ไขข้อข้องใจ!!ใช้หัวโหม่งฟุตบอล เสี่ยงสมองเสื่อมจริงหรือ?
advertisement
เดลี่เมล์ นำเสนอข่าวอ้างงานศึกษาว่านักฟุตบอลอาจจะมีภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคภาวะสมองเสื่อม เนื่อจากได้รับความเจ็บปวดที่กระทำซ้ำๆ เมื่อพวกเขาโหม่งลูกฟุตบอล โดยจากการศึกษานักฟุตบอลที่แขวนสตั๊ดแล้วจำนวน 14 คน พบว่า นักฟุตบอล 4 รายอยู่ในภาวะที่เป็นโรคสมองเสื่อม และ อีก 6 รายเป็นโรคอัลไซเมอร์
advertisement
15 ปีให้หลังจากนักฟุตบอลระดับตำนานอย่าง เจฟฟ์ แอสเทิล นักฟุตบอลชาวอังกฤษเสียชีวิตลง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญตรวจพบสาเหตุการเสียชีวิตของเขามาจาก ภาวะสมองเสื่อม ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการโหม่งฟุตบอลด้วยตำแหน่งที่ซ้ำๆ และรุนแรง โดยสมองของเขาเหมือนคนอายุ 90 ปี ทั้งที่จริงๆแล้ว ตอนที่เสียชีวิตนั้นเขามีอายุเพียง 59 ปี[ads]
advertisement
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ทำการศึกษานักฟุตบอลทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่น 13 คน พบว่า จากตัวอย่างสมองของนักฟุตบอล 6 คนที่เสียชีวิตมีอาการบาดเจ็บทางสมองเรื้อรัง (chronic traumatic encephalopathy หรือ CTE) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาการบาดเจ็บทางสมองเรื้อรังนี้มักพบในนักกีฬาประเภทนักมวย และนักรักบี้
ถึงแม้นักฟุตบอลจะมีโอกาสได้รับการกระทบกระเทือนน้อยกว่านักมวย แต่ผู้เชี่ยวชาญมีหลักฐานที่สามารถชี้ชัดได้ว่า การกระทบของลูกบอลกับศีรษะซ้ำๆ บ่อยๆ ครั้งนั้น สามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองได้
advertisement
ด้านนักวิจัยจากยูซีแอลได้ศึกษานักฟุตบอลที่เลิกเล่นแล้วในช่วงปี 1980-2010 ที่ทุกคนเริ่มเล่นฟุตบอลตั้งแต่เด็กหรือช่วงวัยรุ่นพบว่า ทุกคนมีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งนักฟุตบอลเหล่านี้เมีอาการบาดเจ็บทางสมองเรื้อรังเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับคนทั่วไป[ads]
อย่างไรก็ตามด้วยความเป็นกังวลถึงการพัฒนาทางสมองของเยาวชน และอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อม สมาพันธ์ฟุตบอลจึง ได้เรียกร้องให้มีการพิจารณาออกกฎห้ามเยาวชนอายุต่ำกว่า 10 ขวบใช้ศรีษะโหม่งลูกฟุตบอล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : thaihealth.or.th gidanan ganghair, เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ