• หน้าแรก
  • อาหารเพื่อสุขภาพ
    • สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    • สูตรเครื่องดื่ม
      • เครื่องดื่มสมุนไพร
        • เครื่องดื่มอื่นๆ
        • เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
  • การทำอาหาร
    • เมนูอาหาร
      • อาหารคนท้อง
      • อาหารคนป่วย
      • อาหารจานเดียว
      • อาหารต่างชาติ
      • อาหารลดน้ำหนัก
      • อาหารว่าง
      • อาหารเจ
      • อาหารเช้า
      • อาหารเด็ก
      • อาหารไทย
      • อาหารไมโครเวฟ
      • เมนูไข่
  • สุขภาพ
    • โรคและการป้องกัน
      • ยารักษาโรค
    • การดูแลสุขภาพ
      • สุขภาพผู้ชาย
      • สุขภาพผู้หญิง
      • สุขภาพวัยรุ่น
    • การดูแลสุขภาพผิว
    • การลดน้ำหนัก
    • รอบรู้เรื่องยา
    • สุขภาพกาย
      • ออกกำลังกาย
    • สุขภาพจิต
  • ท่องเที่ยว
    • ร้านอาหารแนะนำ
    • ที่พักประทับใจ
    • เที่ยวทั่วไทย
      • เที่ยวน้ำตก
      • เที่ยวภูเขา
    • เทศกาลประเพณี
    • ข้อมูลการท่องเที่ยว
  • วาไรตี้
    • คุยเรื่องบ้าน
    • สาระน่ารู้
    • คุยเรื่องเกษตร
    • ความเชื่อ
    • สัตว์น่ารักทั่วทุกมุมโลก
    • ข่าวสาร
      • ข่าวกีฬา
      • ข่าวบันเทิง
        • อันดับดารา
      • ข่าวมาแรง
      • ข่าวสารสุขภาพ
      • ข่าวทั่วไป
  • ผู้หญิง
    • ความสวยความงาม
    • ทรงผม
    • ศัลยกรรม
    • แฟชั่น
    • เซ็กซ์
    • แต่งหน้า
    • แต่งงาน
    • แฟชั่น
    • แม่และเด็ก
  • ผู้ชาย
    • ความหล่อ ดูดี
    • ทรงผม
    • Hot Girl
    • ความรัก
    • ฟุตบอล
    • รถยนต์
    • แฟชั่น
    • วัยรุ่น
      • การศึกษา
      • กิจกรรมวัยรุ่น
      • เทคโนโลยี
  • Home
  • Cooking
  • Health
  • Variety
  • Lady
  • Male
kaijeaw
  • หน้าแรก
  • อาหารเพื่อสุขภาพ
    • สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    • สูตรเครื่องดื่ม
      • เครื่องดื่มสมุนไพร
        • เครื่องดื่มอื่นๆ
        • เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
  • การทำอาหาร
    • เมนูอาหาร
      • อาหารคนท้อง
      • อาหารคนป่วย
      • อาหารจานเดียว
      • อาหารต่างชาติ
      • อาหารลดน้ำหนัก
      • อาหารว่าง
      • อาหารเจ
      • อาหารเช้า
      • อาหารเด็ก
      • อาหารไทย
      • อาหารไมโครเวฟ
      • เมนูไข่
  • สุขภาพ
    • โรคและการป้องกัน
      • ยารักษาโรค
    • การดูแลสุขภาพ
      • สุขภาพผู้ชาย
      • สุขภาพผู้หญิง
      • สุขภาพวัยรุ่น
    • การดูแลสุขภาพผิว
    • การลดน้ำหนัก
    • รอบรู้เรื่องยา
    • สุขภาพกาย
      • ออกกำลังกาย
    • สุขภาพจิต
  • ท่องเที่ยว
    • ร้านอาหารแนะนำ
    • ที่พักประทับใจ
    • เที่ยวทั่วไทย
      • เที่ยวน้ำตก
      • เที่ยวภูเขา
    • เทศกาลประเพณี
    • ข้อมูลการท่องเที่ยว
  • วาไรตี้
    • คุยเรื่องบ้าน
    • สาระน่ารู้
    • คุยเรื่องเกษตร
    • ความเชื่อ
    • สัตว์น่ารักทั่วทุกมุมโลก
    • ข่าวสาร
      • ข่าวกีฬา
      • ข่าวบันเทิง
        • อันดับดารา
      • ข่าวมาแรง
      • ข่าวสารสุขภาพ
      • ข่าวทั่วไป
  • ผู้หญิง
    • ความสวยความงาม
    • ทรงผม
    • ศัลยกรรม
    • แฟชั่น
    • เซ็กซ์
    • แต่งหน้า
    • แต่งงาน
    • แฟชั่น
    • แม่และเด็ก
  • ผู้ชาย
    • ความหล่อ ดูดี
    • ทรงผม
    • Hot Girl
    • ความรัก
    • ฟุตบอล
    • รถยนต์
    • แฟชั่น
    • วัยรุ่น
      • การศึกษา
      • กิจกรรมวัยรุ่น
      • เทคโนโลยี
  1. หน้าแรก
  2. เตือนภัย

ยาจุดกันยุง..ดมมาก อันตรายกว่าที่คุณคิด อ่านดูแล้วจะรู้..

โพสเมื่อ 30/12/2016 15:55 น.
เตือนภัย

advertisement

     เข้าสู่หน้าฝนเช่น เช่นนี้แล้วแมลงตัวร้ายอย่างยุง คงจะมีชุกชุมมากเลยทีเดียวนะคะ ยุงเป็นพาหะนำโรค โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่มักระบาดมากในช่วงหน้าฝน เป็นอันตรายต่อทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ดังนั้น คุณมีวิธีการไล่ยุงอย่างไรกันบ้างคะ ปัจจุบันการไล่ยุงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาเพื่อไล่ยุงโดยเฉพาะ ซึ่งมักมีส่วนผสมของสารเคมีซึ่งเป็นพิษทำลายสุขภาพได้โดยเฉพาะยาจุดกันยุง ที่มีการใช้อย่างกว้างขวาง จนทำให้ลืมนึกถึงอันตรายของมันไป เพราะยาจุดกันยุงก็มีส่วนประกอบเป็นสารเคมีเช่นกัน ซึ่งหากใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน วันนี้ Kaijeaw.com จึงมีเรื่องราวของยาจุดกันยุงมาฝากกันค่ะ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้อย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันค่ะ
      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยผู้บริโภค ในการใช้ยาจุดกันยุงเพื่อป้องกันยุง เหตุเพราะทั้งนี้ ยาจุดกันยุงส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารไล่หรือป้องกันยุงในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่สกัดได้จากพืชตระกูลเบญจมาศ (สารสกัดไพรีทรัม หรือ pyrethrum extract) ตัวอย่างสารออกฤทธิ์กลุ่มไพรีทรอยด์ที่นิยมใช้ในยาจุดกันยุงและขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. เช่น ดี-อัลเลทริน (d-allethrin), เอสไบโอทริน (esbiothrin), เมโทฟลูทริน (metofluthrin) เป็นต้น [ads]
การทำงานของยากันยุง
      สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุงจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาหงายท้อง นอกจากนี้สารไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการไล่ยุงด้วย ควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสมของไพรีทรอยด์จึงช่วยลดอัตราการกัดของยุง และป้องกันการรบกวนจากยุงในบริเวณที่จุดได้
อันตรายของยาจุดกันยุง
     โดยทั่วไปสารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุง มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มอื่น การใช้ยาจุดกันยุงในขนาดและวิธีการใช้ปกติมักไม่พบการเกิดพิษ 
อย่างไรก็ตาม หากสูดดมควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงในปริมาณมากๆ เช่น อยู่ในบริเวณที่คับแคบไม่มีอากาศถ่ายเทติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นอันตรายได้ โดยความรุนแรงของอาการพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย 
    – อาการเบื้องต้นของการสูดดมสารระเหยนี้อาจไม่รุนแรงมากนัก คุณอาจแค่รู้สึกหายใจติดๆ ขัดๆ หายใจไม่สะดวกเท่านั้น 
    – การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง อาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มีผื่นแดง เพราะสารระเหยสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
    – การกลืนหรือกินเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 
    – หากสารจากยาจุดกันยุงเข้าตา จะก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้มีอาการตาแดง รู้สึกเจ็บตา น้ำตาจะไหลออกมา 
    – เกิดการสะสมของสารระเหยจากยาจุดกันยุงในร่างกาย สารระเหยจากยาจุดกันยุงจะเข้าไปทำลายเยื่อบุเมือก และทางเดินหายใจส่วนบน จะทำให้หลอดลมและกล่องเสียงอักเสบ อีกทั้งยังเข้าไปทำลายปอด ทรวงอก ทางเดินอาหาร ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ นอกจากนั้นทำให้เกิดอาการหายใจถี่รัว รู้สึกวิงเวียนปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้
     – หากได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้ 
     – และสารจากยาจุดกันยุงนี้ ยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ของมารดาอีกด้วย


advertisement
mosquitocoil-1ป้องกันอันตรายจากยาจุดกันยุง
ทางที่ดีคือการหลีกเลี่ยงใช้ยาจุดกันยุง หากจำเป็น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ดังนี้
     1) ควรจุดยากันยุงได้ในบริเวณที่ไม่มีคนอยู่เท่านั้น หรือจุดให้ห่างจากบริเวณที่มีคนอยู่ เพื่อจะได้ไม่สูดดมสารจากยากันยุงเข้าสู่ร่างกาย 
     2) จุด และวางไว้บริเวณเหนือจุดที่ต้องการไล่ยุงในทิศเหนือลม
     3) ควรใช้ยาจุดกันยุงในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี หลีกเลี่ยงห้องที่อับชื้น
     4) อย่าจุดยากันยุงใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย ขาตั้งและสิ่งรองยาจุดกันยุง ต้องทำด้วยวัสดุโลหะหรือวัตถุอื่นที่ไม่ติดไฟ ขณะใช้ วางให้ห่างจากของไวไฟหรือของที่เป็นเชื้อไฟได้ 
    5) อย่าจุดยากันยุงในห้องที่มีเด็กอ่อน ผู้ป่วย คนชรา และหญิงมีครรภ์ 
    6) ระวังไม่จุดยากันยุงในห้องครัว อย่าให้ยาจุดกันยุงสัมผัสหรือรมถูกอาหาร
    7) เมื่อเลิกใช้ยากันยุงนี้แล้ว ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไฟดับเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากประมาท
    8) เก็บยาจุดกันยุงไว้ในที่แห้ง อย่าให้ถูกแสงแดด และให้ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
    9) ห้ามกินเด็ดขาด
    10) ทำการล้างมือให้สะอาดทุกๆ ครั้งหลัง การหยิบใช้หรือสัมผัสยาจุดกันยุง [ads]
วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับพิษจากยาจุดยากันยุง
    – หากเกิดพิษจากการสุดดมให้รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่จุดยากันยุง ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
    – หากกลืนกินยาจุดกันยุงเข้าไปต้องรีบทำให้อาเจียน โดยการดื่มน้ำสะอาด 2 แก้ว แล้วทำการล้วงคอให้อาเจียน หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนำส่งแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุ รวมทั้งฉลากหรือใบแทรกของผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงนั้นๆ ด้วย
     ในปัจจุบัน เราจะสามารถพบได้ว่ายาจุดกันยุงมีการพยายามปรับแต่งกลิ่นให้มีกลิ่นหอมเลียนแบบธรรมชาติ เพียงเพื่อกลบกลิ่นเผาไหม้และกลิ่นของสารเคมีเท่านั้น ดังนั้นอย่างไรก็ตาม เราควรปฏิบัติตนเพื่อให้ห่างไกลจากอันตรายของสารเคมีของยาจุดกันยุงด้วยนะคะ ใช้อย่างเหมาะสม และระมัดระวังในการใช้ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของทุกคนในบ้านค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com

ยากันยุง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ :

แม่เผลอหลับลืมปิดประตูบ้าน ลูกน้อยเดินออกจากบ้านหายไปกับความมืด
เตือนภัย
อุทาหรณ์ ฝักบัว Rain shower ที่ติดตั้งมานาน 10 ปี หล่นใส่ทำเลือกอาบ
สำหรับบ้านไหนที่มีเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ แล้วติดตั้งฝักบัว Rain shower ต้องระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างกรณ...
เตือนภัย
สาวโดนมิจฯโทรแจ้งพัสดุผิดกฎหมาย ตอบไปประโยคเดียวถึงกับวางหู 
กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่หลายคนออกมาโพสต์ เตือนภัยกันอย่างมากมายในช่วงนี้ โดยมิจฉาชีพจะออกอุบายพูดให้ เราหลงเชื่อแ...
เตือนภัย
ปคบ.เตือนระวัง เพื่อนในเฟซทักมาขอเบอร์ ที่แท้พฤติกรรมมิจฉาชีพ
กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ต้องระวังกันอย่างมากสำหรับผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดีย เพราะมักจะเจอกลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้าง ปลอม...
เตือนภัย
รพ.สัตว์ เตือน อย่าให้แมวกินก้างปลา
กระดูก หรือ ก้างปลาดิบ จะมีลักษณะที่นิ่มและยืดหยุ่นมากกว่ากระดูกที่ผ่านความร้อนแบบที่เราเคยชินกันค่ะ กระดูกที่จะสาม...
เตือนภัย
เจ้าของบ้าน เจอเรื่องระทึก เพ้อบ้านไม่ใช่ที่ปลอดภัย 
ทางเพจ อยากดังเดี๋ยวจัดให้ Return ได้ออกมาเผยแพร่เรื่องราวเตือนภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แม้กระทั่งในบ้านของตัวเอง หลังจา...
เตือนภัย
เตือน โดนหลอกขายถุงเท้าวิเศษ อ้างรักษาโรคได้ แถมราคาแพง
เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวเตือนภัยที่อยากจะขอแชร์เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับหลายๆท่าน เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้ออกมาโพสต์แช...
เตือนภัย
เตือน อย่าแกล้งเอาหน้ากดใส่เค้ก อันตรายที่คาดไม่ถึง
ในงานวันเกิดหรือวันสำคัญต่างๆ เค้กคือองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานฉลอง และบางครั้งก็นิยมนำเอาเค้กมาทาหน้า หรือกดหน้...
เตือนภัย
สั่งฝรั่งกิมจู ห่อมาอย่างดี แกะออกเสียเกือบครึ่ง
คุณ กฤษณะ วงษ์สุข ได้ออกมาโพสต์ระบายหลังจากที่ได้สั่ง ฝรั่งกิมจู ที่มีแม่ค้าโพสต์ขายในกลุ่มขายของกินในพื้นที่จังหวัดอุ...
เตือนภัย
เตือนภัย ซื้อหอยแมลงภู่มัดถุงขายจากตลาด 
คุณ Somsak Muenwichit ได้ออกมาโพสต์เตือนภัย คนที่ชอบซื้อหอยแมลงภู่แบบรัดถุงขายมาทาน ซึ่งอาจจะได้หอยแมลงภู่ที่ไม่ได้คุ...
เตือนภัย
ดูทั้งหมด

ข่าวสารล่าสุด

เริ่มแล้ว กรมแรงงานส่งหนังสือถึงนายจ้าง ประจำเดือนมาลาได้ จัดผ้าอนามัยให้ฟรี

เมื่ออยากเพนท์ลายรองเท้าใส่เอง แต่ผลที่ได้ไม่คาดหวังยังผิดหวัง

คุณยายมารอคิวพบหมอ แต่ไม่รอให้เสียเวลาทิ้ง วัวอยู่บ้านต้องได้อิ่ม

พนักงานต้องประกาศเรียนชื่อพร้อมฉายาเด็ก เกือบพูดไม่จบเพราะขำ

เมื่ออยากกินทุเรียน แต่เพื่อนไม่ให้เอาขึ้นรถ เลยแก้ปัญหาแบบคนใจรัก

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์

หมวดหมู่

  • Featured
  • การทำอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ธ สถิตในดวงใจ
  • ผู้ชาย
  • ผู้หญิง
  • วัยรุ่น
  • วาไรตี้
  • สุขภาพ
  • อาหารเพื่อสุขภาพ

แท็กยอดนิยม

  • ครู
  • บ้าน
  • รถ
  • ลูก
  • สร้างบ้าน
  • ห้องน้ำ
  • อาหาร
  • ฮา
  • เงิน
  • แฟน

ติดต่อไข่เจียว

  • ติดต่อเรา
  • แจ้งลบ
Copyright © 2015 kaijeaw.com All rights reserved.