• หน้าแรก
  • อาหารเพื่อสุขภาพ
    • สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    • สูตรเครื่องดื่ม
      • เครื่องดื่มสมุนไพร
        • เครื่องดื่มอื่นๆ
        • เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
  • การทำอาหาร
    • เมนูอาหาร
      • อาหารคนท้อง
      • อาหารคนป่วย
      • อาหารจานเดียว
      • อาหารต่างชาติ
      • อาหารลดน้ำหนัก
      • อาหารว่าง
      • อาหารเจ
      • อาหารเช้า
      • อาหารเด็ก
      • อาหารไทย
      • อาหารไมโครเวฟ
      • เมนูไข่
  • สุขภาพ
    • โรคและการป้องกัน
      • ยารักษาโรค
    • การดูแลสุขภาพ
      • สุขภาพผู้ชาย
      • สุขภาพผู้หญิง
      • สุขภาพวัยรุ่น
    • การดูแลสุขภาพผิว
    • การลดน้ำหนัก
    • รอบรู้เรื่องยา
    • สุขภาพกาย
      • ออกกำลังกาย
    • สุขภาพจิต
  • ท่องเที่ยว
    • ร้านอาหารแนะนำ
    • ที่พักประทับใจ
    • เที่ยวทั่วไทย
      • เที่ยวน้ำตก
      • เที่ยวภูเขา
    • เทศกาลประเพณี
    • ข้อมูลการท่องเที่ยว
  • วาไรตี้
    • คุยเรื่องบ้าน
    • สาระน่ารู้
    • คุยเรื่องเกษตร
    • ความเชื่อ
    • สัตว์น่ารักทั่วทุกมุมโลก
    • ข่าวสาร
      • ข่าวกีฬา
      • ข่าวบันเทิง
        • อันดับดารา
      • ข่าวมาแรง
      • ข่าวสารสุขภาพ
      • ข่าวทั่วไป
  • ผู้หญิง
    • ความสวยความงาม
    • ทรงผม
    • ศัลยกรรม
    • แฟชั่น
    • เซ็กซ์
    • แต่งหน้า
    • แต่งงาน
    • แฟชั่น
    • แม่และเด็ก
  • ผู้ชาย
    • ความหล่อ ดูดี
    • ทรงผม
    • Hot Girl
    • ความรัก
    • ฟุตบอล
    • รถยนต์
    • แฟชั่น
    • วัยรุ่น
      • การศึกษา
      • กิจกรรมวัยรุ่น
      • เทคโนโลยี
  • Home
  • Cooking
  • Health
  • Variety
  • Lady
  • Male
kaijeaw
  • หน้าแรก
  • อาหารเพื่อสุขภาพ
    • สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    • สูตรเครื่องดื่ม
      • เครื่องดื่มสมุนไพร
        • เครื่องดื่มอื่นๆ
        • เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
  • การทำอาหาร
    • เมนูอาหาร
      • อาหารคนท้อง
      • อาหารคนป่วย
      • อาหารจานเดียว
      • อาหารต่างชาติ
      • อาหารลดน้ำหนัก
      • อาหารว่าง
      • อาหารเจ
      • อาหารเช้า
      • อาหารเด็ก
      • อาหารไทย
      • อาหารไมโครเวฟ
      • เมนูไข่
  • สุขภาพ
    • โรคและการป้องกัน
      • ยารักษาโรค
    • การดูแลสุขภาพ
      • สุขภาพผู้ชาย
      • สุขภาพผู้หญิง
      • สุขภาพวัยรุ่น
    • การดูแลสุขภาพผิว
    • การลดน้ำหนัก
    • รอบรู้เรื่องยา
    • สุขภาพกาย
      • ออกกำลังกาย
    • สุขภาพจิต
  • ท่องเที่ยว
    • ร้านอาหารแนะนำ
    • ที่พักประทับใจ
    • เที่ยวทั่วไทย
      • เที่ยวน้ำตก
      • เที่ยวภูเขา
    • เทศกาลประเพณี
    • ข้อมูลการท่องเที่ยว
  • วาไรตี้
    • คุยเรื่องบ้าน
    • สาระน่ารู้
    • คุยเรื่องเกษตร
    • ความเชื่อ
    • สัตว์น่ารักทั่วทุกมุมโลก
    • ข่าวสาร
      • ข่าวกีฬา
      • ข่าวบันเทิง
        • อันดับดารา
      • ข่าวมาแรง
      • ข่าวสารสุขภาพ
      • ข่าวทั่วไป
  • ผู้หญิง
    • ความสวยความงาม
    • ทรงผม
    • ศัลยกรรม
    • แฟชั่น
    • เซ็กซ์
    • แต่งหน้า
    • แต่งงาน
    • แฟชั่น
    • แม่และเด็ก
  • ผู้ชาย
    • ความหล่อ ดูดี
    • ทรงผม
    • Hot Girl
    • ความรัก
    • ฟุตบอล
    • รถยนต์
    • แฟชั่น
    • วัยรุ่น
      • การศึกษา
      • กิจกรรมวัยรุ่น
      • เทคโนโลยี
  1. หน้าแรก
  2. สุขภาพ

เตือน 4 โรค 3 ภัยสุขภาพ ที่ควรระวังช่วงฤดูหนาว

โพสเมื่อ 14/11/2018 23:39 น.
Advertisement

Advertisement
สุขภาพ

       กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกรมควบคุมโรค เตือนประชาชนให้ระมัดระวังการเจ็บป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวปีนี้ เน้นดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองจาก 4 โรคติดต่อ และ 3 ภัยสุขภาพ

       นายแพทย์อัษฎางค์  รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้ว สภาพอากาศมีความหนาวเย็นมากกว่าช่วงเวลาอื่นของปี ทำให้เชื้อโรคบางชนิดสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น แพร่กระจายได้ง่ายและเร็วกว่าในฤดูกาลอื่น  กรมควบคุมโรค มีความห่วงใยสุขภาพของประชาชนในช่วงฤดูหนาว และเพื่อให้ประชาชนระมัดระวังการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้

โรคฤดูหนาว-

       จึงออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่องการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ.2561 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งโรคและภัยสุขภาพที่มีแนวโน้มจะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

       1.โรคติดต่อ ได้แก่  1) โรคหัด  2) โรคปอดอักเสบ  3) โรคไข้หวัดใหญ่  และ 4) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน  

       2.ภัยสุขภาพ ได้แก่ 1) การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว  2) การสูดดมก๊าซพิษและขาดอากาศหายใจจากเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส  และ 3) การเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงอากาศหนาวและหมอกจัด

โรคฤดูหนาว-1

       นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวต่อไปว่า โรคหัด ติดต่อจากการหายใจเอาละอองอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ทั้งจากการไอ จาม หรือพูดคุยในระยะใกล้ชิดกับผู้ป่วย อาการป่วยจะคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ บางรายมีตาแดง ถ่ายเหลว มีจุดขาวๆเล็กๆ ที่กระพุ้งแก้ม หลังมีไข้ 3–4 วัน จะเริ่มมีผื่นนูนแดงขึ้นมักเริ่มจากใบหน้า ส่วนใหญ่ผื่นจะจางหายไปเองประมาณ 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบ และสมองอักเสบได้

       ทั้งนี้ โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้มากกว่าร้อยละ 95 ในเด็กแนะนำให้ฉีดสองเข็ม เข็มแรกที่อายุ 9 เดือน และเข็มที่สองตอนอายุ 2 ปีครึ่ง  ส่วนโรคถัดไปที่ต้องระมัดระวัง คือโรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม เกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาการรุนแรงมักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหัวใจ เป็นต้น

โรคฤดูหนาว-2

       เชื้อก่อโรคที่สำคัญได้แก่ เชื้อ Streptococcus pneumonia มักอยู่ในน้ำลายและเสมหะผู้ป่วย ติดต่อจากการไอ จาม หรือหายใจรดกัน อาการผู้ป่วยมักมีไข้ ไอ หายใจเร็ว อาจมีอาการหอบ หายใจลำบาก เหงื่อออก หนาวสั่น บางรายซึม รู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำ เด็กเล็กอาจท้องอืด อาเจียน ซึม  ไม่ดูดนมหรือน้ำ

       ความรุนแรงจะแตกต่างกันในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ อายุ และสุขภาพ การป้องกัน คือหลีกเลี่ยงอยู่ในสถานที่แออัด ไม่ให้เด็กเล็กและผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงคลุกคลีกับผู้ป่วยปอดอักเสบหรือผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำ และสบู่ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

       โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส อินฟลูเอนซา เป็นโรคที่ป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กจนถึงเด็กโต ผู้เสียชีวิตมักเป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปและมีโรคประจำตัว โดยพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในสถานที่แออัด ผู้คนอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น เช่น เรือนจำ และสถานศึกษา เป็นต้น

โรคฤดูหนาว-3

       โรคนี้ติดต่อจากการหายใจหรือสัมผัสละอองฝอยจากการไอ จามของผู้ป่วย หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย อาการของผู้ป่วยคือมีไข้ ไอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัว บางรายอาจมีอาการรุนแรงเกิดภาวะปอดบวมหรือสมองอักเสบได้  ในการป้องกันโรค คือดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัด  หน่วยงานต่างๆ ควรมีมาตรการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยแนะนำให้หยุดเรียนหรือหยุดงาน

       และโรคสุดท้ายคือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ในช่วงฤดูหนาวนี้เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เช่น เชื้อไวรัส โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ซาโปรไวรัส อะดีโนไวรัส แอสโปรไวรัส เป็นต้น โดยเฉพาะโรตาไวรัส (Rota virus) เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและทำให้เด็กเสียชีวิตได้ มักพบบ่อยในกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุ 1-3 ปี ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อดังกล่าว

โรคฤดูหนาว-4

       ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ อาเจียน อุจจาระร่วงอย่างรุนแรงทำให้เสียน้ำมาก บางรายรักษาไม่ทันอาจช็อกและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ส่วนการรักษาคือการให้ยาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อาเจียน ให้น้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียเกลือแร่จากการถ่ายอุจจาระและอาเจียน  วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค คือดูแลสุขอนามัยอาหารและน้ำ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ ถ่ายอุจจาระลงในภาชนะที่รองรับมิดชิด หมั่นล้างมือ และทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อยๆ หลีกเลี่ยงพาเด็กไปสถานที่แออัด

       นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวอีกว่า สำหรับภัยสุขภาพที่ควรระมัดระวังในช่วงฤดูหนาว คือการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว มักเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ คนเร่ร่อน ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ดื่มสุราเพื่อคลายความหนาว ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตในบ้านหรือในที่สาธารณะที่ไม่มีห้องหรือผนังกั้นลมหนาว สวมเครื่องนุ่งห่มไม่เพียงพอ

โรคฤดูหนาว-8

       คำแนะนำในการป้องกันตนเองจากภัยหนาว คือ 1.ไม่ควรดื่มสุราและเสพของมึนเมา 2.รักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และให้ความอบอุ่นต่อร่างกายให้เพียงพอ 3.ดูแลและช่วยเหลือใกล้ชิดในกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำลงได้ง่าย ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก คนพิการ เป็นต้น

       4.จัดหาเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มกันหนาวและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมจะป้องกันลมหนาวได้โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง และ 5.ระวังและสังเกตอาการผู้ป่วยหลังกินยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยารักษาอาการชัก เป็นต้น ที่มีผลต่อร่างกายในภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำลง และช่วงกลางคืนอากาศหนาวเย็น ผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคหัวใจ อาจเกิดอาการเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ง่าย

โรคฤดูหนาว-5

       การสูดดมก๊าซพิษและขาดอากาศหายใจจากเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส โดยในช่วงอากาศหนาวเย็น ประชาชนมักเดินทางไปเที่ยวตามยอดดอย ภูเขา และพักผ่อนตามรีสอร์ท บ้านพักต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สแทนระบบไฟฟ้า นักท่องเที่ยวจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สระหว่างอาบน้ำได้

       เนื่องจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากและเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ซึม หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

โรคฤดูหนาว-6

       คำแนะนำในการปฏิบัติ คือ มีการตรวจสอบเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สให้ได้มาตรฐานและปลอดภัย ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ ติดป้ายเตือน และบอกวิธีใช้งานด้วย ไม่ควรอาบน้ำนาน ควรเว้นระยะเวลา 15-20 นาที เพื่อให้อากาศระบายออก หากมีอาการผิดปกติขณะอาบน้ำหรือได้กลิ่นแก๊ส ควรออกจากห้องน้ำทันที 

       ภัยสุขภาพสุดท้ายที่ควรระมัดระวัง คือการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงอากาศหนาวและหมอกจัด ซึ่งการเดินทางไปท่องเที่ยวช่วงนี้อาจเจอหมอกลงจัดและทัศนะวิสัยที่ไม่ดี เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ง่าย คำแนะนำสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงอากาศหนาวและหมอกลงจัด มีดังนี้

โรคฤดูหนาว-7

       1.ตรวจสอบสภาพอากาศและเส้นทางก่อนเดินทาง หากทัศนะวิสัยไม่ดี หมอกลงจัด ไม่ควรเดินทาง หรือหากจำเป็นควรขับด้วยความระมัดระวัง และเปิดไฟหน้าช่วงที่มีหมอกลงจัด

       2.พักผ่อนให้เพียงพอก่อนขับทางไกล

       3.ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ (เบรค ยาง ล้อ) ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยและพร้อมใช้งาน

       4.ปฏิบัติตามกฎจราจร ไม่ดื่มสุรา ไม่ขับเร็ว สวมเข็มขัด และหมวกนิรภัยทุกครั้ง หากยังไม่มีความชำนาญในการขับรถยนต์เพียงพอไม่ควรขับรถยนต์ทางไกลหรือเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย

โรคฤดูหนาว-9

       กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้จัดทำประกาศแจ้งเตือนให้ระวังโรคและภัยสุขภาพไปยังหน่วยงานในพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง พร้อมเตรียมภารกิจในการดูแลประชาชน ได้แก่

       1.การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคในพื้นที่

       2.การควบคุมโรคในกรณีถ้ามีการระบาดของโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เข้าไปดำเนินการสอบสวน ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่

       3.การสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชน  หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ขอขอบคุณที่มาจาก : สำนักระบาดวิทยา / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค

Advertisement
แบ่งปัน
Facebook
Twitter

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ:

ฤดูหนาว

เรื่องที่คุณอาจสนใจ :

ผลไม้ 3 อย่างไม่ควรกินผิดเวลา เพราะอาจทำให้ร่างกายพังได้
สุขภาพ
บทสวดมนต์แบบสั้นๆก่อนนอน หนุนนำพาโชคดี ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
สำหรับใครที่ต้องการนอนหลับสบายฝันดี บทสวดมนต์ก่อนนอน แบบสั้น พร้อมคำแปล ที่เรานำมาฝากนี้ตอบโจทย์ทีเดียวค่ะ เชื่อว่าชาว...
สุขภาพจิต
วิธีแก้ปวดหัวด้วยตัวเอง ภายใน 5 นาทีได้ผลดีไม่ต้องง้อยา
เวลาปวดหัว เรามักจะแก้ด้วยการทานยาแก้ปวด ซึ่งแน่นอนว่าการทานยาแก้ปวดมากๆไม่ดีต่อสุขภาพแน่นอน วันนี้ Kaijeaw.com เลยมี...
สาระน่ารู้
เตือนภัย กินยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปีเสี่ยงมะเร็งเต้านม-เนื้องอกในตับ
เมื่อวันที่ วันที่ 18 ต.ค. เพจเฟซบุ๊ก Umaad Aegem โพสต์ เตือนภัยจากยาเม็ดคุมกำเนิด การใช้ยาเมิดคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานา...
ข่าวสาร
แพทย์ศิริราชเผย วิธีทำให้กลิ่นเต่าหาย ไม่รบกวนผู้อื่น
กลิ่นตัวเกิดจากสารที่สร้างมาจากต่อมกลิ่น (apocrine gland) ซึ่งพบมากที่บริเวณรักแร้และหัวหน่าว ต่อมกลิ่นพบได้ตั้งแต่เกิ...
การดูแลสุขภาพ
ว่านชักมดลูก ยาดีใกล้ตัว คุณค่ามหาศาล
“ว่านชักมดลูก”จัดว่าเป็นยาสมุนไพรโบราณชนิดหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยสรรพคุณเด...
สุขภาพ
ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ร้ายแรงประกันบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบ
หลายคนอาจจะไม่เห็นความสำคัญของการทำประกันชีวิต เพราะบางคนอาจจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการทำประกันแล้วไม่รับผิดชอบเกี่ยว...
ข่าวสารสุขภาพ
หมอพบเคส ท้องผูกเรื้อรังลำไส้อุดตัน จนต้องผ่าตัดลำไส้ทิ้ง
ระบบการขับถ่ายถือเป็นสัญญาณเตือนและบ่งบอกถึงสุขภาพของทุกคน หากใครที่มีปัญหาท้องผูกหรือขับถ่ายไม่ปกติ อย่านิ่งนอนใจจำเป...
สุขภาพ
ทำงานหนักพักผ่อนน้อย เสี่ยงเป็นโรคภูมิคุ้มกันเป็นพิษ
สาวแชร์ประสบการณ์นอนไม่เป็นเวลาพักผ่อนน้อยเนื่องจากการทำงาน จึงมีตุ่มแดงขึ้นเต็มร่างกาย แพทย์เผยป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกัน...
สุขภาพ
เภสัชเผยยากลุ่ม NSAIDsห้ามกินร่วมกันเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
เเฟนเพจเฟซบุ๊ก เภสัชจิก ได้เผยแพร่เรื่องราวความรู้ของยา ที่มีลักษณะภายนอกสีสันต่างกัน เเละใช้เเก้อาการที่ต่างกัน แต่เป...
สาระน่ารู้
ดูทั้งหมด

ข่าวสารล่าสุด

ผลไม้ 3 อย่างไม่ควรกินผิดเวลา เพราะอาจทำให้ร่างกายพังได้

เผยสูตรนมข้าวโพด ทำง่ายรสชาติอร่อยได้ประโยชน์

บทสวดมนต์แบบสั้นๆก่อนนอน หนุนนำพาโชคดี ชีวิตเจริญรุ่งเรือง

ผ้าเบรกรถยนต์ ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ เพื่อประสิทธิภาพที่ดี

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ จะไม่ทำให้ภาระหนี้ตึงมือ

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์
Advertisement

หมวดหมู่

  • Featured
  • การทำอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ธ สถิตในดวงใจ
  • ผู้ชาย
  • ผู้หญิง
  • วัยรุ่น
  • วาไรตี้
  • สุขภาพ
  • อาหารเพื่อสุขภาพ

แท็กยอดนิยม

  • ความรัก
  • ดารา
  • บุพเพสันนิวาส
  • บ้าน
  • ลดน้ำหนัก
  • ลูก
  • อั้ม พัชราภา
  • อาหาร
  • ฮา
  • เต้น

ติดต่อไข่เจียว

  • ติดต่อเรา
  • แจ้งลบ
Copyright © 2015 kaijeaw.com All rights reserved.

ประวัติการแชร์ เตือน 4 โรค 3 ภัยสุขภาพ ที่ควรระวังช่วงฤดูหนาว


วันที่ โดย
No data.