เพจดังไขข้อสงสัย ปุ่มเล็กๆข้างปลั๊กพ่วง มีไว้ทำอะไร
advertisement
ปลั๊กพ่วง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่นอกจากจะมีหน้าที่สำหรับต่อไฟแล้ว ก่อนจะซื้อปลั๊กเราต้องเลือกที่มีมาตรฐานหรือมี มอก. รับรอง เนื่องจากไฟฟ้าต้องมีการจำกัดเรื่องของความปลอดภัยของผู้ใช้ด้วย
advertisement
โดยล่าสุดทางเพจ ปลั๊กไทย by มหาชะนี ได้ออกมาโพสต์แชร์เรื่องราวไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องปลั๊กพ่วงโดยระบุว่า "มีคนถามทุกวันว่าไอปุ่มนี้มันใช้ยังไงมีเพื่ออะไรมันมีบนปลั๊กพ่วง มีแม้กระทั่งทำเรื่องของคืนสินค้า และก็ด่าผมว่า เอาของเสียมาขาย สวิตช์กดไม่ได้ พัง ซึ่งจริง ๆ มันคือเบรกเกอร์ตัดไฟเกิน เมื่อไฟเกินมันจะทำงานครับ"
advertisement
ปัจจุบันปลั๊กพ่วง มอก. ฉบับ 2432-2555 นั้น "ห้ามให้ปลั๊กพ่วงใช้ฟิวส์เป็นตัวตัดไฟ" ผู้ประกอบการจึงใช้เบรกเกอร์หลากหลายแบบ และแบบในรูปคือ Thermal Breaker หรือเบรกเกอร์ตัดไฟด้วยอุณหภูมิ เป็นเบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่ทาง สมอ. ให้การยอมรับว่าสามารถใส่มาในปลั๊กพ่วง มอก. ได้ ซึ่งเมื่อใช้งานไฟเกินจนร้อน เบรกเกอร์จะทำงานตัดวงจรไฟฟ้า ทำให้ปลั๊กไม่สามารถใช้งานได้ ต้องถอดอุปกรณ์ที่ใช้เกินออก ถึงจะกดและใช้งานใหม่ได้ ซึ่งถ้าเป็นปลั๊กในรูปแบบฟิวส์ เราจะต้องไปซื้อฟิวส์ใหม่ ข้อดีคือไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องไปซื้อฟิวส์มาเปลี่ยน ข้อเสียคือตัดวงจรได้ช้ากว่าฟิวส์เล็กน้อย ต้องรอให้กราฟมันไปถึงจุดอุณหภูมิที่ไฟจะตัด
advertisement
ในเวลาปกติทั่วไป ปุ่มนี้จะกดแล้วรู้สึกยวบ ๆ ซึ่งกลไกจะทำงานก็ต่อเมื่อมีการใช้ไฟเกินกว่าสเปกของปลั๊กพ่วง ตัวปุ่มจะแข็งจนกดได้ เปรียบเทียบก็เหมือนกับปุ่มหม้อหุงข้าวดีดครับ [ads]
วิธีซื้อปลั๊กพ่วง ให้ได้มาตรฐาน ไม่ต้องกลัวไฟไหม้
advertisement
1. มีสัญลักษณ์ มอก.ปลั๊กพ่วงชัดเจน ปลั๊กพ่วง แม้จะเป็นอุปกรณ์ชิ้นเล็ก แต่การเลือกซื้อทุกครั้งต้องมองหาเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 2432-2555 หรือมอก.ปลั๊กพ่วง ที่ต้องแสดงบนตัวสินค้าหรือกล่องอย่างชัดเจน สังเกตดีๆ ว่าต้องไม่ใช่ มอก.สายไฟ (มอก.11-2531) ซึ่งจะระบุเฉพาะมาตรฐานของสายไฟเท่านั้นไม่รวมส่วนอื่นๆ สำหรับ มอก.ชุดหมายเลข มอก. 2432-2555 นี้จะครอบคลุมชุดสายพ่วง รางปลั๊กพ่วงทั้งชิ้นรวมสายไฟ, เต้ารับ, เต้าเสียบ, สวิตซ์ รวมถึงแรงดันไฟฟ้าด้ว " ปลั๊กพ่วงที่ผ่านมาตรฐาน พลาสติกตัวกล่องต้องกันความร้อนได้ดี ขั้วสัมผัสใช้วัสดุคุณภาพสูง ระยะห่างของสายไฟพอดี การบัดกรีข้างในแน่นหนา ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานทุกจุด มั่นใจว่าได้รับการตรวจสอบทุกชิ้นก่อนถึงมือคุณ "
2. พลาสติกคุณภาพสูงไม่ลามไฟ ปลั๊กพ่วงโดยมากที่วางขายตามท้องตลาดฝาครอบหรือตัวกล่องปลั๊กมักผลิตจากพลาสติกเกรดธรรมดา เมื่อใช้ไฟเกินกำลังหรือเสียบปลั๊กไม่พอดีกับฐานจะทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ พลาสติกจึงละลายและติดไฟลุกลามได้ง่าย วัสดุภายนอกที่เป็นฝาครอบปลั๊กพ่วง จะต้องเป็นวัสดุที่ทนความร้อนได้สูง ไม่ลามไฟ เป็นพลาสติกคุณภาพสูงตามมาตรฐาน UL94 อย่างเช่น พลาสติก ABS, พลาสติกเอวีซี (avc) หรือโพลีคาร์บอเนต ที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการลุกลามของไฟ ไม่ให้ไปสร้างความเสียหายต่อส่วนอื่นๆ
advertisement
3. มี 3 ขาใส่กราวนด์กันไฟดูด หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมเต้าเสียบของปลั๊กพ่วงที่เราใช้มีทั้งรุ่นที่มี 2 รู (Sockets) และ 3 รู บางคนเลือกซื้อปลั๊กที่มีเต้าเสียบ 2 รู เมื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี 3 ขามาใช้จึงหักส่วนที่เกินมาทิ้ง 1 ขา เพื่อให้ใช้เสียบเต้ารับได้พอดี ซึ่งจริงๆ แล้วรางปลั๊ก 2 ขาและแบบขาแบน เป็นสินค้าที่มอก. ห้ามจำหน่าย เนื่องจากปลั๊กแบบ 2 รู ไม่มีกราวด์ มีเพียงสาย Line และ Neutral (L-N) ขาปลั๊กและเต้าเสียบที่ได้มาตรฐานจะต้องเป็นแบบ 3 ขากลมเท่านั้น ขาที่เพิ่มมาจะทำหน้าที่เป็นกราวนด์ มีหน้าที่เชื่อมกระแสไฟฟ้าลงดิน เมื่อมีไฟฟ้ารั่วจะวิ่งลงตามสายกราวด์โดยที่ไม่ผ่านร่างกาย เราจึงไม่ถูกไฟดูด
4. ขั้วสัมผัส L, N ข้างในเป็นทองแดง ส่วนประกอบที่เป็นขั้วสัมผัสภายในปลั๊กพ่วงก็เป็นจุดสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ปลั๊กพ่วงที่ไม่มีคุณภาพจะใช้เหล็กชุบสังกะสี ซึ่งเป็นวัตถุที่นำไฟฟ้าได้ต่ำ ทำให้เกิดความร้อนสะสมมาก ถ้ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่เกินกำหนด จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ในแบรนด์คุณภาพกลางๆ จะเลือกใช้ทองเหลือง (ส่วนผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี) ซึ่งคุณภาพพอใช้ได้ แต่วัสดุที่ใช้ได้ดีที่สุดและราคาแพงที่สุด คือ ทองแดง ด้วยคุณสมบัติเด่นที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี จึงไม่สะสมความร้อนมาก ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ปลั๊ก ทำให้บ้านปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
advertisement
5. มีเบรกเกอร์ (Breaker) ในตัว หนึ่งสาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้จากการใช้ปลั๊กพ่วง คือ การไฟฟ้าเกินขนาดพิกัดกระแสไฟฟ้าที่ปลั๊กพ่วงกำหนด จากการเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมกันหลายๆ ชิ้น ไม่ดึงปลั๊กออกเมื่อไม่ใช้งาน หากใช้ปริมาณไฟฟ้าที่ปลั๊กแต่ละรุ่นกำหนด จะเกิดความร้อนสูงจนสายไฟละลาย ทำให้สายทองแดงข้างในทั้งสองเส้นแตะกัน จนทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้ ปลั๊กไฟในยุคก่อนจะไม่มีสวิตช์เปิด – ปิดและฟิวส์ช่วยตัดกระแสไฟฟ้า เมื่อใช้เกินขนาดทำให้เกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง ปัจจุบันหลายแบรนด์ได้ปรับปรุงฟังก์ชันให้ตอบโจทย์นี้ จึงควรมองหาปลั๊กพ่วงที่มีสวิตช์เปิด – ปิด มีเบรกเกอร์ในตัวป้องกันกระแสไฟเกินและช่วยตัดกระแสไฟให้อัตโนมัติ
โดยจากเรื่องนี้ก็สรุปได้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคือ เบรกเกอร์ตัดไฟเกิน ที่ส่วนใหญ่แล้วปลั๊กพ่วงจะต้องมี เพื่อป้องกันอันตรายในการใช้งาน ฉะนั้นก่อนซื้อต้องเลือกปลั๊กพ่วง ที่ได้มาตรฐาน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงบานปลายกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินในภายหลังกันนะคะ
ขอขอบคุณที่มาจาก : ปลั๊กไทย by มหาชะนี , HomeGuru