ขี้เหล็ก..ช่วยให้หลับสบาย แก้ท้องผูก!!
advertisement
ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Cassod Tree / Thai Copper Pod ชื่ออื่นๆ: ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี); ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง สุราษฎ์ธานี); ขี้เหล็กหลวง (ภาคกลาง); ผักจี้ลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); แมะขี้เหละพะโดะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ยะหา (มลายู-ปัตตานี)
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขี้เหล็กเป็นไม้ต้นขนาดกลาง กิ่งอ่อนมีลายตามยาว ขนละเอียดนุ่ม
ใบ: เป็นใบประกอบยอดคู่ ใบย่อยมี 7-10 คู่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายกลม หรือเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย และมีติ่งแหลมโคนกลม ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างค่อนข้างมีขนนุ่ม แกนกลางช่อใบยาว 10-25 ซม. ก้านใบยาว 2-3 ซม. หูใบขนาดเล็ก เรียวแหลม หลุดร่วงง่าย
ดอก: สีเหลืองออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด ก้านช่อแข็งยาว 5-7 ซม. ใบประดับ รูปไข่กลับ ปลายแหลมยาว 5 มม. ก้านดอกย่อย ยาว 2-3 ซม.มีขน กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ กลม หนา ขนาดไม่เท่ากัน สองกลีบนอก ยาว 5 มม. สามกลีบในยาวถึง 9 มม. มีขนด้านนอก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กว้างยาว 1.5-2 ซม. มีก้านกลีบสั้น
เกสร: เกสรตัวผู้มี 5 กลีบ รูปไข่กว้าง มีขนนุ่ม ท่อเกสรเมียเกลี้ยง
ผล: เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ขนเกลี้ยงเป็นร่อง
เมล็ด: รูปไข่ มี 20-30 เมล็ด กว้าง 5-6 มม. ยาว 10-15 มม. แบน สีน้ำตาลอ่อน
[ads]
advertisement
ส่วนที่ใช้ทำยา: แก่น หรือทั้ง 5 (ส่วนของราก ต้น ผล ใบ ดอก)
สรรพคุณทางยา
ดอก: ใช้รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย รักษาโรคหืด รักษาโรคโลหิตพิการ รักษารังแค ขับพยาธิ
ใบ: ใช้รักษาโรคบิด รักษาโรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาอาการนอนไม่หลับ สำหรับเป็นยานอนหลับให้นำใบมาดองเหล้าดื่มก่อนนอน
ใบอ่อน: ครั้งละ 2-3 กำมือต้มกับน้ำ 1 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ให้ดื่มหลังอาหารเช้าครั้งเดียว
ใบแก่ :ใช้ทำปุ๋ยหมัก
ลำต้นและกิ่ง:ใช้เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว
เปลือกต้น: ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัยใช้เป็นยาระบาย
กระพี้: มีรสขมเฝื่อนใช้แก้ร้อนกระสับกระส่าย บำรุงโลหิต คุมกำเนิด
ฝัก: ใช้แก้พิษไข้ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง โลหิตขึ้นเบื้องบน
เปลือกฝัก: ใช้แก้เส้นเอ็นพิการ
ราก: ใช้รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บชา แก้ฟกช้ำ แก้ไข้ บำรุงธาตุ
ทั้งต้น: ใช้แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี
[yengo]
advertisement
สรรพคุณและวิธีใช้
แก้อาการท้องผูก: ใช้แก่นประมาณ 1 กอบ (ประมาณ 50 กรัม) หรือทั้ง 5 ประมาณ 4-5 กำมือ (20-25 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหารเช้าหรือก่อนนอน
เป็นยาระบาย: ใช่ใบอ่อนและแก่นเนื่องจาก มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน
แก้พิษไข้: ให้นำใบ ดอก ผล ต้นและราก ของขี้เหล็กทั้ง 5 ส่วนนี้มาต้มรวมกัน แล้วนำเฉพาะน้ำมาดื่มก็จะช่วยถ่ายพิษกระษัยและพิษไข้ได้ดี
แก้อาการเบื่ออาหาร: ใช้ใบยอดอ่อนและดอก ต้มในน้ำเดือดโดยเคี่ยวนาน 5-10 นาที แล้วเทน้ำทิ้งและต้มใหม่ จึงนำเนื้อมาจิ้มน้ำพริกหรือทำเป็นแกงรับประทาน
แก้อาการนอนไม่หลับ: ให้ใช้ใบแห้ง 30 กรัม หรือใบสด 50 กรัม ต้มกับน้ำให้เดือด รินดื่มขณะร้อนก่อนนอน
ช่วยให้เจริญอาหาร: หรือใช้ใบอ่อนดองเหล้าพอท่วม แช่ไว้ประมาณ 7 วัน โดยหมั่นคนบ่อย ๆ ทุกวัน เพื่อให้น้ำยาสม่ำเสมอ แล้วกรองเอากากออกดื่ม ครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนนอนจะช่วยให้เจริญอาหาร
คุณค่าทางโภชนาการทางอาหาร
ขี้เหล็กสามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายส่วน เช่น ดอกตูม ยอดและใบอ่อน โดยนำมาทำเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงกับเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารเก่าแก่ของคนไทยทุกภาคซึ่งแต่ละภาคก็มีสูตรแตกต่างกันไป ขี้เหล็กให้คุณค่าทางอาหารหลายอย่างคือ ยอดและใบอ่อน 100 กรัม ให้โปรตีน 7.7 กรัม ไขมัน 1.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม ใยอาหาร 5.6 กรัม วิตามินเอ 233 ไมโครกรัม ส่วนดอก 100 กรัมให้ โปรตีน 4.9 กรัม ไขมันต่ำเพียง 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม ใยอาหารมากกว่าใบคือ 9.8 กรัมและวิตามินเอน้อยกว่าใบ คือ 39 ไมโครกรัม
อันตรายของการรับประทานยาขี้เหล็ก
ในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ดนั้น จะทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรือทำให้เกิดโรคภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้
ฉะนั้นการใช้ขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และต้องนำไปต้มให้เดือดเทน้ำทิ้งก่อนสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำไปปรุงอาหาร หรือนำไปทำยา วิธีการ แบบพื้นบ้านที่ต้องต้มน้ำทิ้งนี้เป็นการช่วยฆ่าฤทธิ์หรือทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้นั่นเอง และยังช่วยลดความขมลงด้วย
**เคล็ดลับน่ารู้**
เมื่อนำมาประกอบอาหารถ้าต้องการลดความขมนั้น ให้นำยอด ใบอ่อน และดอกมาต้ม แล้วบีบน้ำออก ทำเช่นนี้ประมาณ 2 ครั้ง จากนั้น ครั้งที่ 3 ให้ผสมเกลือในน้ำที่ใช้ต้มเล็กน้อย เสร็จแล้วใช้ทำอาหารได้
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก/ References:
เต็ม สมิตินันทน์ "ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง)" พิมพ์ที่ หจก. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง กรุงเทพฯ 2523 หน้า 71.
ดรุณ เพ็ชรพลาย และคณะ " สมุนไพรพื้นบ้านฉบับรวม "พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์ กรุงเทพฯ 2541 หน้า 38-39.
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.medplant.mahidol.ac.th
ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.dmsc.moph.go.th
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.thaihealth.or.th