ล้างพิษออกจากร่างกายง่ายๆ ด้วยผักผลไม้
advertisement
คอเลสเตอรอลสูงเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต!! โดยคนไทยมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อภาวะนี้สูง ดังนั้นเราจึงควร ใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งหากป่วยคอเลสเตอรอลสูง นอกจากจะสามารถใช้ยาในการรักษาได้แล้วนั้น การรับประทานอาหารบางชนิดก็สามารถช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย โดยเฉพาะผักและผลไม้ เลือกชนิดที่ไม่หวานจัด จะสามารถช่วยในการลดคอเลสเตอรอลและบำรุงหัวใจได้ แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและริ้วรอยก่อนวัยได้ด้วย วันนี้ Kaijeaw.com จึงมี 10 ผักผลไม้..ช่วยลดคอเลสเตอรอล!! มาฝากคนรักสุขภาพกันค่ะ
advertisement
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือไขมันที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์และสัตว์ เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ คอเลสเตอรอลผลิตในตับแล้วส่งไปยังส่วนต่างๆ ทางเส้นเลือดให้แก่เซลล์ เซลล์จะคอยรับคอเลสเตอรอลในจำนวนที่มันต้องการ ส่วนที่เหลือเกินจะยังคงติดกรังอยู่ในเส้นเลือด ขัดขวางการไหลเวียนของกระแสเลือด หากเกิดกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ก็ปรากฎอาการของโรคหัวใจ
คอเลสเตอรอลสูงหรือโรคไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งชนิดของไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นคอเลสเตอรอลสูง หรือไตรกลีเซอไรด์อย่างใดอย่างหนึ่ง และในบางกรณีก็อาจจะเป็นทั้งสองชนิด ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ต่ำ โรคตับ เป็นต้น[ads]
advertisement
โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะต้องมีระดับไขมันดังนี้
คอเลสเตอรอลรวม
ระดับที่ต้องการ : น้อยกว่า 200 mg/dL (ถือว่าเหมาะสม)
ระดับปานกลาง : 200 – 239 mg/dL (เริ่มอันตราย)
ระดับสูง : มากกว่า 240 mg/dL (อันตรายมาก)
คอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ ชนิดดีและชนิดไม่ดี
1. ชนิดดีเรียกว่า HDLs (High Density Lipoproteins) ได้จากอาหารและร่างกายผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ ชนิดดีนี้จะช่วยขับคอเลสเตอรอลที่เกินต้องการออกจากร่างกายด้วย
2. ชนิดไม่ดีเรียกว่า LDLs (Low Density Lipoproteins) ได้จากอาหารเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นชนิดที่ร่างกายไม่ต้องการ คนที่มีคอเลสเตอรอลสูงจึงควรดูให้ละเอียดด้วยว่า สัดส่วนของชนิดดี กับชนิดไม่ดี เป็นอย่างไร เราควรมีชนิดดีสูงๆ แต่ถ้ามีชนิดดีต่ำ แปลว่าอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจค่อนข้างสูง
advertisement
ผัก ผลไม้ มักอุดมด้วย วิตามินซี เบต้าแคโรทีน (Beto carotene) และพวกแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidants) ทั้งหลาย ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการทำให้คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDLs) เปลี่ยนเป็นน้ำดี วิตามินซี สามารถรวมตัวกับคอเลสเตอรอลและแคลเซี่ยม ทำให้คอเลสเตอรอลละลายน้ำได้
1. มะเขือต่างๆ เช่นมะเขือเทศ มะเขือเปราะ หรือมะเขือพวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเขือเทศนั้น จะมีทั้งวิตามินซี รวมทั้งมีสารเบต้าแคโรทีนและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์อีกหลายชนิด
2. ถั่วเหลือง ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งงานวิจัยในกลุ่มคนจำนวนมากของฮาร์วาร์ดที่ได้ติดตามนานถึง 12 ปี พบว่าคนที่ทานไขมันไม่อิ่มตัวมีอัตราเป็นโรคหัวใจต่ำกว่าคนที่ทานไขมันอิ่มตัว ถั่วเหลืองมีกรดอามิโนชนิดไกลซีนและอาร์จินีนสูง ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระดับอินสุลินในเลือดต่ำลง อันส่งผลต่อไปให้การผลิตคอเลสเตอรอลในร่างกายลดลงด้วย ต่างจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีกรดอามิโนชนิดไลซีนสูง ซึ่งมีผลเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้โปรตีนจากถั่วเหลืองเอื้อต่อการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
3. แอปเปิ้ล ผลไม้ที่มีสารสำคัญคือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ คือเพคติน มีกรด 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริกช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน นอกจากนั้นยังมีการกล่าวถึงสรรพคุณ บำรุงหัวใจ ลดคลอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ และฆ่าเชื้อไวรัส การกินแอปเปิ้ลในปริมาณที่พอเหมาะประมาณ 2-3 ผล จะช่วยลดปริมาณ คอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้
advertisement
4. ขิง สมุนไพรที่มีประโยชน์ เป็นยา อาหาร เครื่องเทศ ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ ช่วยลดความอยากของคนติดยาเสพติดได้ บรรเทาปวดลดไข้ ลดอาการเวียนศีรษะ ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ ไวรัส ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ไอ ขับเสมหะ ลดการอักเสบ ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ และยังลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร
5. ผิวส้ม ส้มมีวิตามิน A มาก นอกจากนั้นยังมี C B1 B2 ช่วยแก้กระหาย ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ป้องกันไข้หวัด ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด มีวิตามิน เอ ซี บี1 บี2 ช่วยแก้กระหายน้ำ และป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
6. เสาวรส อุดมไปด้วยวิตามินซี จึงช่วยสร้างคอลลาเจนในผิวหนังและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย วิตามินเอ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงดวงตาและผิวพรรณ โพแทสเซียม ช่วยลดความดันโลหิต รักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจาง รักษาอาการนอนไม่หลับ รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดอาการเจ็บคอ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงผิวพรรณ และช่วยฟื้นฟูตับและไตที่อ่อนแอ แถมยังลดไขมันในเส้นเลือดได้อีกด้วย
advertisement
7. พุทราจีน ช่วยลดโอกาสเสี่ยงผนังเส้นเลือดแข็งตัว ป้องกันหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบตัน เนื่องจากมีฤทธิ์อุ่น นิยมนำมาประกอบในยาจีน เพื่อลดความรุนแรงของเครื่องยาจีน ช่วยให้ร่างกายดูดซึมยาได้ดีขึ้น และลดอาการแพ้ยา บำรุงร่างกาย ม้าม ตับ สมอง ช่วยขับปัสสาวะ เพิ่มปริมาณเลือด บรรเทาอาการโลหิตจาง รักษาเบาหวาน แก้อาการนอนไม่หลับกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดไขมันในเลือด รักษาอาการตับแข็งในผู้ที่ดื่มสุรา ผลแห้งของพุทราจีนกินป้องกันมะเร็ง แก้อาการท้องเสีย สารเพกทิน (pectin) ในพุทราจีนช่วยจับโลหะหนักที่ตกค้างในร่างกายและลดคอเลสเตอรอล แต่มีข้อควรระวังว่าพุทราจีนแห้งมีน้ำตาลสูง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรกินแต่น้อย และน้ำตาลอาจทำให้ฟันผุได้ ผู้ที่มีอาการของโรคลำไส้ มีเสมหะ และฟันผุควรหลีกเลี่ยง
8. มะขามป้อม มีผลงานวิจัยที่ทดลองในสัตว์เป็นจำนวนมาก ระบุว่า ผลมะขามป้อม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก พบว่าน้ำคั้นผลมะขามป้อมสด สามารถลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และ LDL ของกระต่ายคอเลสเตอรอลสูงลงได้ โดยกลไกลดการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มการขับถ่ายออกไปพร้อมอุจจาระ ทั้งยังมีสารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มฟลาโวนอยด์ และโพลีฟีนอล ซึ่งลดการสังเคราะห์ไขมัน และเสริมการทำลายคอเลสเตอรอลทั้งในซีรัม และในเนื้อเยื่อของหนูที่คอเลสเตอรอลสูงด้วย
9. กระเทียม พบสารอัลลิซินและอะโจอินใน กระเทียมสด มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย และมีฤทธิ์ต้านการก่อไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้ โดยควรทานสดๆ การเคี้ยวสดๆ อาจจะทำให้เผ็ดเกินไป สามาาถนำมาบดก่อนทานได้
advertisement
10. ลูกเดือย มีการวิจัย ลูกเดือย ในปี 2012 นี้ สรุปได้ว่าในลูกเดือยมีสารกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งออกฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอล ต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้[ads]
นอกจากการทานผักผลไม้แล้วนั้น สามารถทำควบคู่ไปกับข้อควรปฏิบัติเพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอล ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งก็สามารถกินได้แต่ก็ควรจำกัดการกิน เช่นพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ เนื้อติดมัน สมองสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนย ควรใช้ไขมันไม่อิ่มตัว อย่างเช่น น้ำมันรำข้าวแทน น้ำมันมะกอก[ads]
3. ลดการบริโภคน้ำตาล และของหวานต่างๆ
4. เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารเป็น นิ่ง ต้ม ย่าง อบ แทนการทอดหรือผัด
5. รับประทานผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูงเป็นประจำ เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกาด ส้ม ฝรั่ง
6. ควบคุมน้ำหนักอย่าให้มากเกินไป
7. ออกกำลังกายกายให้สม่ำเสมอ
8. เข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
การทานผัก ผลไม้ให้มากนอกจากจะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ดีแล้ว ยังดีต่อสุขภาพด้วย นอกจากนั้นแล้วการที่จะช่วยให้เราสามารถควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ แต่ยังมีปัจจัยอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ คือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอลสูงหรือ โรคภัยใดๆ เราก็สามารถรักษาและป้องกันได้ค่ะ