กาหลง..แก้เลือดออกตามไรฟัน ดีต่อสตรี!!

advertisement
“กาหลง” เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอย่างกว้างขวาง ในป่าเมืองร้อนของหลายประเทศตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น รวมถึงประเทศไทยด้วย สามารถพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณทั่วไป ชาวบ้านโดยเฉพาะทางภาคเหนือจะนำดอกและยอดอ่อนมากิน และโดยทั่วไปก็สามารถปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือน หรือปลูกตามที่สาธารณะได้ ปลูกต้นเดียวหรือใช้ปลูกเป็นกลุ่มๆ ก็ดี กาหลงนั้นมีดอกสีขาวสวยงามและมีกลิ่นหอม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี รูปร่างของใบและทรงพุ่มสวยงามและสามารถจัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล และพืชชนิดนี้ก็มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรดีๆ ที่วันนี้ Kaijeaw.com มีมาบอกเล่ากันค่ะ
advertisement

กาหลงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia acuminata Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Leguminosae (หรือบางแห่งว่า วงศ์ CaeSalpiniaceae) ซึ่งเป็นจำพวกถั่ว เช่นเดียวกับคูน จามจุรี ทองกวาว เป็นต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), โยธิกา (นครศรีธรรมราช), กาแจ๊กูโด (มลายู-นราธิวาส), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง) เป็นต้น [ads]
advertisement

ลักษณะของสมุนไพรกาหลง เป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่เกือบกลม โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าเข้าตามเส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้มองดูคล้ายเป็นใบแฝด ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนละเอียดปกคลุม ขนาดกว้าง 9-13 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอด ของลำต้นและกิ่ง หรือบริเวณโคนใบ ตามข้อต้น มีช่อละ 5-8 ดอก จะทยอยกันบานครั้งละ 2-3 ดอก ดอกมีกลีบ สีขาว 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกันเกสรตัวผู้มีสีขาว 5 อัน เกสรตัวเมียสีเขียวอ่อนอยู่กลางดอก ขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรตัวผู้ ขนาดดอกกว้างราว 5 เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อนๆ สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ฝักลักษณะแบน กว้าง 1.5-2 เซนติเมตรยาวราว 10 เซนติเมตร เมล็ดอยู่เรียงกันตามยาวเป็นช่องๆ มีฝักละประมาณ 10 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กและมีลักษณะแบนหรือเป็นรูปขอบขนาน โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม
advertisement

สรรพคุณทางสมุนไพรของกาหลง
ดอก – มีรสสุขุม มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้เสมหะพิการ แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด
ใบ – ใช้รักษาแผลในจมูก
ต้น – มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคสตรี แก้ลักปิดลักเปิด
ต้นและราก – มีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะ
ราก – ใช้ต้มเป็นยาดื่มช่วยแก้อาการไอ เป็นยาแก้บิด [yengo]
ประโยชน์ของต้นกาหลง
– ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
– ดอกสามารถใช้รับประทานได้ และชาวเขาจะนิยมใช้ยอดอ่อนมารับประทาน
– ความเชื่อของชาวจีนจะนิยมปลูกต้นกาหลงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน เชื่อกันว่าต้นกาหลงเป็นไม้ที่ให้คุณแก่เจ้าของบ้าน
การปลูกและดูแลรักษาต้นกาหลง
ต้นกาหลง ขยายพันธุ์ด้วยการตอนและเพาะเมล็ด หากปลูกจากเมล็ดใช้ เวลาราว 2-4 ปี ก็จะออกดอกติดฝักได้แล้ว ปกติกาหลงผลัดใบในฤดูหนาว (พฤศจิกายน-ธันวาคม) เริ่มแตกใบอ่อนในฤดูร้อน (เมษายน-พฤษภาคม) และเริ่มออกดอกช่วงฤดูฝนกาหลงปลูกง่าย ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ไม่ต้องการปุ๋ยมาก เพราะเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถจับปุ๋ยจากอากาศได้เอง ชอบแดดจัด
เทคนิคการจัดสวน ต้นกาหลง
กาหลงจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงเล็ก ด้วยทรงพุ่มที่กลม เตี้ยอยู่แล้ว เราสามารถนำมาปลูกให้เป็นไม้รองบังไม้ประธานที่ไม่ต้องการให้โคนต้นโล่งเกินไปได้ หรือถ้าจะปลูกหลายๆ ต้น ก็ควรจะเว้นระยะห่างไว้ที่ 2-3เมตร แต่ถ้าไม่มีพื้นที่มากพอก็ไม่ควรน้อยกว่า 1เมตร นักจัดสวนบางคนก็จะเลือกกาหลงไปปลูกรวมกลุ่มกับต้นชงโค หรือโยทากา เพราะว่ามีลักษณะต้นคล้ายกัน
ข้อควรระวังในการใช้
ระวังการคันระคายเคืองจาก ขนอ่อน ๆ ขึ้นอยู่ประปรายบริเวณใบและกิ่งของต้น หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้
“กาหลง” พืชพรรณไม้ที่มีรูปร่างใบและทรงพุ่มที่งดงาม สามารถจัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ออกดอกได้ยาวนาน และปลูกดูแลรักษาได้ง่าย คู่ควรแก่การนำมาปลูกในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามที่สาธารณะต่างๆ และมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่มีคุณค่า ใครที่ชื่นชอบก็ลองหามาปลูกประดับสวนก็จะเป็นการดีมากๆ เลยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com