้าน แม้จะเป็นเด็กเล็กๆ ก็ต้องเรียนรู้ผ่านระเบียบวินัย และกฎเกณฑ์ การมีประชาธิปไตยภายในบ้าน พ่อแม่ต้องเตรียมกิจกรรมต่างๆ ให้ลูกได้เล่นตามวัย ในแต่ละกิจกรรมต้องให้ลูกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ฝึกให้ลูกรู้จักคิด รู้จักสิทธิ และความสามารถของตัวเอง แต่ก็ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์และข้อตกลงร่วมกัน สอนให้รู้จักเคารพในสิทธิของกันและกัน ให้ลูกรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงพ่อแม่ก็ต้องรับฟังความคิดเห็นของของลูกด้วยเช่นกัน
4. คำชมสร้างกำลังใจ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกฉลาดได้ก็คือ การสนับสนุนในด้านกำลังใจ มีการชมเชยลูกในช่วงที่เหมาะสม ควรชมแต่พอเหมาะ ให้ลูกรู้สึกว่าคำชมนั้นมีคุณค่า ชมเมื่อลูกทำสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อลูกได้รับคำชม ก็จะเกิดกำลังใจในการทำสิ่งนั้นๆ เช่น เมื่อลูกเล่นเสร็จ รู้จักเก็บของให้เป็นที่ก็ชมเชยว่าลูกทำให้บ้านสะอาด ของเล่นลูกก็ไม่เสียหาย ครั้งต่อไปเมื่อเล่นเสร็จ ลูกก็จะอยากเก็บของเล่นอีก ขณะเดียวกันก็ต้องมีการว่ากล่าวตักเตือนในสิ่งที่ลูกทำผิดด้วยเช่นกัน แต่ต้องเป็นการตักเตือนด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ ใช้เหตุผลในการอธิบายประกอบมากขึ้น การห้ามโดยไม่บอกเหตุผล จะเป็นแรงเสริมทำให้ลูกอยากรู้อยากลองมากขึ้นก็ได้ ทั้งคำชมเชย และคำว่ากล่าวตักเตือน เป็นเสมือนเกราะคุ้มภัย และแรงเสริมให้ลูกเรียนรู้ได้ดีต่อไป [ads]
5. ไม่ขู่ลูกทั้งคำพูดและการกระทำ คำขู่ทั้งหลาย เช่น "ถ้าไม่นอน เดี๋ยวตุ๊กแกมากินตับ" "ดื้อเหรอ เดี๋ยวยักษ์มาจับตัวนะ" “อย่าทำ เด่วตำรวจมาจับ” ในตอนแรก คำขู่พวกนี้อาจจะได้ผล เด็กคนไหนที่ขวัญอ่อน ก็จะกลัว และอาจกลัวจนฝังใจได้ เด็กคนไหนที่กล้าหน่อยก็ไม่กลัว และเมื่อเด็กรู้ว่ามันไม่เป็นความจริง ก็จะกลายเป็นไม่เชื่อในสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด อีกอย่าง คือ พูดในสิ่งที่ทำร้ายจิตใจของเด็ก เช่น "ทำแบบนี้ แม่/พ่อ ไม่รักนะ" หรือบางครั้ง อาจจะหยอกล้อ เช่น "ไม่รักลูกแล้ว ไปรักคนอื่นดีกว่า" (แล้วก็แกล้งกอดคนอื่นแทน) การพูดยั่ว ขู่ หรือลงโทษ โดยใช้คำว่า "ไม่รัก" เพราะคิดว่าเป็นการลงโทษให้ลูกรู้สึกกลัว และไม่กล้าทำอีก หรือจะเป็นการล้อเล่นสนุกๆ ก็แล้วแต่ เท่ากับเป็นการตัดกำลังใจ และตัดโอกาสในการเรียนรู้ของเด็ก เพราะเด็กเล็กยังไม่เข้าใจความหมายซับซ้อน หรือเข้าใจอารมณ์ที่ลึกซึ้งได้ แต่จะเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เห็นเฉพาะหน้า เมื่อเขารู้สึกว่าผู้ใหญ่ไม่รัก ก็อาจจะมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่แปรปรวน ยิ่งถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเจ้าอารมณ์ เด็กก็จะมีนิสัยเจ้าอารมณ์ตามมาเช่นกัน
6. ยอมเป็นของเล่นให้ลูก ไม่ว่าของเล่นจะมีราคาแพงขนาดไหน ก็ไม่มีของเล่นใดมีค่าและสามารถเสริมพัฒนาการในหลายๆ ด้านของลูกได้ดีไปกว่า ตัวของพ่อกับแม่ ดังนั้น หากมีโอกาสในแต่ละวันนั้น บางช่วงเวลาควรหยุดกิจกรรมต่างๆ และยอมเป็นของเล่นให้กับลูกได้ขึ้นมาปีนป่ายบนตัวเราดูสิคะ ไม่ว่าเขาจะเอามือจิ้มจมูก แหย่ปาก หรือพยายามเปิดปากเราละก็ สิ่งเรานี้คือการเรียนรู้ของลูกด้วยทั้งสิ้น
7. กิจกรรมเล่นอย่างสนุกร่าเริง พ่อแม่สามารถมีส่วนร่วมสร้างการเรียนรู้และยังช่วยกระตุ้นการสร้างสารสื่อประสาทโดพามีน(Dopamine) ในสมองของลูกได้ เช่น การเล่นบนเตียงหรือบนพื้น คุณแม่อาจพูดชมลูกว่า “ว้าว เก่งจังเลยลูก กระโดดสูงจัง” พูดคุยกับลูกเรื่อยๆ ช่วยกระตุ้นการสร้างสารสื่อประสาท สารสื่อประสาทโดพามีน(Dopamine) จะช่วยสร้างความแข็งแรง การยืดหยุ่น และไม่ทำให้เป็นโรคพากินสันในอนาคต
– เล่นออกกำลัง ให้ลูกได้ขยับร่างกาย การเล่นทางด้านกายภาพ ช่วยให้มีสมาธิและยังพัฒนาสมองส่วนหน้า(Hippocampus) คุณแม่ต้องคอยระมัดระวังตอนเล่นเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
– เล่นค้นหา ืเลือกกิจกรรมที่ทำด้วยกัน ที่คุณสามารถเล่นด้วยได้ อาจจะเล่นของเล่นอยู่แล้ว หรืออาจการเล่นค้นหากล่องสมบัติ, เล่นฟองสบู่ในอ่างอาบน้ำ จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสลูกได้ดี เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อมีปฏิสัมพันธ์สองต่อสอง เเต่เมื่อเด็กได้ของเล่นใหม่ คุณแม่ลองให้ลูกสำรวจของเล่นใหม่คนเดียวสักพักหนึ่งก่อน แล้วคุณแม่ค่อยเข้าไปเล่นด้วย
– เล่านิทาน การอ่านหนังสือ เล่านิทานให้เด็กฟังจะช่วยพัฒนาทักษะในด้าน อารมณ์ ความรู้สึก ภาษา และสมาธิ ในขณะที่เล่านิทานพ่อแม่อาจสอดแทรกข้อคิด การทำความดีให้เด็กๆ ฟังด้วย
8. คำห้าม มีให้น้อยที่สุด มีนักวิชาการกล่าวว่า เด็กสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้ โดยการมีประสบการณ์ใหม่ๆ มีการเก็บข้อมูล จนมีความเข้าใจ เกิดความชำนาญ และเชื่อมโยงนำมาใช้ได้ ฉะนั้น การห้ามลูกทำนู่นทำนี่ทุกเรื่องก็เท่ากับเป็นการตัดโอกาสการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของลูก นอกจากนี้แล้ว การให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นการส่งเสริมให้เขารู้จักพึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด เด็กที่ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องต่างๆ ได้เร็ว ก็จะมีความสนใจในเรื่องต่อไปมากขึ้นเช่นกัน คำพูดของพ่อแม่จึงมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของลูกได้อย่างไม่น่าเชื่อ [ads]
9. เปิดโทรทัศน์ให้น้อย เพราะรายการโทรทัศน์ หรือการดูโทรทัศน์ ก่อให้เกิดผลเสีย กับเด็กมากกว่าผลดี และส่งผลต่อการเรียนรู้โดยตรง รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ด้วย ดังนั้นถ้าอยากให้ลูกฉลาดต้องปิดทีวี เป็นเรื่องไม่ยากที่จะทำ เพียงแต่พ่อแม่และสมาชิกในบ้านต้องให้ความร่วมมือด้วย หากบ้านไหนดูโทรทัศน์ควรดูให้เป็นเวลา เช่น ดูช่วงข่าว หรือสารคดี ไม่ได้เปิดแช่ไว้ทั้งวัน มีกิจกรรมอื่นๆ ให้ลูกได้ทำ รับรองว่าลูกก็ไม่ร้องขอที่จะดูโทรทัศน์เช่นกัน แต่ถ้าบางรายการที่เหมาะกับลูก น่าสนใจก็ขอให้มีผู้ใหญ่นั่งดูกับลูกด้วย และคอยอธิบายให้ลูกฟัง จะได้ประโยชน์กว่าให้ลูกนั่งดูเองแบบเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง
10. สร้างโอกาสให้ลูกเสมอ พ่อแม่สามารถเป็นผู้ช่วยในการส่งเสริมความฉลาดให้ลูก เช่น
– เปิดโอกาสให้ลูกตั้งคำถาม และชวนกันหาคำตอบ พร้อมทั้งชวนให้ลูกคิด หรือตั้งคำถามกลับเพื่อให้ลูกคิดหาคำตอบให้หลากหลายรูปแบบ
– ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น และความรู้สึกของตัวเองออกมาให้มากที่สุด จะทำให้พ่อแม่รู้จักลูกมากขึ้นอีกด้วย
– มีการแนะนำส่งเสริมในเรื่องที่ลูกอยากรู้ เช่น ลูกสงสัยเรื่องดวงดาว ก็หาหนังสือ สารคดีเกี่ยวกับเรื่องนี้มาศึกษา เมื่อมีโอกาสก็พาลูกไป ท้องฟ้าจำลอง หรือพาไปเข้าค่ายดูดาว จะช่วยต่อยอดการเรียนรู้ได้มากมาย อย่าปล่อยโอกาสทิ้งไป เมื่อเห็นว่าลูกกำลังสนใจเรื่องใด ต้องรีบส่งเสริมทันที เพราะช่วงความสนใจของเด็กไม่ได้ยาวนานมากนัก นี่อาจทำให้ลูกได้ค้นพบความชอบของตนเองได้
– พยายาม สร้างบรรยากาศให้รู้สึกว่า การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เป็นเรื่องน่าสนุก โดยเริ่มจากตัวพ่อแม่ ที่มีความกระตือรือร้นในเรื่องนั้น ลูกก็จะมีความสุขที่เรียนรู้พร้อมกับพ่อแม่
– ไม่จำเป็นต้องบังคับให้ลูกเรียนรู้อะไรก่อนวัยอันควร หรือยัดเยียดในสิ่งที่ลูกไม่สนใจ เพราะนั่นเป็นการฝืนใจ ซึ่งไม่มีผลดีต่อการเรียนรู้ระยะยาว
– เปิดโอกาสให้ลูกได้พบปะผู้คน หรือสิ่งใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ ทุกครั้งที่มีโอกาส
จะเห็นได้ว่าพ่อแม่เป็นบุคคลมี่มีความสำคัญ ในการกำหนดขอบเขตความคิด ความเฉลียวฉลาดของลูกน้อยค่ะ ดังนั้นควรเอาใจใส่ เข้าใจ และให้เวลาแก่ลูกให้มากขึ้น รวมทั้งการสร้างบรรยากาศภายในบ้าน เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีของลูก ก็เป็นสิ่งจำเป็นมากที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามค่ะด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com