กฤษณา ไม้หอมมากคุณค่า..เป็นยาชั้นดี!!
advertisement
“กฤษณา” ไม้หอมกฤษณานั้นเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อว่ามีกลิ่นหอมที่สุด เป็นไม้ที่มี ความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์ไม้กฤษณามาอย่างยาวนาน คนสมัยก่อนมีความเชื่อว่าไม้กฤษณาเป็นไม้มงคล สามารถใช้ป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้กล้ำกรายได้ นิยมนำไปปลูกไว้ในบ้านหรือสวนเพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อป้องกันผีร้ายและภัยอันตรายต่างๆ และมีการใช้ประโยชน์เป็นยาที่มีสรรพคุณสุดยอดมาก จะช่วยดูแลปรับสมดุลในร่างกายเป็นหลัก อย่างไรบ้างนั้นมาติดตามกันได้เลยค่ะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte
ชื่อสามัญ : Eagle wood
วงศ์ : Thymelaeaceae
ชื่ออื่นๆ : มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ว่า สีเสียดน้ำ (บุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ (จันทบุรี), ไม้หอม (ภาคตะวันออก, ภาคใต้), ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้), กายูการู กายูกาฮู กายูดึงปู (ปัตตานี, มาเลเซีย), เซงเคง (ภาษากะเหรี่ยง), อครุ ตคร (บาลี), ติ่มเฮียง (ไม้หอมที่จมน้ำ) (จีน) เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของไม้กฤษณา : ไม้ต้น สูง 18-30 เมตร เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องยาวตื้นๆ ตามกิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบเกลี้ยง สีเขียว มีขนประปรายตามเส้นใบด้านล่าง ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 ซม.
ดอก : ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน
ผล : รูปกลมรี มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวขรุขระเป็นลายสีเขียว มีขนละเอียดสั้นคล้ายกำมะหยี่ พอแก่แตกอ้าออก มีเมล็ดกลมรี สีน้ำตาลเข้ม มี 1-2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ แก่น และชัน
[ads]
ลักษณะของยา : (เนื้อไม้) เป็นเนื้อไม้ที่มีสีขาวนวล เสี้ยนตรง เนื้อหยาบปานกลาง หากมีน้ำมันสะสมอยู่บ้างเนื้อไม้จะเปลี่ยนสีจากเดิม เป็นสีเหลืองอ่อนๆ และจะมีสีเข้มมากขึ้นตามปริมาณน้ำมันที่สะสมอยู่ในเนื้อไม้ หรือบางครั้งอาจเห็นเป็นจุดเข้มๆ กระจายเป็นแผ่นบางๆ บริเวณผิวไม้ แต่ยังไม่แทรกลึกเข้าไปในเนื้อไม้ หากมีน้ำมันสะสม จะมีกลิ่นหอมซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อราบางชนิดเจริญเข้าไปในเนื้อไม้ ทำให้เนื้อไม้สร้างชันน้ำมัน (oleoresin) เนื้อไม้จึงมีสีเข้มขึ้น เมื่อหักกิ่งจะมีชันน้ำมันไหลเยิ้มออกมา มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสเผ็ดร้อน และขม
สรรพคุณทางยาของกฤษณา
เนื้อไม้ : เนื้อไม้มีรสขม หอม ช่วยแก้อาการเป็นลมวิงเวียนศีรษะ แก้ไข้ ช่วยขับเสมหะและลม บำรุงโลหิตและหัวใจ ช่วยให้หัวใจชุ่มชื่น แก้อาการตับปอดพิการ แก้อาการปวดตามข้อ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาต้มดื่มแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้อีกด้วย ตลอดจนแก้ลมกองละเอียด และใช้เป็นยาบำรุงหัวใจในช่วงเช้า
ไม้ลูกแก่น : เมื่อนำมาใช้เผาจนเกิดกลิ่นหอม ใช้สูดดมจะช่วยทำให้เกิดกำลังวังชา
ชิ้นไม้ : ช่วยบำรุงสมอง ใช้ระงับอารมณ์โมโหดูร้าย ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้มีอารมณ์สุนทรีย์ ใช้ต้มดื่มแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ ด้วยการนำมาผสมกับยาหอมใช้รับประทาน หรือนำมาต้ม
เชื่อว่ากลิ่นหอมของควันที่ได้จากการนำชิ้นไม้กฤษณามาจุดจะช่วยรักษาโรคบางอย่างได้
ใบ : สรรพคุณของน้ำจากใบสามารถนำมาใช้เพื่อรักษาโรคเบาหวานได้ ใช้เป็นยารักษาโรคภูมิแพ้
เปลือกต้น : สิ่งสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของเปลือกต้นกฤษณาในประเทศไทยมีฤทธิ์ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง
น้ำมันกฤษณา : สรรพคุณแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคในลำไส้ โรคกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็งลำไส้ หรือรับประทานน้ำกลั่นกฤษณาเป็นยาแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเป็นเถาดาน ช่วย รักษาโรคตับ มะเร็งตับ
น้ำมันจากเมล็ด : สามารถนำมาใช้รักษาโรคเรื้อนและโรคผิวหนังได้
ตามตำรายาจีน กฤษณาจัดเป็นยาชั้นดี มีรสเผ็ดปนขม ฤทธิ์อ่อน ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน รักษาอาการปวดแน่นหน้าอก แก้หอบหืด เสริมสมรรถภาพทางเพศ แก้โรคปวดบวมตามข้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
[yengo]
การนำส่วนต่างๆ ของกฤษณามาใช้ประโยชน์
– น้ำมันกฤษณา เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้โรคท้องอืดท้องเฟ้อ โรคลำไส้ โรคกระเพาะอาหาร โรคตับ ใช้ทาตัวเพื่อป้องกันไรในทะเลทราย เป็นเครื่องประทินผิว ใช้ทำหัวน้ำหอม และกฤษณากลั่นยังใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาของคนไทยอีกด้วย
– ชิ้นไม้กฤษณา ใช้บดผสมเป็ยยาบำรุงหัวใจในเลือด ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ระงับอารมณ์โมโหดุร้าย ผ่อนคลายความตึงเครียด บำรุงสมอง ทำให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์
– น้ำกลั่นกฤษณา ใช้ทำสบู่หอม ยาสระผม เครื่องประทินผิว ใช้ทำสปาระงับความเครียด หรือรับประทานเป็นประจำเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเป็นเถาดาน ฯลฯ
– กากกฤษณาหลังจากการกลั่น ใช้ทำผงธูปหอม เครื่องปั้นต่างๆ
– เปลือกกฤษณา ชั้นนอกใช้ทำยากันยุง ชั้นกลางใช้เป็นเครื่องจักสาน ชั้นในใช้ทอเสื้อผ้า เชือกป่าน
– ใบกฤษณาหลังจากเกิดกฤษณาแล้ว น้ำจากใบเป็นยารักษาโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ใช้เป็นสีในการทำธูปสีเขียว ใช้กลั่นน้ำมัน ฯลฯ
– กิ่งไม้กฤษณา ใช้ทำดอกไม้จันทน์ ใชบดทำปาร์ติเกิ้ล ไม้อัด ทำธูป
– เนื้อไม้กฤษณา ใช้บดทำไม้อัด ธูป วอลเปเปอร์ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ในการก่อสร้าง ใช้ทำเยื่อกระดาษ
ปัจจุบันไม้หอมกฤษณามีมูลค่าสูงเลยทีเดียวค่ะ ด้วยสรรพคุณของกลิ่นหอมที่มีคุณค่า และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใช้งานได้อีกมากมาย เป็นที่นิยมจากผู้คนเป็นจำนวนมาก เราจะสังเกตได้ว่ามีผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมายที่มีส่วนผสมของไม้หอมกฤษณาให้ได้เลือกหามาใช้อย่างสะดวก และมีการนำมาผลิตเป็น ใบชา แทนใบชาทั่วไปอีกด้วย จึงมีรสชาติ หอมหวาน ไม่ขมเหมือนชาทั่วไป ช่วยให้สะดวกยิ่งขึ้น ประโยชน์ดีๆมากมายเช่นนี้คงไม่พลาดที่จะหามาใช้กันดูบ้างนะคะ เป็นการอนุรักษ์พันธ์ุไม้ดีๆ ของบ้านเรา ให้คงอยู่ตลอดไปด้วยนะค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com