เครื่องดื่มชูกำลัง..มีโทษมากกว่าประโยชน์!!
advertisement
เครื่องดื่มชูกำลัง นับว่าเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วไป เรามักจะเห็นว่ามีวางขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ราคาเพียงหลักสิบ ซึ่งอย่างที่เห็นๆ กันว่า หลายคนมักดื่มเพื่อช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าไม่ล้า ไม่ง่วง มีกำลังทำงานได้มากกว่าปกติ หรือเติมพลังหลังออกกำลังกายมาอย่างเหน็ดเหนื่อย ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของเครื่องดื่มประเภทนี้ ได้แก่ น้ำตาล วิตามินชนิดต่างๆ ที่มีอยู่เพียงน้อยนิด และสารแต่งกลิ่น สี รสต่างๆ และส่วนประกอบที่สำคัญคือ คาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลังที่ดูเหมือนให้ประโยชน์ ก็มีโทษต่อร่างกายเช่นกัน เรามาดูไปพร้อมๆ กันค่ะ มันมีอันตรายกับเราอย่างไรบ้าง[ads][fb1]
advertisement
เนื่องจากเครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมของทอรีน (Taurine) ซึ่งสามารถลดอาการเมาค้าง ลดคอเลสเตอรอล และยังมีสารอาหารประเภทวิตามินอีกหลายชนิด เช่น
– วิตามินบี 6 ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน และ ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
– วิตามินบี 12 ที่มีคุณสมบัติช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
แต่วิตามินที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็มีปริมาณเพียงน้อยนิดเท่านั้น
นอกจากนี้ เครื่องดื่มชูกำลังบางชนิด จะมีส่วนผสมของสารกลูโคโนแล็คโทน ซึ่งเป็นสารประกอบอีกชนิดหนึ่งของเครื่องดื่มชูกำลัง ช่วยทำให้ทุเลาอาการเหนื่อย ช่วยบำรุงข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้จะมีราคาสูงกว่าราคาเครื่องดื่มชูกำลังทั่วไป
โทษของการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง
คาเฟอีนในเครื่องดื่มชูกำลัง
เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจ และกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองแจ่มใส ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ทำงานได้ว่องไว กระฉับกระเฉงขึ้น ความอ่อนล้าจะถูกขจัดออกไปชั่วขณะ แต่เมื่อคาเฟอีนในร่างกายหมดฤทธิ์จะเกิดความรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก หากผู้ดื่มประเภทนี้กำลับขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิก็อาจจะพลาดพลั้งและได้รับอันตรายได้ นอกจากนั้นคาเฟอีนยังมีส่วนไปกระตุ้นให้เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร อาจทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้ และยังมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจซึ่งอาจทำให้อาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและโรคกระเพาะอาหารจึงต้องหลีกเลี่ยงคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะส่งเสริมทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้
สำหรับโทษภัยของคาเฟอีน ในระยะยาว พบได้ว่าผู้ที่ได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากเป็นเวลานานๆ จะทำให้คนๆ นั้นเกิดอาการกระสับกระส่าย ตื่นเต้นเกือบตลอดเวลา สับสน มือไม้สั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ หูอื้อ ปัสสาวะมาก ยิ่งกว่านั้นในบางคนที่พบว่ามีอาการแพ้ คาเฟอีนจะมีอาการหน้าแดง มือสั่น กระวนกระวาย ความสามารถในการทำงานลดลง
advertisement
น้ำตาลจำนวนมาก
นอกจากมีคาเฟอีนมากแล้ว เครื่องดื่มชูกำลังยังเต็มไปด้วยน้ำตาลในรูปของ กลูโคส หรือเดกซ์โทรสอีกด้วย ในเครื่องดื่มชูกำลัง จะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกมีพลังมากขึ้น หากดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ก็ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายมากนัก และยังคงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายได้ แต่หากว่าดื่มมากจนเกินไป ก็จะส่งผลให้เป็นโรคอ้วนได้เช่นเดียวกับการดื่มน้ำอัดลม นอกจากนี้ยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จนอาจกลายเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด
เสพติดเครื่องดื่มชูกำลัง
เครื่องดื่มชูกำลัง มักมีส่วนผสมโดยผู้ผลิต และเริ่มมีการผสมสารเคมีและสมุนไพรอีกหลายชนิดที่เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว และอาจมีการเพิ่มส่วนผสมในเครื่องดื่มชูกำลังมากขึ้น โดยเฉพาะ คาเฟอีน, และ Guarana (ที่เป็นสารกระตุ้นระบบประสาท) จึงมีส่วนทำให้ผู้ดื่มรู้สึกติดเครื่องดื่มชูกำลังชนิดนั้นๆ ได้ และการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมากๆ ในระยะเวลาติดต่อกัน ทำให้หลายคนเลิกดื่มไม่ได้ เวลาไม่ได้ดื่มจะรู้สึกหงุดหงิดหรืออ่อนล้า และถ้าหากดื่มในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อจิตประสาทได้
กรณีดื่มเครื่องดื่มชูกำลังร่วมกับสุรา จะทำให้เพิ่มอาการเมาเป็น 2 เท่าได้ โดยเมื่อดื่มเข้าไปแล้ว จะไม่รู้สึกอ่อนล้าหรือเพลีย ทำให้ดื่มมากขึ้นกว่าปกติ (คนส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดว่าการผสมเครื่องดื่ม 2 ชนิดเข้าด้วยกัน จะช่วยแก้อาการเมาค้างได้)
advertisement
คนที่มีอาการเครียด มีความดันโลหิตสูง หรือมีระบบการทำงานของระบบหลอดเลือดบกพร่อง หญิงตั้งครรภ์ หากดื่มเครื่องดื่มชูกำลังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง แม้ว่าอาจจะพบได้ยากก็ตามที เช่น ลมชักเฉียบพลัน, อาการใจสั่นมากผิดปกติ, อันตรายเกี่ยวกับตับ, ไตวาย หรือเด็กเกิดใหม่อาจมีอาการผิดปกติ อันเนื่องมาจากแม่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมากเกินไป จึงส่งผลกระทบมาถึงตัวเด็ก เป็นต้น ด้วยอันตรายและผลข้างเคียงเหล่านี้นี่เอง กฎหมายจึงได้บังคับให้มีคำเตือนข้างขวดว่า เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน และนอกจากนั้นต้องระบุว่า ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด (ไม่ควรเกิน 1 ขวด)[yengo][fb2]
ได้ทราบประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มชูกำลังกันแล้ว จะเห็นได้ว่าประโยชน์นั้นมีน้อยนิดเสียจริง เมื่อเปรียบเทียบกับอันตรายที่คุณจะต้องเผชิญ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะดื่มไม่ได้เลยนะคะ เพียงแต่ว่าคุณจะต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพปกติ และดื่มได้ไม่เกินวันละ 2 ขวด ดังนั้นแล้ว ผู้อ่านคงจะได้ทราบกันแล้วนะคะ ว่าเครื่องดื่มชูกำลังนั้น เหมาะที่คุณจะดื่มหรือไม่ หรือดื่มได้เพียงใด
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com