บ๊วย..เป็นยาชั้นดีที่หลายคนมองข้าม!!
advertisement
บ๊วย ผลไม้ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ด้วยประโยชน์และสรรพคุณของบ๊วย จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่กระจายไปหลายประเทศ ไม่ว่าจะ ประเทศญี่ปุ่น ลาว พม่า เวียดนาม ไต้หวัน รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่มีการเพาะปลูกกันมานานแล้วในเขตทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย บ๊วยจึงกลายเป็นผลไม้ที่ไม่ได้หายากเกินไปนัก ทั้งยังเป็นผลไม้เลื่องชื่อในด้านสมุนไพรทางยาที่ดีเยี่ยมในการบำรุงร่างกายและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างดี อยากรู้กันแล้วใช่มั้ยคะ ว่าบ๊วยมีคุณสมบัติต่อสุขภาพเราอย่างไรบ้าง ว่าแล้วก็ตาม Kaijeaw.com มาดูกันเลยค่ะ
ลักษณะของต้นบ๊วย
ต้นบ๊วย : จัดเป็นไม้ผลยืนต้น ที่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีโรคและแมลงรบกวนน้อย และให้ผลผลิตสูงตามอายุและขนาดลำต้น โดยต้องการอุณหภูมิในการปลูกต่ำประมาณ 7.2 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบกิ่ง หรือด้วยวิธีการปักชำ
ใบ : ใบมีขนาดเล็ก มีสีเขียวอมเทา ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย
[ads]
ดอก : ดอกมีกลิ่นหอม ดอกมีสีขาวหรือสีชมพู
ผลบ๊วย หรือ ลูกบ๊วย ผลมีลักษณะกลมมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสขมอมเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม ผลสุกเนื้อนิ่ม ในผลมีเมล็ดแข็ง
คุณประโยชน์จากบ๊วยเพื่อสุขภาพ
1. บำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย
บ๊วยช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย เหน็ดเหนื่อยเนื่องจากมีกรดในเลือดสูงได้ ทานแล้วจะช่วยบำรุงพละกำลังให้ดีขึ้น รวมทั้งเมื่อร่างกายของคนเราไม่อาจปรับความสมดุลกับการเป็นด่างได้ทัน หากร่างกายมีความผิดปกติ ออกซิเจนก็จะเพิ่มปริมาณสูง ทำให้เกิดสภาวะเลือดเป็นกรดมากขึ้น ส่งผลให้ตับอ่อนแอและเสี่ยงที่จะเกิดอาการไวรัสลงตับได้สูงอีกด้วย
2. ส่งเสริมระบบย่อยอาหาร
การทานบ๊วยจะช่วยส่งเสริมในเรื่องระบบการย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น ช่วยในการเผาผลาญสารอาหารภายในลำไส้
3. ช่วยลดสารพิษในอาหารได้
บ๊วยมีฤทธิ์ในการช่วยลดพิษจากอาหาร หรือลดความเป็นพิษของอาหารที่ได้ทานเข้าไป เนื้อสัตว์ในกระเพาะที่เราทานแล้วเมื่อบูดเน่าเสียก่อนจะถูกขับออกไปจากร่างกาย บ๊วยจะมีฤทธิ์เป็นทั้งยาระบายและยาลดกรดในกระเพาะแทนอี-โน-กัลดา-เซลเซอร์ได้
4. ดับปัญหากลิ่นปาก
หากมีปัญหากลิ่นปากหรือปัญหาโรคเกี่ยวกับสุขภาพปากและฟัน รวมทั้งเหงือกอักเสบ การทานบ๊วยมันยังมีสรรพคุณที่สามารถทดแทนผลิตภัณฑ์ใดๆ นั้นด้วย
5. แก้อาหารเป็นพิษและท้องร่วง
หากนำบ๊วยมาชงผสมกับน้ำอุ่นแล้วดื่ม จะสามารถใช้รักษาอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียนจากอาหารเป็นพิษได้ และยังสามารถบรรเทาอาการไข้และจุดเสียดแน่นกระเพาะได้อีกด้วยค่ะ
6. แก้อาการเมาค้าง
สำหรับผู้ที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ แล้วเกิดอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน อาหารไม่ย่อยและปวดศีรษะ บ๊วยก็สามารถช่วยรักษาอาการดังกล่าวให้ทุเลาลงได้เช่นเดียวกัน
7. บรรเทาอาการเมาจากการเดินทางได้
อาการเมาจากการเดินทางไม่ว่าจะเป็นทางรถ ทางเรือและทางเครื่องบิน ให้อมบ๊วยเพื่อช่วยปรับความสมดุลให้กระเพาะอาหารปกติได้ อาการต่างๆ ก็จะลดน้อยลงค่ะ
8. บรรเทาอาการแพ้ท้อง
ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์แล้วเกิดอาการแพ้ท้อง หากได้ทานบ๊วยเปรี้ยวๆ ที่มีคุณสมบัติความเป็นด่างก็จะสามารถช่วยควบคุมความสมดุลภายในร่างกาย และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ดีกว่าการทานมะนาวหรือส้มที่มีความเป็นกรดสูง
[yengo]
สรรพคุณทางสมุนไพรของบ๊วย
– ช่วยเพิ่มกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
– ช่วยลดการกระหายน้ำ ช่วยลดการสูญเสียเหงื่อในร่างกาย
– ช่วยป้องกันเป็นลมแดด เพราะบ๊วยเค็มจะมีโซเดียมอยู่มาก จึงช่วยเติมเกลือแร่ให้กับร่างกาย โดยควรกินพร้อมกับการดื่มน้ำแบบค่อยๆ จิบก็จะช่วยได้มาก
– ช่วยลดมลพิษและอาหารที่เป็นพิษต่อร่างกาย และช่วยลดกรดในกระเพาะ
– ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ โรคฟัน แก้ปัญหาเรื่องการเกิดกลิ่นปาก
– บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
– ปรับสมดุลในกระเพาะอาหารให้มีความแข็งแรง
– ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย บรรเทาอาการท้องร่วง จุกเสียดแน่นท้อง
– ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
– ช่วยขับพยาธิบางชนิดในลำไส้ได้
– เป็นตัวช่วยในระบบขับถ่ายน้ำในร่างกาย เพราะการรับประทานอาหารที่มีรสจัด เค็มจัด หรือเผ็ดจัด จะทำให้การขับถ่ายน้ำไม่ค่อยดี อาจทำให้เกิดโรคในระบบการขับถ่ายน้ำตามมา เช่น โรคถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคบวมน้ำ โรคไต เป็นต้น ซึ่งการรับประทานบ๊วยจะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
– ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
– ผลบ๊วยแช่น้ำเกลือ นำมาคั้นเอาน้ำดื่มรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรีได้
ข้อควรระวังในการรับประทานบ๊วย
– ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดอาหารที่มีความเค็ม (บ๊วยเค็ม)
– บ๊วยหวาน อาจมีการปนเปื้อนของสารซัคคารีน (ขัณฑสกร) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานในอาหารแห้ง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มีอาการระคายเคืองในช่องปาก และเป็นโรคกระเพาะอาหารได้
– สำหรับคนทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานบ๊วยเค็มในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายมีปริมาณของโซเดียมจากเกลือสูงกว่าปกติได้
บ๊วยจะเป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานสดไม่ได้ เพราะรสชาติไม่อร่อยเลย แต่ก็สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เพื่อใช้บริโภคได้ เช่น บ๊วยเค็ม บ๊วยดอง หรือบ๊วยเจี่ย บ๊วยแช่อิ่ม บ๊วยอบแห้ง ทำแยม น้ำบ๊วย ยาอมรสบ๊วย ฯลฯ หรือนำไปใช้ทำเป็นอาหาร เช่น ปลา นึ่งบ๊วย น้ำจิ้มบ๊วย ซอสบ๊วย เป็นต้น
สรรพคุณจากบ๊วยมีมากมายเลยนะคะ โดยทั่วไปบ๊วยจะนำมาแปรรูปและมีการแต่งรสชาติก่อนที่จะนำมารับประทานกัน หรือปรุงในอาหารเมนูต่างๆน้ำจิ้มต่างๆ ซึ่งบ๊วยจัดได้ว่าเป็นผลไม้แปรรูปที่รสชาติอร่อยทีเดียวค่ะ นอกจากจะอร่อยแล้วยังมีประโยชน์มาก เช่นนี้ ต้องลองไปหาซื้อทานดูนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com