การลงโทษลูก!! ‘ด้วยการไม่ตี’ แต่ได้ผลดี
advertisement
หลายคนมีวิธีการสอนลูกที่แตกต่างกันออกไปแต่แน่นอนว่าทุกคนสอนลูกให้เป็นคนดีอยู่แล้วและคุณพ่อคุณแม่เองบางที่ก็ทนไม่ไหวกับอาการดื้อของน้องๆ จนบ้างครั้งต้องลงมือตี เราคิดว่าที่ตีเพราะจะให้เขาจำในการทำผิดนั้นและจะไม่ทำอีก และเมื่อตีแล้วเราก็จะสงสารลูกของเรา วันนี้ไข่เจียวมีวิธีการลงโทษลูกเมื่อลูกทำผิด โดยการไม่ตี แต่ได้ผลดี วิธีอย่างไรนั้นไปดูกันเลยค่ะ
advertisement
การลงโทษลูกโดยการไม่ตี แต่ได้ผลดี
อย่างเช่นเวลาที่เด็กทารกตีหน้าแม่ ทำให้เจ็บ เด็กจะถูกวางลงที่พื้นทันที เป็นการลงโทษด้วยการถูกแยกจากแม่ พ่อแม่ที่ใช้วิธีนี้เมื่อเกิดพฤติกรรมคุกคาม จะช่วยให้ทารกควบคุมตัวเองได้ ที่จริงแล้วเด็กทำพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อเรียกร้องความสนใจ ดังนั้นหากพ่อแม่ตอบสนองโดยการไม่สนใจลูกทันทีที่เขาทำสิ่งไม่ดี เป็นเวลา 2-3 นาที จะช่วยให้เขาเรียนรู้ว่าพฤติกรรมนี้ไม่ควรทำอีก[ads]
อีกวิธีหนึ่งของการลงโทษโดยไม่ตี ที่ใช้ได้ผลสำหรับเด็กวัย 2-3 ขวบ คือ time-out การแยกเข้าคอกหรือมุมเพื่อสงบสติอารมณ์ เช่น เด็กพยายามจะเล่นปลั๊กไฟ และไม่นำพาต่อคำห้าม เมื่อพยายามเบี่ยงเบนให้เล่นของเล่นอื่นแล้ว ก็ไม่สนใจ จะพุ่งไปที่ปลั๊กไปตลอดเวลา คล้ายกับจะเล่นเกมส์กันว่าใครจะไปถึงปลั๊กไฟก่อนกัน พ่อแม่สามารถหยุดเขาโดยเอาไปไว้ในคอก แล้วพูดด้วยเสียงธรรมดาว่า “time out” ให้เขาอยู่ในคอกนานประมาณ 2-3 นาที เด็กจะร้องไห้แน่นอน แต่วิธีนี้เป็นการสอนว่า คำห้ามมีความหมายอย่างนั้นจริงๆ
พ่อแม่อาจเลือกบริเวณในการทำ time out เป็นส่วนที่แยกจากบริเวณที่มีการทำกิจกรรม ไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลาง แต่เป็นมุมห้องที่คุณยังสามารถเห็นว่าลูกกำลังทำอะไร ลูกต้องนั่งบนเก้าอี้จนกว่าคุณจะบอกว่าหมดเวลาแล้ว (เวลา time out คือ 1 นาทีต่ออายุ 1 ขวบ ถ้าเวลานานเกินไป เด็กเล็กๆจะลืมว่า ทำไมถึงถูก time out) ถ้าลูกลุกก่อนถึงเวลา จะต้องเริ่มต้นใหม่
พ่อแม่บางคนใช้วิธีให้ลูกเข้าไปอยู่ในห้องของเขา (โดยห้องนอนต้องไม่มีโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์) แล้วบอกว่าเขาจะออกมาได้เมื่อลูกพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับพ่อแม่ ซึ่งพบว่าได้ผลดี เพราะเป็นการสอนให้เด็กรู้ว่าการได้อยู่ร่วมกลุ่มกับคนอื่นๆเป็นอะไรที่วิเศษ แต่หากรู้สึกโกรธหรือหัวเสีย การได้อยู่ในห้องคนเดียวเพื่อสงบสติอารมณ์ นั่งคิดทบทวนการกระทำของตัวเอง ก็เป็นวิธีการที่ดีกว่า การอาละวาดใส่ผู้อื่น แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจทำให้ห้องนอนเป็นห้องที่เด็กไม่ชอบ เพราะเป็นเหมือนที่กักขัง
การลงโทษจะได้ผลดีหากทำทันทีหลังทำผิด เช่น หากลูกไม่เก็บของเล่นหลังจากเล่นเสร็จ โดยที่บอกแล้ว ยังไม่ทำ ให้พ่อแม่เก็บของเล่นไปไว้ในที่ๆ เขาหยิบเองไม่ได้ เพื่อไม่ให้เล่นนาน 2-3 วัน เขาจะได้ไม่กล้าทำอีก หากลูกวัยรุ่นไม่นำเสื้อผ้าที่ใช้แล้วใส่ไว้ในที่เตรียมซัก เขาจะไม่มีเสื้อสะอาดใส่ไปโรงเรียน หรือ หากกลับบ้านดึกโดยไม่โทรบอกก่อน จะไม่ได้อนุญาตให้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนอีก จนกว่าเขาจะแสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น
การลงโทษที่ได้ผล มีหลักการว่าเด็กที่ถูกทำโทษ ต้องได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น ถือเป็นบทเรียนสำคัญของชีวิตว่า ทุกสิ่งที่ได้กระทำ ย่อมมีผลตามมาเสมอ
ปล.1 คนที่เคยถูกทำโทษด้วยการตี ก็ไม่ได้แปลว่าจะกลายเป็นคนมีปัญหา หรือ กลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จเพราะถูกตีมาก่อน แต่เพราะคนๆนั้นเป็นคนรักดี ถึงจะถูกทำโทษโดยวิธีใดก็ตาม ก็ไม่ได้สร้างรอยแผลในจิตใจจนกลายเป็นคนมีปมด้อย แต่ในทางกลับกัน อาจมีเด็กบางคนที่ถูกตีอย่างรุนแรง เพราะความโมโห หรือ เป็นการระบายอารมณ์ ของผู้เลี้ยงดู หรือ ครู เมื่อเด็กคนนั้นโตขึ้นก็มา ก็อาจมีปัญหาได้ค่ะ จึงควรศึกษาวิธีทำโทษเมื่อเด็กทำผิด หรือ เวลาลูกดื้อ โดยวิธีการอื่นๆที่ไม่ใช่การตีเอาไว้ด้วยค่ะ
ปล.2 ป้าหมอตอนเป็นเด็กก็เคยถูกตีเวลาซนค่ะ แต่รู้สึกว่าที่เป็นผู้เป็นคนมาได้ ไม่ใช่เพราะกลัวไม้เรียวแม่ แต่เพราะความอยากทำให้พ่อแม่ภูมิใจ อยากได้รับคำชมค่ะ
advertisement
Cr.รูปจากคุณแม่น้องโฮม ถูก time out เพราะกัดหลังหม่ามี้ด้วยความคึกคะนอง "ไทม์เอ้าท์ครั้งแรกเค้าจะวิ่งกลับมาให้กอดค่ะ เพราะไม่เข้าใจว่า อะไรคือไทม์เอ้าท์ แต่เราจะจับกลับไป และ บอกว่าให้อยู่ตรงนั้นก่อน อยู่เฉยๆ ถูกลงโทษ เคยโดนหลายครั้งแล้ว ตอนนี้เข้าใจแล้ว พอทำผิด บอกว่าไทม์เอ้าท์ จะเริ่มร้องไห้ ปะป๊าอุ้มไปนั่งก้อนั่งร้องไห้อยู่ที่เก้าอี้ จนกว่าจะได้เวลาปล่อยตัว ก้อจะรีบวิ่งกลับมาซบ แป๊บเดียวยิ้มได้แล้ว"[ads]
ส่วนมากคุณพ่อคุณแม่เองก็คงจะใช้วิธีการตี ลงโทษลูก ยังไงแล้วก็ลองทำตามวิธีนี้ดูนะคะ เอาไว้เป็นแนวทางให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ด้วย และขอขอบคุณคุณหมอด้วยนะคะ ที่มาแบ่งบันสาระดีๆแบบนี้
เรียบเรียงโดย: kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจาก: สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ