7 วิธีป้องกันกล้ามเนื้ออักเสบ
advertisement
การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลโรค เป็นสิ่งที่หลายๆคนปรารถนา แต่บางทีภัยเงียบอย่างกับอาการกล้ามเนื้ออักเสบก็มาเยือนได้เหมือนกัน ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดได้จากหลายสาเหตุ วันนี้ kaijeaw.com จะพาไปรู้จักอาการกล้ามเนื้ออักเสบและวิธีการป้องกันค่ะ
advertisement
อาการของกล้ามเนื้ออักเสบ
อาการของกล้ามเนื้ออักเสบส่วนใหญ่จะแสดงในลักษณะของกล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ บางครั้งผู้ป่วยอาจสังเกตได้เอง แต่บางครั้งก็อาจรู้ได้จากการตรวจเท่านั้น ซึ่งความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นนี้มักจะค่อย ๆ แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน และส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น คอ หัวไหล่ หลัง ขา และสะโพก
สาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบ
โรคกล้ามเนื้ออักเสบอาจเกิดจากปัจจัยใด ๆ ก็ตามที่นำไปสู่การอักเสบของกล้ามเนื้อ แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
การอักเสบ
ภาวะที่ก่อให้เกิดการอักเสบไม่ว่าบริเวณใดของร่างกายก็สามารถส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ และมักตามมาด้วยการอักเสบอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องรับการรักษาระยะยาว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักพบว่าเป็นการอักเสบที่เกิดจากโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง หรือภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติที่ร่างกายหันมาทำลายตัวเองนั่นเอง เช่น โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหลาย ๆ แห่งในร่างกาย และโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิด IBM (Inclusion Body Myositis) นอกจากนี้โรคเอสแอลอี (SLE) โรคผิวหนังแข็ง และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เองก็สามารถทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบอ่อน ๆ ชนิดไม่รุนแรงได้เช่นกัน [ads]
การติดเชื้อ
การติดเชื้อที่เป็นต้นเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสเอชไอวี การที่กล้ามเนื้ออักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสเหล่านี้บุกเข้าไปยังเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อโดยตรงหรือมีการปล่อยสารที่ไปทำลายใยกล้ามเนื้อให้เสียหาย
advertisement
ยารักษาโรค
ยารักษาโรคหลากหลายชนิดที่สามารถส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเสียหาย เช่น ยาลดไขมันในเลือดสแตติน (Statins) ยาโคลชิซินรักษาโรคเก๊าท์ (Colchicine) ยาไฮดรอกซีคลอโรควินสำหรับรักษาโรคข้อรูมาตอยด์ โรคลูปัส และโรคมาลาเรีย ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบอัลฟาอินเทอร์เฟอรอน หรือยาที่มีส่วนผสมของสารเสพติดอย่างโคเคนและแอลกออลล์ เป็นต้นผลข้างเคียงจากยาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทันทีหลังจากเริ่มรับประทานยาหรือเกิดขึ้นตามมาภายหลังเมื่อรับประทานเป็นเวลานานเป็นเดือน ๆ หรือเป็นปีก็ได้ และบางครั้งก็เป็นผลจากยา 2 ชนิดที่รับประทานเข้าไปแล้วทำปฏิกิริยากัน อย่างไรก็ตามโรคกล้ามเนื้ออักเสบจากการใช้ยานี้มักพบได้น้อย
การได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกายอย่างแข็งขัน
เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปวด บวม และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย โดยอาจเกิดขึ้นนานเป็นชั่วโมงไปหรือเป็นวัน ๆ และทำให้เกิดการอักเสบตามมาในที่สุด แต่ก็มักจะหายไปเมื่อหยุดพักหรือเมื่อร่างกายได้รับการฟื้นฟู
advertisement
การป้องกันอาการกล้ามเนื้ออักเสบ
1. ออกกำลังกายแต่พอดี อย่าหักโหม เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
2.การนวด การนวดหลังจากออกกำลังกายเสร็จเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดอาการปวดเมื่อยและความปวดตึงตามร่างกายได้ดี เพราะการนวดที่ถูกวิธีช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย ไล่ของเสียออกจากล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้าได้อย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะการนวดแบบ Sports Massage จากผู้ที่เชี่ยวชาญ จะทำให้การออกกำลังกายครั้งต่อๆ ไปของเพื่อนๆ ราบรื่น และไม่ปวดเนื้อปวดตัวเลย
3. หากจำเป็นต้องใช้ยาที่อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ ควรใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุดที่แพทย์จะอนุญาตให้ใช้ได้ รวมทั้งควรตรวจเลือดเพื่อดูว่ายาที่ใช้มีผลทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บหรือไม่ [ads]
advertisement
4. Warm up อบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง เช่น การอบอุ่นร่างกายโดยการบริหารหัวใจด้วยการเดิน ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะระบบไหลเวียนโลหิตจะได้ทำหน้าที่ระบายของเสีย แล้วค่อยทำการยืดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว หรือ Dynamic Stretching เพื่อลดการสะสมของกรดแลคติคในกล้ามเนื้อที่จะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มออกกำลังกาย
5. ไม่ฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือดหรือเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนยารักษาโรคที่จำเป็นต้องใช้การฉีด ก่อนฉีดควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้น ๆ ให้สะอาด
6. หยุดพัก ถ้ารู้สึกถึงอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ให้หยุดพัก 2-3 วัน เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูและรักษาตัวจากการบาดเจ็บภายในซะก่อน อย่าคิดจะไปซ้ำมันเด็ดขาดเพราะถ้ากล้ามเนื้อฉีกขาดขึ้นมา มันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ รอจนอาการปวดดีขึ้นค่อยเริ่มต้นออกกำลังกายอีกครั้ง แต่ก็ไม่แนะนำให้หยุดพักนานเพราะความพร้อมของร่างกาย และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อจะลดลง ยากจะกลับมาฟิตปั๋งเหมือนเดิม
advertisement
7. เข้าห้องซาวน่า หรือ สตรีมรูม การเข้าซาวน่า หรือสตรีมรูม หลังจากออกกำลังกายเสร็จเป็นอีกทางที่สามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยและคลายกล้ามเนื้อได้ เพราะความร้อนจากการเข้าไปนั่งในห้องซาวน่าหรือสตรีมรูมจะช่วยให้เลือดไหลเวียนและถ่ายเทของเสียออกออกจากกล้ามเนื้อภายในร่างกายได้เร็วขึ้น กรดแลคติคก็จะถูกถ่ายเทออกจากกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว ความร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดตึง คลายตัว หรือลดการตึงลงได้ หากออกกำลังกายมาอย่างหนัก ก็ควรให้เวลาสำหรับการซาวน่าหรือสตรีมรูมสักประมาณ 10-15 นาที
อาการกล้ามเนื้ออักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเองให้มากขึ้น เข้มงวดกับการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเมื่อเกิดการอักเสบขึ้นแล้วควรงดและหยุดพักร่างกาย แต่ถ้าอาการหนักก็ควรไปพบหมอ อย่าฝืนใช้ร่างกายให้หักโหมเกินไปยิ่งจะทำให้อาการแย่ลงไปอีกนะคะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com