กระจ่าง!! วัยเบญจเพส คืออะไร จะต้องรับเคราะห์จริงหรือไม่ พระท่านมีคำตอบ
advertisement
สำหรับคนไทยแทบทุกคน มักจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง "วัยเบญจเพส" ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ว่าเมื่ออายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ ทุกคนจะเข้าสู่วัยเบญจเพส จะต้องเจอกับเหตุอาเพศ เคราะห์ร้ายที่เข้ามาในชีวิต ต้องเจอกับสิ่งลี้ลับ หรือบางคนอาจจะเสียชีวิตเลยก็ได้ แต่ถ้าเบญจเพสให้คุณชีวิตก็จะดีอย่างน่าทึ่ง ซึ่งเป็นคำถามคาใจของใครหลายๆคน ว่าทำไมเมื่ออายุ 25 ปี แล้วจะต้องมาเกิดเรื่องราวแบบนี้ ทำไมจะต้องมีเคราะห์ในช่วงนี้ วันนี้ไข่เจียวจึงขอนำคำตอบไขข้อสงสัย ของ พระธรรมโกศาจารย์ ปัญญานันทภิขุ จากหนังสือแสงสว่างของชีวิต มาฝากให้หายสงสัยกันค่ะ [ads] "เบญจเพส" ก็หมายความว่า ยี่สิบห้า อายุ ๒๕ มันอันตราย อันตรายตรงที่ว่าเราคะนองนั่นเอง ไม่ต้องถึง ๒๕ หรอก ๑๘ นี่คะนองแล้ว เด็กวัยทีนเอจนี่คะนองแล้ว ๑๙-๒๕ มันคะนองทั้งนั้น โน่น ๓๕ ถึงจะเบาหน่อย พอรู้เรื่องชีวิตรู้จักค่าของชีวิตไม่ค่อยจะเสี่ยงภัยมากเกินไปโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ ๒๕ มันกำลังคะนองทำอะไรมักจะรวดเร็วโลดโผน มันจึงเกิดทุกข์เกิดโทษกับคนอายุขนาดนั้นมาก เพราะความคะนองนั่นเอง ถ้าหากว่าเรารู้ตัวว่าอุบัติเหตุมันเกิด เพราะความคะนองเกิดเพราะความประมาท เราก็อย่าประมาท ขับรถก็อย่านึกว่ามีรถของเราคันเดียวก็เท่านั้น[ads]
advertisement
มันไม่มีอะไร อายุ ๒๕ ไม่ได้ร้ายอะไรไม่ได้เสียหายอะไร แต่ว่าคนใดไปเกิดอุบัติเหตุเจ็บตอนอายุ ๒๕ เขาก็ว่า "เบญจเพส" เบญจ แปลว่า ห้า เพส แปลว่า ยี่สิบ ถ้าเพศ (ศ.ศาลา) ก็คือเพศหญิง เพศชาย นั่นแหละ มันหมายความว่าอย่างไรก็ไม่ได้เรื่อง แปลแล้วยิ่งไม่ได้เรื่องใหญ่
หายสงสัยกันเลยทีเดียวค่ะ บางครั้งความเชื่อนี้อาจเป็นกุศโลบายเพื่อให้วัยรุ่นวัยคะนองได้รู้จักการระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้น จนเป็นความเชื่อต่อๆกันมาก็ได้
ขอบคุณที่มา : พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิขุ) แสงสว่างของชีวิต หน้าที่ ๑๗ เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com