ไขข้อสงสัย การอุทิศส่วนกุศลจำเป็นต้อง ‘กรวดน้ำ’ จริงหรือไม่?
advertisement
การอุทิศส่วนกุศล คัดลอก จากหนังสือ การอุทิศส่วนกุศล โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วันนี้จะนำมาแชร์เป็นบุญให้กับชาวเน็ตได้รู้เป็นความรู้ เป็นการสนทนาธรรมถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องอย่างถูกต้องที่หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำแบบไหนถูกต้อง
advertisement
ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ ลูกทำสังฆทานให้ สัมภเวสี ถ้ากลับไปแล้วจะ กรวดน้ำ ให้ได้ไหมค่ะ…?
หลวงพ่อ : การอุทิศส่วนกุศล ในพระพุทธศาสนานี่ไม่มีน้ำ แต่ว่าที่ พระเจ้าพิมพิสาร ทำเป็นองค์แรก เพราะว่าศาสนาพราหมณ์เขาถือว่า ถ้าจะให้อะไรกับใคร ต้องให้คนนั้นแบมือแล้วเอาน้ำราดลงไป และตอนที่พระเจ้าพิมพิสารทำ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ห้ามเพราะเป็นพระเพณีนิยม
เวลาที่พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนกุศลต้องใช้น้ำ เพราะว่าท่านเพิ่งพบพระพุทธเจ้า ประเพณีของพราหมณ์ยังชินอยู่ แต่ว่าใจท่านตั้งตรง เวลาอุทิศส่วนกุศลจริงๆ ในพระพุทธศาสนาไม่ต้องใช้น้ำ ผีกับเปรตต้องรีบวิ่งกลับ เพราะไม่ได้กินแน่ เพราะฉันเคยพบมาแล้ว แต่ไม่มีน้ำนะว่า "อิมินา" เพลินไปยังไม่ถึงครึ่งก็มีคน ๒ คน ถือโซ่มาคล้องคอปั๊บลากไปเลย
advertisement
ผู้ถาม : มีบางคนเขาบอกว่า "กรวดน้ำแบบแห้ง" ตาไปชาติหน้าจะแห้งแล้งเพราะไม่มีน้ำ โบราณพูดอย่างนี้จะจริงหรือเปล่าค่ะ…?
หลวงพ่อ : เขาพูดได้ยินหรือเปล่า คนที่พูดมาได้ยินหรือเปล่า… คนโบราณพูดอย่างนี้ คนโบราณเขาพูดหรือเปล่า… ถ้าได้ยินแสดงว่าเขาพูดจริง แต่ก็ไม่ได้แห้งแล้งจริง การอุทิศส่วน กุศล พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ใช้น้ำ ฉันใช้น้ำวันเดียววันบวช ว่าไม่ถูกเลย ฉันไม่เคยใช้น้ำเลยก็เห็นผีได้รับ แต่ชาติหน้าถ้าจะทำอย่างนั้น ถ้าฉันยังไม่ตาก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่ไม่เป็นไรนะ! กินน้ำเกลือเผื่ออยู่แล้ว เผื่อชาติหน้าจะอด!
ผู้ถาม : อ้อ..มินาล่ะ! หลวงพ่อถึงให้น้ำเกลือบ่อยๆ
หลวงพ่อ : ใช่! มีทั้งน้ำสะอาด น้ำเกลือ น้ำหวาน เผื่อไว้ตลอด
รวมความว่า เวลาจะอุทิศส่วนกุศล ให้ใช้ภาษาไทยสั้นๆ อย่างทำบุญสังฆทาน เราก็ตั้งใจว่า "การบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ผลนี้จะมีแก่ข้าพเจ้าเพียงใด ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่ …(บอกชื่อ)… ขอให้มาโมทนารับผลเช่นเดียวกับข้าพเจ้า"และตอนที่พระสงฆ์ให้พรนี้ ก็ขอให้เจ้าภาพและทุกท่านที่บำเพ็ญกุศลแล้ว ตั้งจิตปราถนาเอาตามประสงค์ สมมติว่าท่านทั้งหลายตั้งใจเพื่อ "พระ นิพพาน" อันนี้ก็ต้องเผื่อไว้ด้วยว่าหากสมมติเราตายจากชาตินี้ไปแล้วยังไม่ถึงซึ่ง พระนิพพานเพียงไร สมมติว่าเราตาย ถ้าเราไม่เผื่อไว้ละก็มันจะขลุกขลัก
advertisement
ฉะนั้นการอธิษฐานจิต คือตั้งจิตอธิษฐานเขาเรียกว่า "อธิษฐานบารมี" เจริญพระกรรมฐานก็ดี ถวายสังฆทานก็ดี อธิษฐานว่า"ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานใน ชาติปัจจุบันนี้ แต่ทว่าถ้าหากข้าพเจ้าไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด จะเกิดใหม่ไปในชาติใดก็ตาม ขอคำว่า "ไม่มี" จงอย่าปรากฎแก่ข้าพเจ้า" ถ้าเราต้องการอะไรให้มันมีทุกอย่าง จะไม่รวยมากก็ช่าง! เท่านี้ก็พอแล้ว…
ผู้ถาม : ถ้าทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมค่ะ…?
หลวงพ่อ : การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้วเดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ!
ผู้ถาม : แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมค่ะ…?
หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศลนี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม.. ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม
advertisement
อย่างเรื่องของ พระ อนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้วเจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะได้ไหม จึงไปถาม พระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านมารับบาตรนะ
ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า "สมมติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยม แล้วคบทุกคนก็สว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม…?"
ท่านอนุรุทธก็บอกว่าไม่ยุบ! แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่ บุญของเราเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์"
เรื่องของการทำบุญนี้ เวลาทำผู้ที่เป็นเจ้าภาพได้ครบ เวลาอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ถ้าผู้นั้นเขาได้มากสักเท่าใดก็ตามทีผลบุญของเราไม่ได้ลดลงเลย แต่ว่าการอุทิศส่วนกุศลมันเป็นผลกำไรของเราอีกทางหนึ่ง คือได้ เมตตาบารมี ทีนี้พวกเราก็ขยันให้กันบ่อยๆ เมตตาบารมี จะได้เต็มเร็วขึ้น.
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com