กรดไหลย้อน!! .. ดูแลรักษาและป้องกันได้ง่ายๆ
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/09/กรดไหลย้อน55.jpg)
advertisement
"โรคกรดไหลย้อน" มักสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยด้วยอาการ ปวดแสบ ปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก คลื่นไส้ มีอาการเรอเปรี้ยว ระคายคอตลอดเวลา ปล่อยไว้ไม่ได้นะคะ อาการยิ่งจะลุกลามใหญ่โตขึ้นทุกวัน มาดูวิธีการป้องกันและรักษาพร้อมๆ กับ Kaijeaw.com กันเลยค่ะ
advertisement
![กรดไหลย้อน](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/09/กรดไหลย้อน.jpg)
>>> การป้องกัน
โดยการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
– งดการสูบบุหรี่
– หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ
– ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน
– รับประทานอาหารให้เป็นเวลา
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
– ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– หลับพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนก่อน 22.00 น.และ นอนให้ได้ 6-8 ชม.
[ads]
advertisement
![กรดไหลย้อน1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/09/กรดไหลย้อน1.jpg)
>>> การรักษา
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย
– ปฏิบัติเช่นเดียวกับการป้องกันตนจากโรคกรดไหลย้อน
– การรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยการปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันมีความสำคัญมาก จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการอีก
– การรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้จะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้ว โดยไม่ต้องรับ
ประทานยาแล้วก็ตาม
2. การรักษาโดยใช้ยา
– ปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี สามารถเห็นผลการรักษาเร็ว
– การรักษาด้วยยา ควรควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัวให้ไม่เกิดอาการกรดไหลย้อนนั้น
– ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
– เมื่ออาการต่างๆ ดีขึ้น แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ ทีละน้อย
– ที่สำคัญไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น
3. การผ่าตัด
การผ่าตัดนี้จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
– กรณีที่เข้ารับการรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ได้ หรือผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยา แต่ไม่ต้องการที่จะกินยาต่อ
– มีรายงานว่าผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
– โดยแพทย์จะพิจารณาทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ผูกหูรูดกระเพาะอาหาร
[yengo]
advertisement
![กรดไหลย้อน2](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/09/กรดไหลย้อน2.jpg)
โรคกรดไหลย้อยไม่ใช่โรคที่พบได้ยากแล้วนะคะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทางที่ดีหากไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวคุณ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้ ใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้คุณต้องเป็นโรคกรดไหลย้อน
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com