ไขข้อสงสัย!! การบริโภค “ไข่” ควรบริโภควันละไม่เกินกี่ฟองกันแน่ กระจ่างเลย

advertisement
ไข่ เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่นิยมนำมาประกอบอาหาร นอกจากจะหาง่าย ราคาถูก และยังเชื่อว่าไข่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย แต่จากผลวิจัยพบว่า ไข่มีคลอเรสเตอรอลสูง ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะให้คุณมากกว่าให้โทษ และยังมีความเชื่อว่า ไม่ควรรับประทานไข่เกินวันละ 1 ฟอง ซึ่งเป็นข้อสงสัยของใครหลายๆคนว่าเป็นจริงหรือไม่ ที่เราไม่ควรทานไข่เกินวันละ 1 ฟอง
เฟซบุ๊กเพจ 1412 Cardiology ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า
"ตกลงเรากินไข่ได้วันละกี่ฟองกันแน่?
ขออนุญาตเขียนให้ประชาชนทั่วไปอ่านแบบง่ายๆ หมอเองก็ยังพูดไม่ตรงกัน ข้อมูลในโลกโซเชี่ยลก็ตีกันมั่วไปหมด
เรื่องนี้สร้างความสับสนตลอดสองปีที่ผ่านมาสำหรับประชาชนและหมอเองด้วย ตั้งแต่มีข่าวจากทางฝั่งอเมริกาออกมาในปี 2015 ที่จะออกแนวทางการบริโภคอาหารฉบับปี 2015 – 2020
1. แรกเริ่มเดิมทีย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน อเมริกาตื่นตัวมากเรื่องการรักษา heart attack หรือเส้นเลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน พบว่าส่วนที่ไปอุดตันเส้นเลือดมีส่วนประกอบของไขมันชนิดหนึ่งที่เรียกว่า cholesterol เอ๊ะแล้วมันมาจากไหน มันก็ต้องมาจากในเลือด ดังนั้น cholesterol ในเลือดนั่นแหละคือต้นเหตุ การศึกษาแรกสุดจริงๆที่แสดงให้เห็นหลักฐานชัดเจนว่าระดับ cholesterol ในเลือดสัมพันธ์กับการเกิด heart attack ก็คือการศึกษาที่ชื่อว่า Framingham Heart Study รุ่นที่หนึ่งครับ[ads]
2. การป้องกันการเกิด heart attack เราต้องลดระดับ cholesterol ในเลือดลง ในสมัยนั้นยังไม่มียาลดไขมันดีเท่าตอนนี้นะครับ แพทย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าการจะลดระดับ cholesterol ในเลือดให้น้อยลง คุณก็ต้องกิน cholesterol ให้น้อยลง เป็นความเชื่อที่ปราศจากหลักฐานการศึกษารองรับใดๆทั้งสิ้น ไม่มีเลย ไม่มีจริงๆครับ เราต้องรอถึงราวๆปี 1980 ถึงจะมีการศึกษาที่พอจะบอกได้ว่า การจำกัดการกิน cholesterol ที่อยู่ในอาหารมีความสัมพันธ์กับการลดระดับ cholesterol ในเลือดจริงแต่เป็นความสัมพันธ์ในระดับที่น้อยมากๆ และการศึกษาหลังจากนั้นมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่แสดงความสัมพันธ์ให้เห็นอย่างชัดเจนอีก
3. เวลาผ่านไป เราเริ่มรู้ว่า cholesterol นั้นแท้จริงแล้วประกอบด้วยหลายๆส่วนมารวมกันคือ LDL, HDL และ Triglycerides และเจ้าตัวที่ก่อให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดก็คือ LDL หรือที่เรียกว่าไขมันตัวเลว
4. กระนั้นเองสมาคมแพทย์โรคหัวใจในยุโรปและสหรัฐก็ยังคงแนะนำให้จำกัดการกิน cholesterol ในอาหารให้น้อยลงมาโดยตลอด คนปกติ < 300 mg ต่อวัน คนเป็นโรคหัวใจ < 200 mg ต่อวัน
advertisement

5. จุดเปลี่ยนมาถึงช่วงที่เรามีหลักฐานการศึกษาใหม่ที่มากขึ้นเรื่อยๆว่าการหลีกเลี่ยงและลดการบริโภคกรดไขมันบางชนิดในอาหาร ได้แก่กรดไขมันประเภททรานส์ และ กรดไขมันอิ่มตัว จะช่วยลดระดับไขมันเลวหรือ LDL ในเลือดลงได้ชัดเจนกว่าการจำกัดการกิน cholesterol มากมาย
6. นั่นเป็นที่มาของการเริ่ม "โยกย้ายความสำคัญ" ของการคุม cholesterol ในอาหารมาเป็นการหลีกเลี่ยงกรดไขมันบางชนิดแทน ผมไม่อยากให้ใช้คำว่า ยกเลิก หรือ หลงผิด ถูกหลอก อะไรแบบนี้ เพราะเราก็ยังคงขาดหลักฐานที่ชัดเจนว่าการกิน cholesterol ในปริมาณที่สูงมากๆนั้นจะสามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดได้มากขึ้นหรือไม่โดยเฉพาะในกลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูง
อย่าลืมว่า absence of evidence is not evidence of absence
7. จุดเริ่มของกระแสข่าวในปี 2015 คือคณะกรรมการ Dietary Guidelines Advisory Committee (DGAC) ของสหรัฐ เค้าฟัง AHA ครับ และ AHA ในปีนั้นออก statement มาว่า "we will not bring forward this recommendation because available evidence shows no appreciable relationship between consumption of dietary cholesterol and serum cholesterol" นี่เป็นคำพูดที่ไม่ได้อยู่ในหน้าข่าว ข่าวบางสำนักก็ตีมั่วไปหมด นั่นจึงเป็นที่มาทั้งหมดของการเริ่ม เอาการจำกัด cholesterol ในอาหารออกไปจากคำแนะนำ แต่เค้าไม่ได้บอกนะครับว่า "กิน cholesterol ในอาหารมากเท่าไหร่ก็ได้" เค้าบอกแค่ว่า ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เราจึงเลือก โยกย้ายไปให้ความสำคัญกับข้อมูลที่แข็งแรงและชัดเจนกว่า [ads]
8. มาที่ไข่ ทำไมต้องเกี่ยวกับไข่ เหตุผลเพราะแหล่งของ cholesterol ในอาหารหลักก็คือ ไข่ กับ เนื้อแดง ไข่หนึ่งฟองมี cholesterol ราวๆ 180 – 200 mg นั่นจึงเป็นที่มาของการจำกัดไม่ให้เกิน 1 ฟองต่อวัน มาจากคำแนะนำเดิมที่ว่าวันนึงไม่ควรกิน cholesterol เกิน 200 – 300 mg
9. คำแนะนำปัจจุบันได้ "โยกย้ายความสำคัญ" ของการคุม cholesterol ในอาหารมาเป็นการหลีกเลี่ยงกรดไขมันบางชนิด
10. ตัวเลขที่ว่าสามารถกินได้วันละ 1 ฟองในข่าวต่างๆมายังไง? มาจากการศึกษาช่วงหลังๆที่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่กินไข่น้อยกับกลุ่มที่กินไข่มาก กลุ่มที่กินไข่มากในการศึกษามักจะเป็น 1 ฟองต่อวัน ผลที่ได้ออกมาพบว่า กินมาก หรือ กิน 1 ฟองต่อวัน ไม่ได้ทำให้เกิดโรคมากขึ้น บางการศึกษายังบอกว่าช่วยลดการเกิด stroke หรือหลอดเลือดในสมองอุดตันอีกด้วย แต่ต้องระวังครับ การศึกษาเหล่านั้นก็ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร เป็นการวิเคราะห์แบบรวมๆกันไม่ได้มีการควบคุมปัจจัยต่างๆอย่างแข็งแรง การแปลผลจึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง
advertisement

สรุป กินไข่ได้ไม่เป็นไรครับ มีประโยชน์กับร่างกายด้วย แต่อย่าให้เยอะเกินไป วันละ 1-2 ฟองไม่เกินนี้ก็พอแล้ว แต่เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงกรดไขมันประเภททรานส์และกรดไขมันอิ่มตัวในอาหารเป็นสำคัญ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ควบคุมโรคประจำตัวต่างๆให้ดี จะเป็นการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีที่สุดครับ
ปอลอ. โดนอาจารย์แอดมินเพจอีกท่านขอร้อง(แกมบังคับ)ให้เขียนเรื่องไข่นี่ให้ได้เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน T____T
@อายุรศาสตร์ง่ายนิดเดียว สรุปผลการศึกษาต่างๆเกี่ยวกับไข่ไว้ดีมากๆครับลองไปอ่านกันดู
Thai Heart
1412
เป็นอันกระจ่างกันแล้วนะคะว่า เราสามารถบริโภคไข่ได้ แต่ไม่ควรเกินวันละ 1-2 ฟองนั่นเองค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com