สาระต้องรู้ นั่งกระโหย่ง แบบที่ชัชชาตินั่งไหว้พระ มีมาแต่โบราณ ไม่สุภาพจริงหรือ
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/Untitled-1-17-1024x512.jpg)
advertisement
เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องเป็นที่จับจ้อง เป็นที่พูดถึงของประชาชนจริงๆค่ะ สำหรับคุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่มีซีนอยู่ตลอด จนตอนนี้ได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้งของประชาชน ยิ่งเป็นที่จับจ้องและชื่นชมของประชาชนที่เลือกมา
ด้วยความที่ถูกจับจ้องตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่ง ท่านั่งไหว้พระ ก็มีผู้คนถ่ายภาพมาแซวมาหยอกกัน แต่แน่นอนว่า มีคนรักก็ต้องมีคนหาเรื่องจะตำหนิ มองว่าท่านั่งไหว้พระของคุณชัชชาติ ที่เหมือนนั่งยอง เป็นท่าที่ไม่เหมาะสม
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/การจับภาพเว็บ_24-5-2022_212024_www.facebook.com_.jpeg)
ในขณะที่มีชาวเน็ตอีกจำนวนหนึ่ง ที่พอจะมีความรู้ ก็ออกมาคัดค้านว่า ท่านั่งอย่างที่เห็น ถึงแม้จะดูไม่เหมาะสมในสายตาบางคน แต่มันคือท่านั่งที่มีมาแต่โบราณ และเป็นท่าปกติที่แม้กระทั่งพระสงฆ์ก็นั่งท่านี้
เพื่อเป็นการไขความรู้ให้กระจ่างกันไปเลย ล่าสุด เฟซบุ๊กเพจ โบราณนานมา ก็ได้พาเราไปรู้จักกับ “ท่านั่งโหย่ง” ที่เราเห็นกันในภาพของคุณชัชชาติ โดยได้ระบุว่า
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/ไหว้-1.jpg)
“นั่งกระโหย่ง การนั่งไหว้พระแบบสมัยโบราณ ที่ค่อย ๆ เลือนหายไปจากสังคมไทย เห็นว่ามีคนดรามาท่านั่งไหว้พระของคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่า กทม. คนใหม่ บางกลุ่มติงว่า ไม่เหมาะสมบ้าง ไม่สมควรบ้าง จริง ๆ แล้วท่านั่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณย้อนไปไกลถึงสมัยพุทธกาลเลย ในภาษาไทยเรียกการนั่งแบบนี้ว่า “นั่งกระโหย่ง” ในประเทศไทยสมัยก่อนใช้ “นั่งกระโหย่ง” มานานแล้วเป็นเรื่องปกติและสุภาพ แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึง ๕ นี่เอง
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/ไหว้-5.jpg)
ในสังคมไทยบัญญัติรู้กันว่า “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” นั้นสุภาพเรียบร้อย พอเห็นพระหรือใครที่นั่งใน “ท่ากระโหย่ง” ประคองอัญชลี ก็มักจะติเตียน แทนที่จะสอบถามและหาความรู้
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/ไหว้-2-1053x768.jpg)
ท่านั่งสำหรับทำวินัยกรรมของพระภิกษุสงฆ์ในกรณีที่ใช้กราบเรียนและแสดงความเคารพอย่างสูงเรียกขานในภาษาบาลีว่า “อุกฺกุฏิก” (ukkuṭika) และนิยมแปลไทยว่า “นั่งกระโหย่ง” เป็นรูปแบบมาตรฐานในการขอพระอุปัชฌาย์ การขอบรรพชา อุปสมบท และปลงอาบัติ ปรากฏสำนวนในพระวินัยปิฎกหลายแห่งว่า “ปาเท วนฺทิตฺวา อุกฺกุฏิกํ นิสีทิตฺวา อญฺชลิํ ปคฺคเหตฺวา ….” = กราบแทบเท้าแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/ไหว้-4-658x768.jpg)
ในอุษาคเนย์ ทางพม่าและกัมพูชา เป็นที่เข้าใจกันว่า อุกฺกุฏิก = ท่านั่งยอง (squatting) โดยฝ่าเท้าราบเต็มบนพื้น สนเท้าชิดก้น เข่าค้ำหน้าอก หลังโก่งงอ แต่ในประเทศไทยปัจจุบันไม่นิยมใช้ท่านี้ หากใช้เป็นท่านั่งคุกเข่าทับสนเท้า หลักฐานชั้นเก่าแก่ในประเทศไทยเช่นภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอายุหลายศตวรรษก่อนปรากฏว่าท่านั่งยองในวินัยกรรม และบางพื้นที่ก็ยังมีการใช้ท่านี้อยู่ เรียกได้ว่าเป็นท่าที่ใช้แพร่หลายในประเทศพุทธศาสนาสายเถรวาทแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/ไหว้-3.jpg)
การนั่งแบบพับเพียบ ขัดสมาธิ เทพบุตร เทพธิดา ก็เรียบร้อยดี ไม่มีการปรับอาบัติ ในท่านั่งเหล่านี้ แต่ถ้าเราได้รู้ธรรมเนียมการ “นั่งกระโหย่ง” ตามพระบาลีแสดงไว้ เพื่อสืบทอดต่อไป ให้ชนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็นไว้ก็คงไม่เสียหาย เพราะคำว่า อุกฺกุฏิกํ นิสีทิตฺวา ในพระไตรปิฎกมีเยอะมาก และคนไทยเราส่วนมาก ยังไม่รู้ว่านั่งอย่างไร แต่พม่าหรือศรีลังกา มีให้เห็นโดยทั่วไป ไม่ใช่เรื่องแปลก
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/ไหว้-6.jpg)
การนั่งยองๆ เป็นท่านั่งที่อยู่คู่มนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ต่อมาโลกตะวันตกได้เปลี่ยนจากนั่งยอง เป็นนั่งราบ จนไม่สามารถนั่งยองเต็มเท้าได้อีก ส่วนโลกตะวันออกยังคงมีการนั่งยองๆ กันอยู่เป็นปกติ
เมืองไทยแต่ก่อนก็นั่งยอง ๆ ไหว้พระ เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึง ๕ นี่เอง
ป.ล. ไม่ได้บอกว่า คุณชัชชาติ นั่ง “นั่งกระโหย่ง” ตามแบบโบราณแต่อย่างใด แต่ที่จะสื่อคือ การ “นั่งกระโหย่ง” หรือยอง ๆ แบบนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องผิดแปลกอะไร เป็นเรื่องปกติในสังคมโบราณ และปัจจุบันยังปรากฏในพม่าและศรีลังกาด้วย”
หากดูจากท่านั่งไหว้พระของคุณชัชชาติหลายๆครั้งก็คงจะอนุมานได้ว่า ไม่ได้เป็นการจงใจนั่งยองให้ไม่เหมาะสม แต่คงจะพอรู้จักการนั่งกระโหย่งมาบ้าง
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/ไหว้-8.jpg)
สมกับเป็นบุคคลของประชาชนจริงๆค่ะ ที่ทำอะไรก็เป็นที่จับตามอง ก็เป็นประเด็น จนทำให้คนไทยหลายๆคน ได้รู้จักกับการนั่งกระโหย่ง ที่บางคนก็ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com, ขอขอบคุณที่มาจาก : โบราณนานมา