หาดูได้ยากมาก!! หมอผ่าไตของผู้ป่วย ‘โรคนิ่วในไต’ สภาพภายในไตเต็มไปด้วยเม็ดนิ่วเล็กใหญ่ น่ากลัวมาก

advertisement
เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่มีผู้ป่วยโรคนี้เยอะมากๆ สำหรับโรคนิ่ว ไม่ว่าจะเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ท่อปัสสาวะ หรืออีกหลายๆ ส่วนในร่างกาย และอีกหนึ่งที่ที่พบมากก็คือ "นิ่วในไต" เดี๋ยวนี้เป็นได้ทั้งผู้ใหญ่ หรือแม้แต่วัยหนุ่มสาวก็เป็นได้เหมือนกัน นิ่วในไตคือการตกผลึกของสารก่อนิ่วในไต นิ่วมีหลายชนิด มีขนาดที่แตกต่างกัน อาจเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ หลายคนอาจจะไม่เคยเห็นก้อนนิ่ววันนี้ Kaijeaw.com จะพาไปดู ทางด้านเพจ Sky Thai News ได้นำภาพสภาพก้อนนิ่วในไตมาให้ได้ชมพร้อมระบุว่า…
advertisement

สภาพก้อนนิ่วในไต
นิ่วในไต คืออะไร
นิ่วในไตคือการตกผลึกของสารก่อนิ่วในไต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลึกแคลเซียมออกซาเลต และบางครั้งอาจเป็นแคลเซียมฟอสเฟต ยูริค หรือสารอื่นๆ นิ่วมีหลายชนิด มีขนาดที่แตกต่างกัน อาจเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ ทั้งนี้นิ่วจะเกิดขึ้นในไตและอาจจะหลุดลงมาในท่อไตจนถึงกระเพาะปัสสาวะได้ สำหรับโรคนิ่วในไตเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่กับผู้ชายมีโอกาสจะเป็นนิ่วมากกว่าผู้หญิงได้ประมาณสามเท่า ทั้งนี้นิ่วสามารถเกิดได้ในทุกภูมิภาคและทุกสภาวะอากาศ ในประเทศไทยจะพบได้แทบภาคของประเทศ[ads]
สาเหตุของโรคนิ่วในไต
นิ่วในไตอาจเกิดขึ้นได้จากปริมาณของเกลือ แร่ธาตุ และสสารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม กรดออกซาลิก และกรดยูริกในปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีปริมาณมากเกินกว่าของเหลวในปัสสาวะจะละลายหรือทำให้เข้มข้นน้อยลงได้ จนเกิดการเกาะตัวเป็นก้อนนิ่วในที่สุด
การเกิดนิ่วในไตยังอาจมีปัจจัยจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น เกลือ น้ำตาล และ อาหารที่มีโปรตีนสูง การดื่มน้ำไม่มากพอในแต่ละวัน หรือเป็นผลมาจากโรคอื่นที่เป็นอยู่ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเมตาบอลิก รวมถึงการใช้ยารักษาโรคบางชนิดอย่างโรคเกาท์ ไทรอยด์ทำงานเกินปกติ เบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และการรับประทานวิตามินดีเสริมมากเกินไป ทั้งนี้ สาเหตุของนิ่วในไตยังอาจแบ่งได้ตามประเภทของก้อนนิ่วที่เกิดจากสารหลัก ๆ 4 ชนิด ดังนี้
advertisement

1. แคลเซียม ก้อนนิ่วจากแคลเซียมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด และส่วนมากมักเป็นก้อนนิ่วจากแคลเซียมที่รวมกับออกซาเลต ซึ่งเป็นสารที่มักพบในอาหารและเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกัน เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ส้ม ถั่ว เต้าหู้ น้ำนมเต้าหู้ โซดา ชา เบียร์ กาแฟ เป็นต้น ส่วนการกินผัก ที่มีแคลเซี่ยมสูงมาก ๆ กินต่อเนื่องประจำทุกวัน อาทิเช่น ใบชะพลู ผักโขม ใบยอ สะตอ (ยกเว้นทานเป็นบางมื้อ) ส่วนก้อนนิ่วชนิดอื่นที่มารวมกับแคลเซียมอาจเป็นฟอสเฟต หรือ กรดมาลิกก็ได้
1.1 การดืมนํ้าที่ปริมาณน้อยจนเกินไป หรือ ดืมนํ้าบ่อ / ดืมนํ้าที่ไม่สะอาด
1.2 นํ้าอัดลม
2. กรดยูริก ก้อนนิ่วชนิดที่พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือพบในผู้ป่วยโรคเกาท์หรือผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการเคมีบำบัด (Chemotherapy) โดยก้อนนิ่วจากกรดยูริกนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปัสสาวะมีความเป็นกรดมากเกินไป
3. สตรูไวท์ เป็นนิ่วที่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ก้อนนิ่วชนิดนี้เป็นก้อนนิ่วที่เกิดจากการติดเชื้อที่ไต (Kidney Infection) และอาจมีขนาดใหญ่จนไปขัดขวางทำให้การขับปัสสาวะถูกปิดกั้น (Urinary Obstruction)
4. ซีสทีน นิ่วชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิงที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมของซีสทีน ซึ่งเป็นกรดที่เกิดขึ้นในร่างกายโดยธรรมชาติ และรั่วจากไตมายังปัสสาวะ
อาการของโรคนิ่วในไต
นิ่วในไตอาจจะทำให้เจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือเจ็บปวดเล็กน้อยก็ได้ นิ่วสามารถเคลื่อนที่ไปในท่อไตก็ได้และสามารถทำให้เกิดอาการปวดได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอาการปวดที่บริเวณของหลัง สีข้าง อาการปวดอาจร้าวไปท้องน้อยหรือที่ขาหนีบเป็นพักๆ ส่วนอาการอื่นๆได้แก่ การระคายเคืองเวลาปัสสาวะหรือมีอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด หรือ มีเม็ดทรายปนออกมากับปัสสาวะ หรือ คลื่นไส้ อาเจียน
สัญญาณอันตราย โรคนิ่วในไต
1. มีอาการปวดท้องบริเวณบั้นเอว หรือท้องน้อยที่ข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว
2. รู้สึกปวดบิด ๆ เกร็ง ๆ เป็นพัก ๆ คล้าย ๆ กับท้องเดิน หรือปวดประจำเดือน
3.สำหรับระยะเวลาปวด อาจปวดเป็นชั่วโมงๆ หรือ ปวดทั้งวันก็เป็นได้
4. อาจมีอาการปวดลามจากบั้นเอว ไปถึง บริเวณอัณฑะ หรือ ช่องคลอดข้างเดียวกัน
5. มีอาการใจหวิว ใจสั่น หรือ คลื่นไส้ อาเจียน
6. อาการปวดจะเป็นแบบมา ๆ ไป ๆ เป็นพัก ๆ และไม่หายขาด นาน ๆ ครั้งอาจจะเป็นที ซึ่งหากก้อนนิ่วนี้ไม่หลุดออกมา ก็จะปวดอยู่อย่างนั้นไปเรื่อย ๆ ไม่หาย
7. หากมีก้อนนิ่วหลายก้อน หรือ ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก ๆ อาจพบ เห็นก้อนนิ่วเล็ก ๆ ออกปนกับปัสสาวะ
8. เมื่อกดบริเวณที่ปวดแล้วจะไม่รู้สึกเจ็บ หรือบางครั้งอาจรู้สึกว่าสบายขึ้น
9. หากมีอาการหนัก จะปวดท้อง พร้อมกับมีไข้สูง ทานยาบรรเทาปวดแล้วยังไม่หายปวด[ads2]
advertisement

หากเริ่มรู้สึกว่ามีอาการปวดท้องบ่อย ๆ รบกวนการชีวิตประจำวัน หรือ ปวดมากจนทนไม่ไหว กินยาบรรเทาปวดก็เอาไม่อยู่ เพราะว่าก้อนนิ่ว อาจมีขนาดใหญ่ และอาจจะไปอุดตัน ส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะภายในร่างกายได้ จนอาจทำให้อวัยวะนั้น ๆ ถูกรบกวนการทำงาน และ อักเสบได้ ดังนั้นจึงควรจะรีบปรึกษาแพทย์ทันที
หมายเหตุ – มีหลายคนพูดว่า "นํ้าโซดา" สามารถละลายก้อนนิ่วได้ ซึ่งทางคณะแพทย์ศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ระบุว่า เป็นความเชื่อที่ผิด ๆ สำหรับการรักษาให้หาย คือ การป้องกัน และ พบแพทย์ เท่านั้น
advertisement

ความคิดเห็จนจากชาวเน็ต
advertisement

advertisement

advertisement

เป็นภาพที่หาดูได้ยากมากๆ และเป็นภาพที่เตือนใจคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคนี้ให้ระมัดระวังในเรื่องของการกินอาหารมากยิ่งขึ้นจริงๆ
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Sky Thai News