กินพริก..ต้านโรค!!
advertisement
"พริก" พืช ผัก หรือสมุนไพรที่ให้รสชาติความเผ็ดร้อน ในบ้านเรารู้จักกันดี ด้วยอาหารไทยนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติหลากหลาย และเรียกได้ว่าจัดจ้าน จะขาดความเผ็ดร้อนจากพริกไปเสียไม่ได้ โดยเฉพาะอาหารอย่างส้มตำ ต้มยำ ยำ น้ำจิ้มต่างๆ แล้วล่ะก็ หากขาดความเผ็ดร้อนของพริกไป ก็จะทำให้อาหารจานเด็ดนั้นกลับกร่อยไปเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามหลายคนชอบกินอาหารรสเผ็ดมาก บางคนก็ชอบเผ็ดน้อย แล้วอาหารเผ็ดๆ ที่ได้จากพริกนั้นมีประโยชน์อย่างไร ตาม Kaijeaw.com มาดูค่ะ
advertisement
ความเผ็ดจากพริกนั้นไม่ถือว่าเป็นรสชาติ จะถือว่าเป็นอาการเผ็ดร้อน ซึ่งมาจากสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติอยู่ในพริก นั่นก็คือสาร “เคปไซซิน” โดยสารตัวนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้รู้สึกแสบร้อน นอกจากการทานเข้าไปแล้ว หากนำมาทาตามผิวหนัง กระเด็นเข้าตา เราก็จะรู้สึกแสบร้อนได้ทันที
นอกจากความเผ็ดของพริกจะมาจากสารที่ชื่อ "แคป ไซซิน" แล้ว พริกยังมีสารสำคัญอีกหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ธาตุเหล็ก และแคลเซียม [ads]
ประโยชน์ที่ได้จากการรับประทานพริก
1. อุดมด้วยวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา
2. สารแคปไซซิน มีสรรพคุณขยายช่องจมูก ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง และขับเสมหะ โดยทำให้เสมหะที่ข้นเหนียวจือจางลง ร่างกายสามารถขับออกได้ง่ายขึ้น จะสังเกตุได้ว่าเมื่อเรากินพริกเผ็ดๆ น้ำตา น้ำมูกจะใหลออกมา
3. พริกมีวิตามินซีสูง โดยถ้าหากอยากได้รับวิตามินซีจากพริก ต้องพริกสดๆ เพราะวิตามินซีจะสลายตัวเมื่อถูกความร้อน
4. แคปไซซินช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลางให้หลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข ทำให้เราอารมณ์ดีมากขึ้นเมื่อกินพริก
5. ดีสำหรับผู้ป่วยหอบหืดหรือภูมแพ้ พริกจะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างมาก เพราะความเผ็ดทำให้หลอดลมขยายตัวได้ดีขึ้น ไม่หดเกร็ง
6. แคปไซซินที่อยู่ในพริก ช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี แต่ส่งเสริมสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี ซึ่งมีผลวิจัยสนับสนุนได้ว่า พริก สามารถช่วยลด คอเลสเตอรอล ได้อีกทางหนึ่งด้วย
7. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง
8. กินพริกเป็นประจำจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดความดัน และลดการอุดตันของหลอดเลือด
9. ช่วยควบคุมน้ำหนัก พริกจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยในการเผาผลาญได้ดีขึ้น
10. บรรเทาอาการปวดได้ โดยเฉพาะอาการปวดฟัน
advertisement
การกินเผ็ด เป็นสาเหตุของโรคกระเพราะอาหาร ?
มีความเชื่อที่ว่าการกินพริกมากๆ หรือ รับประทานอาหารรสเผ็ดจัด จะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารนั้น ไม่ใช่ความจริงเสียทีเดียว เพราะสารในพริกมีฤทธิ์เป็นกรด แต่พริกไม่ได้ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร อาจมาจากการกินอาหารมันๆ มากกว่า เพราะต้องใช้เวลาสำหรับย่อยถึง 2-3 ชม. ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร แต่การกินอาหารเผ็ดจัดๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการเหมือนคนเป็นโรคกระเพาะอาหารได้ เพราะสารในพริกซึ่งเป็นกรด จะไปทำให้หลอดอาหารหดเกร็ง ทำให้รู้สึกจุกแน่นลิ้นปี่
การได้รับสาร “เคปไซซิน” มากๆ และผ่านเข้าไปยังกระเพาะ ลำไส้ ทำให้บางคนเกิดอาการแสบร้อน ร้อนท้อง และเกิดความปั่นป่วนในระบบย่อยได้บ้าง ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันตราย ยกเว้น คนที่เป็นแผลในระบบย่อยอาหาร สาเหตุที่รับประทานพริกแล้ว ยังรู้สึกเผ็ดในกระเพาะรวมถึงขับถ่ายออกมา บางครั้งยังมีอาการแสบร้อน เนื่องจากสาร “เคปไซซิน” ที่มักไม่ยอมละลายในน้ำ และไม่ยอมสูญหาย จากการไปรวมกับสิ่งอื่น แต่อาจจะมีความรู้สึกแสบร้อนลดลงได้บ้าง เมื่อมีการเจือจาง
คนที่กินเผ็ดแล้วดื่มน้ำเพื่อช่วยลดความเผ็ด จึงเป็นการเข้าใจที่ผิด แต่มีวิธีการง่ายๆ นั่นคือ น้ำลายของเรานี่เอง ที่จะสามารถช่วยชำระล้าง สารเคปไซซินได้ ให้ลดลงในช่องปาก เพื่อหายเผ็ดลงได้ หรือถ้าต้องการบรรเทาอาการแบบกะทันหัน ก็สามารถรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำมัน หรือขนมหวาน รวมถึงไอศกรีม สิ่งเหล่านี้จะช่วยละลายสารเคปไซซินได้ เพราะสารนี้นอกจากน้ำลายแล้ว ความมันทุกประเภท สามารถช่วยชำระล้างให้ความเผ็ดลดลงได้
กรณีที่กินอาหารเผ็ดมากๆ สามารถแก้ได้โดย น้ำลายของเรานี่เอง ที่จะสามารถช่วยชำระล้าง สารเคปไซซินได้ ให้ลดลงในช่องปาก เพื่อหายเผ็ดลงได้ และการเลือกกินอาหารที่มันๆ เพราะสารแคปไซซิน จะละลายได้ดีในไขมัน แต่ละลายในน้ำได้เพียงเล็กน้อย หลายคนเลือกที่จะดื่มน้ำเย็น ซึ่งจะไม่ช่วยทำให้หายเผ็ดได้ ควรแก้เผ็ดโดยดื่มนม หรือ ไอศกรีม โดยจะเห็นได้ว่าอาหารไทยมักจะใช้ความมันจากกะทิมาดับเผ็ด เข่นแกงเขียวหวาน หรือแกงต่างๆ ที่ใส่กะทิ
โทษของพริก คือ ไม่เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาหารรสเผ็ดจัด จะยิ่งทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหาร ในกรณีระบบการย่อยอาหารผิดปกติ ท้องเสียบ่อย หรือท้องผูกบ่อย ก็อาจจะส่งผลเสียได้ ส่วนเด็กและคนแก่ ที่สำลักง่าย ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะถ้าสำลักเข้าหลอดลม กรดอาจจะไปกัดหลอดลม ทำให้เกิดปัญหาหลอดลมหดเกร็ง ตีบ บวม หายใจไม่ออกได้
“พริก” เป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก แต่ก็มีโทษเช่นกัน ดังนั้นจึงควรกินแต่พอดี และหากมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยควรหลีกเลี่ยงการกินเผ็ด และควรกินพริกสดๆ จะทำให้ได้รับประโยชน์มากกว่า ซึ่งก็ควรล้างให้สะอาดก่อนกิน และหากเป็นพริกป่นก็ควรระวังเพราะอาจมีสารอะฟลาทอกซิน เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับได้
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com