กำลังพญาเสือโคร่ง..ไม้เป็นยาดี แก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด บำบัดโรคสตรี!!

advertisement
กำลังพญาเสือโคร่ง ลักษณะของต้นมีความสูงยาวชะลูดค่ะ บางต้นสูงได้ถึง 40 เมตรเลยทีเดียว พบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเรา มีประโยชน์ในเรื่องเปลือกที่มีกลิ่นหอม สามารถนำไปใช้ทำเป็นการบูร และใช้ทำเป็นกระดาษได้ และเนื้อไม้ก็สามารถนำไปใช้ทำเป็นกระดานพื้น ทำเครื่องเรือน ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ได้ และในวันนี้ Kaijeaw.com มีประโยชน์ทางด้านสมุนไพรของกำลังพญาเสือโคร่งที่เรียกได้ว่า ..ไม้เป็นยาดี แก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด บำบัดโรคสตรี!! มาบอกกัน ติดตามได้เลยค่ะ
กำลังสมุนไพรพญาเสือโคร่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betula alnoides Buch.-Ham.ex G.Don มีชื่อสามัญว่า Birch จัดอยู่ในวงศ์ Betulaceae มีชื่อเรียกอื่นๆ ตามท้องถิ่นว่ากำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่), พญาเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง (คนเมือง), ลำแค ลำแคร่ ลำคิแย (ลั้วะ), เส่กวอเว (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
advertisement

http://www.konrakmeed.com/Files-Upload/oldphoto/20130213004333IMG_9232_resize.JPG
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสมุนไพรกำลังพญาเสือโคร่ง เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 20-35 เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกไม้(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาล เทา หรือ เกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ 3-8 มม.
[ads]
advertisement

http://frynn.com/wp-content/uploads/2013/09/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87.jpg
ใบ : เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ
advertisement

http://www.samunpri.com/wp-content/uploads/2013/06/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%874.jpg
ดอก : ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ดอกย่อยไม่มีก้าน กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี 3 หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ผลแก่ร่วงง่าย แบน มีปีก 2 ข้างปีกบางและโปร่งแสง
แหล่งที่พบได้ มักขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การออกดอกอยู่ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์
ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรคือส่วนเปลือกต้นไม้
advertisement

http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/Picture/jackth/P5080993.JPG
สรรพคุณทางสมุนไพรของกำลังพญาเสือโคร่ง
เปลือกต้น
– มีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง กลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งจนเปลือกแห้ง กลิ่น จะช่วยทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง
– เปลือกต้นใช้ทำเป็นยาดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ลืม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม
– ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
– ช่วยทำให้เจริญอาหาร
– ช่วยบำรุงเลือด บำรุงธาตุในร่างกาย
– ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการใช้เปลือกต้น นำมาถากออกเป็นแผ่นแล้วนำมาเผาไฟ แล้วนำผงที่ได้มาทาบริเวณที่ปวดฟันหรือฟันผุ
– ช่วยขับลมในลำไส้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร
– ช่วยชำระล้างไตให้สะอาดมากขึ้น
– ช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของสตรีไม่สมบูรณ์ หรือมดลูกชอกช้ำได้ หรืออักเสบ อันเนื่องมาจากการถูกกระทบกระเทือน การแท้งบุตร หรือมดลูกไม่แข็งแรงให้หายเร็วเป็นปกติ
– เปลือกต้นมีกลิ่นหอม ใช้ดมแก้อาการหน้ามืดตาลายได้
[yengo]
advertisement

www.flickr.com
วิธีและปริมาณที่ใช้ยาสมุนไพร
1) นำเปลือกต้นมาใช้ โดยถากออกจากลำต้น พอประมาณตามความต้องการ ใส่ภาชนะหรือกาน้ำ ต้มน้ำให้เดือด เคี่ยวไฟอ่อนๆ น้ำสมุนไพรจะเป็นสีแดง (ถ้าปรุงรสให้หอมหวาน ใช้ชะเอมพอสมควรกับน้ำตาลกรวดผสมลงไป) ให้รับประทานขณะน้ำสมุนไพรอุ่นๆ จะมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2) ถ้าใช้ดองกับสุรา สีจะแดงเข้ม (ถ้าจะปรุงรสและกลิ่นให้เติมน้ำผึ้ง-โสมตังกุย) สรรพคุณจะแรงขึ้นทวีคูณ ต้ม-ดองสุราได้ถึง3-4 ครั้ง จนกว่าจะหมดสีของสมุนไพร
โดยปกติทั่วไป กำลังพญาเสือโคร่ง จะไม่นิยมปลูกประดับประจำบ้านเรือนกันค่ะ จะมีบ้างตามไร่ตามสวน และพบได้ทั่วไปในป่า ของภาคเหนือและภาคอีสานของไทย แต่หมอยาสมุนไพร หมอยาพื้นบ้านจะรู้จักกันดีเลยทีเดียวค่ะ เพราะเป็นพืชอีกชนิดที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมาก
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com