8 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงาน
advertisement
พนักงานเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากๆ ของกิจการ ทุกบริษัทต่างก็ต้องการพนักงานที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุด เพื่อพนักงานจะได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ให้แก่องค์กร ซึ่งพนักงานแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างกันออกไป มีประวัติ ความรู้ ประสบการณ์ ลักษณะอุปนิสัยใจคอที่ต่างกัน ดังนั้นการคัดเลือกพนักงานสักคนเข้ามาทำงานภายในองค์กร จึงต้องอาศัยหลักการที่ดีในการพิจารณาคัดเลือก อย่างไรบ้างนั้น Kaijeaw.com มีมาแนะนำกันค่ะ
1. วุฒิการศึกษา
ควรพิจารณาวุฒิการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับตำแหน่งงาน หลักๆ ก็ควรต้องจบในสาขานั้นๆ แต่หากไม่ ก็ควรจบในสาขาที่ใกล้เคียงที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์กันได้ หรือวุฒิอาจไม่ใกล้เคียงกับงานที่ทำ แต่บุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่มีทักษะ ประสบการณ์ในงานที่จะทำเป็นอย่างดี ก็อาจใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาได้
2. ประสบการณ์
หากคุณได้พนักงานใหม่ที่มีประสบการณ์ในงาน ที่จะรับเข้ามาทำ เขาคนนั้นจะเรียนรู้งานได้เร็วขึ้น หรืออาจจะทำงานได้ทันทีโดยไม่ ต้องเสียเวลาสอนงานให้ใหม่ แต่บางครั้งองค์กรก็ต้องคำนึงด้วยว่า ผู้สมัครงานบางคนแม้อาจจะไม่เคยงานมาก่อน แต่เมื่อมีแววว่าจะเรียนรู้และทำงานนั้นได้ดี และองค์กรให้โอกาส หลายคนทำงานได้ดีกว่าผู้ผ่านประสบการณ์มาก่อน จึงควรพิจารณาให้โอกาสแก่ผู้สมัครประเภทนี้บ้าง [ads]
3. ปัญญา
ความถนัด และผลสัมฤทธิ์ของผู้สมัคร
– เชาวน์ปัญญา เป็นความสามารถโดยรวมทางสติปัญญา
– ความถนัดเป็นความสามารถเฉพาะตัวที่แสดงให้เห็นว่า บุคคลมีแนวโน้มจะทำอะไรได้ดี ถ้ามีโอกาสฝึกฝน
– ผลสัมฤทธิ์ เป็นผลการเรียนรู้ของบุคคล ภายหลังจากที่เขาได้ทำกิจกรรมหรือได้ผ่านกระบานการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ ไปแล้ว
ถ้าองค์การธุรกิจสามารถคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นพนักงาน โดยได้บุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาดี มีความถนัดสอดคล้องกับงาน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการทำกิจกรรมที่ใกล้เคียงกับงานสูง ก็จะมีแนวโน้มว่าพนักงานผู้นั้นน่าจะทำงานได้ดีมากขึ้น
4. ผลการศึกษา
เป็นการวัดระดับความรู้ของผู้ที่มาสมัครในเบื้องต้น ว่ามีมากเพียงไรและความเหมาะสมกับการทำงานในองค์กรหรือไม่ ซึ่งหากจะใช้เกรดเฉลี่ยเป็นตัวเลือกหนึ่งในการตัดสินนั้น ผู้ประกอบการก็ควรจะพิจารณาลงลึกถึงในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับกิจการ มากกว่าจะตัดสินจากเกรดเฉลี่ยรวม เพราะแต่ละคนย่อมจะมีวิชาที่ถนัดแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางคนอาจจะมีความสามารถในรายวิชาที่ทางบริษัทต้องการจริง แต่อาจจะมีรายวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องมาทำให้เกรดเฉลี่ยไม่สูงเท่าที่ควร
advertisement
5. สถาบันการศึกษา
ผู้ประกอบควรมองไปที่เรื่องของสาขาที่แตกต่างกัน เช่น สถาบัน A มีชื่อเสียงในเรื่องของวิศวกรรม แต่สถาบัน B มีชื่อเสียงในเรื่องการบัญชี ในขณะเดียวกัน เป็นต้น ดังนั้นผู้ประกอบการจึงสามารถใช้สถาบันเป็นอีกเกณฑ์หนึ่งในการตัดสิน เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ก่อนจะรับพนักงานเข้ามาทำงานในบริษัท ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบข้อมูลจากทางสถาบันการศึกษาต้นสังกัดของพนักงานเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจว่าจบมาจากสถาบันดังกล่าวจริง
6. ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ
เพราะคนที่มีความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น จะเป็นคนที่มีความจริงใจกับองค์กรและผู้ร่วมงานมาก และจะเป็นผู้ที่มีมาตรฐานในการทำงานสูง ผู้ประกอบการสามารถไว้วางใจให้เขาดูแลในเรื่องที่สำคัญๆ ของธุรกิจแทนในบางโอกาสได้ แม้ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบนี้จะเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยากในช่วงของการสัมภาษณ์งาน แนะนำว่าให้ผู้ประกอบการใช้การสังเกตในช่วงการทดลองงานค่ะ [ads]
7. บุคลิกภาพ
ควรพิจารณาในเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลควบคู่กันไปด้วยเสมอ อย่าใส่ใจกับข้อติฉินนินทาของคนอื่น เพราะคนที่พูดเรื่องเหล่านี้ เขาไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งบุคคลิกภาพตามที่กล่าวมาไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนที่หน้าตาดี แต่ขอให้มีมารยาททั้งการพูดและการปฏิบัติ มีกาละเทศะ สะอาด แต่งตัวดูดี น่าเชื่อถือ เป็นต้น
advertisement
8. มนุษยสัมพันธ์
ผู้ประกอบการควรเข้าใจในหลักการข้อหนึ่ง ที่ว่าการทำงานในบริษัทเป็นลักษณะของการทำงานในรูปแบบทีมเวิร์ค ที่จะต้องอาศัยการพึ่งพาติดต่อระหว่างกันภายในองค์กรอยู่ตลอด ถ้าบริษัทไหนมีพนักงานที่มีมนุษยสัมพันธ์แย่ ระบบการทำงานก็จะพังไปทั้งระบบ การตรวจสอบด้านมนุษยสัมพันธ์นั้น อาจจะอาศัยช่วงการทดลองงาน เพราะการคลุกคลีกันในระยะหนึ่งจะทำให้เห็นลักษณะนิสัยที่แท้จริงมากขึ้น แล้วจึงค่อยนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาในขั้นสุดท้าย ว่าพนักงานที่เข้ามาฝึกงานใหม่ นั้นสามารถปรับตัวเข้าหาพนักงานคนอื่นๆ ได้ดีขนาดไหน
หลักการต่างๆ ที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีพนักงานที่ดี มีคุณภาพเข้าทำงานในองค์การธุรกิจ ช่วยส่งเสริมให้องค์การธุรกิจเจริญก้าวหน้า ดังนั้นก่อนการตัดสินใจ ก็ต้องคิดวิเคราะห์ให้รอบคอบด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com