การะเกด..บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
advertisement
การะเกดเป็นพรรณไม้พื้นบ้านชนิดหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จัก คุ้นเคย และนิยมในคนไทยมาตั้งแต่สมัยอดีตแล้ว จะเห็นได้จากวรรณคดี ไทยแทบทุกเรื่องมีการพูดถึงต้นการเกด ซึ่งเราจะพบต้นการะเกดนี้ได้ในพื้นที่ที่ชื้นแฉะหรือริมน้ำ ดินทรายชายทะเล ริมลำธาร ลำห้วยต่างๆ และเขตร้อนชื้นของทวีปเอเชีย ด้วยลักษณะของต้นการะเกดเป็นไม้ที่มีรูปทรงเฉพาะตัวที่สวยงามแปลกตา ดอกมีกลิ่นหอม ปลูกเลี้ยงได้ง่าย อายุยืนยาว จึงเป็นที่นิยมปลูก อีกทั้งผลก็กินได้คล้ายผลสัปปะรด ส่วนใบใช้ในงานจักรสานได้ และยังมีสารพคุณเป็นยาสมุนไพรที่น่าสนใจอีกด้วยนะคะ
[ads]
สมุนไพรการะเกด มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ : การะเกด การะเกดด่าง ลำเจียกหนู (กรุงเทพมหานคร), เตยด่าง เตยหอม (ภาคกลาง) เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus tectorius Blume
ชื่อสามัญ : Screw Pine
วงศ์ : PANDANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของการะเกด
ลำต้น : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 3-7 ม. ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาว และใหญ่
ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ คือค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาวประมาณไม่เกิน 1 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล
ดอก : ดอกเป็นช่อตั้งออกตามกลางยอด กาบหุ้มดอกสีเหลืองนวล หุ้มเกสร อยู่ภายในอย่างมิดชิด กลิ่นหอมเย็น
ผล : เบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม รูปร่างคล้ายผลสับปะรด ห้อยลงมาข้างต้น เมื่อแก่จัดสุกหอม โคนสีเหลือง ผลมีผิวสีแดง ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง มีโพรงอากาศจำนวนมาก กินได้ รสคล้ายผลสับปะรด
สรรพคุณทางสมุนไพรของการะเกด
ดอก
– ใช้ปรุงยาหอม รับประทาน มีรสขมเล็กน้อย ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ
– แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ
– อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
ยอด
– ใช้ต้มกับน้ำให้สตรีดื่มตอนหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ
[yengo]
ประโยชน์ของการะเกด
– ผลแก่จัด นำมารับประทานได้ จะมีรสชาติคล้ายสับปะรด
– ดอกมีกลิ่นหอมผู้หญิงในสมันก่อนนิยมนำมาใส่หีบ เพื่ออบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
– ใช้ดอกไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหรือมันหมู แล้วปรุงเป็นน้ำมันใส่ผมได้
– ใบการะเกดสามารถนำมาใช้ในงานจักสานทำเป็นเครื่องมือใช้สอยต่างๆ อย่างเช่น กระสอบ เสื่อ หมวก กระเป๋า ฯลฯ
ปัจจุบันมีการะเกดอีกชนิดหนึ่งได้รับการ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ คือการะเกดด่างเป็นการะเกดที่มีใบสีเหลืองเป็นทางยาว ดูงดงามมากกว่าการะเกดที่มีใบสีเขียว การะเกดด่างเป็นพันธุ์ไม้จากต่างประเทศ ที่มีผู้นำเข้ามาปลูกไม่นานนัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pandanus variegatus Miq. มีใบสวยงาม แต่ไม่มีดอกหอมเหมือน การะเกด (ไทย)
“การะเกด” เรียกได้ว่าเป็นพรรณไม้ที่มีความสำคัญอยู่คู่คนไทยมาแต่ช้านานเลยทีเดียวนะคะ นอกจากจะเป็นต้นไม้ที่มีความสวยงาม ผลก็กินได้ และมีประโยชน์ใช้งานต่างๆ ได้มากมาย แถมยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรอีกด้วย
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com