หมอเจอคนไข้มีอาการ ใจสั่น มือสั่น และเวียนหัว เนื่องจากได้รับยาหลายขนานเกินจำเป็น!! อ่านแล้วต้องระวังให้มาก!!
advertisement
ทางเพจ Rational Drug Use โดย ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ได้ออกมาโพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับคนไข้รายหนึ่งที่เข้ามาพบ มีอาการ ใจสั่น มือสั่น โดยคุณหมได้ออกมาโพสต์เล่ารายละเอียดระบุว่า…
advertisement
#RDU20171217
#Polypharmacyนำอันตรายสู่ผู้ป่วย
ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นไข้หวัดใหญ่ ได้รับยา 6 ชนิด หลังจากกินยามีอาการใจสั่นมาก มือสั่นและตัวสั่นทั้งตัว วิงเวียนศีรษะ กระสับกระส่าย ผู้ที่พบผู้ป่วยรายนี้บอกว่า "คนไข้ร้องไห้มาเลยค่ะ" Credit @แอลลี่&ลิลลี่ RDU Primary Care LINE group [ads]
เกณฑ์คุณภาพของสถานพยาบาล (HA) ฉบับใหม่ (2017) ตอนหนึ่งกล่าวว่า "องค์การอนามัยโลกระบุว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้ยาเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม (ไม่สมเหตุผล) ซึ่งก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยได้หลายลักษณะ และเป็นอันตราย (morbidity และ mortality) ที่ไม่ควรเกิดขึ้น เช่น อันตรายจากอันตรกิริยา(drug interaction) ที่เพิ่มความเสี่ยงขึ้นตามจำนวนรายการยาที่สั่งจ่าย (polypharmacy & duplication) นอกจากนั้นยังระบุให้สถานพยาบาลตรวจติดตาม (monitor) อัตราการใช้ยาที่มีลักษณะเป็นยาหลายขนานเกินจำเป็น (polypharmacy) และดำเนินการแก้ไขให้ผู้ป่วยได้รับยาเท่าที่จำเป็นตามข้อบ่งชี้ ทั้งนี้ polypharmacy หมายถึงการที่ผู้ป่วยได้รับยามากกว่า 5 ชนิดในการรักษาโรค และ/หรือเข้าข่ายตามคำจำกัดความที่ได้มีการระบุไว้ในงานวิจัยต่าง ๆ เช่นในกรณีนี้คือ [ads2]
ก. Duplication of medication (Two or more medicines to treat the same condition)
รายการยาตามภาพ เป็นรายการยาที่ซ้ำซ้อนโดยมียาที่ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว 3 ชนิด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการใจสั่นมาก ได้แก่
– orphenadrine ซึ่งมีฤทธิ์ anti-cholinergic
– pseudoephedrine ซึ่งมีฤทธิ์ sympathomimetic
– phenylephrine ซึ่งมีฤทธิ์ sympathomimetic
และยังมีการใช้พาราเซตามอลซ้ำซ้อน จากพาราเซตามอลเดี่ยวและที่ผสมอยู่ในยา CORILAX
ข. Inappropriate drugs (i.e., lack of proven benefit, etc.)
กรณีนี้ยาที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยคือ ZYRITINE (cetirizine) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ชนิดง่วงน้อย ยากลุ่มนี้ไม่มีประโยชน์ในโรคหวัดหรือหวัดใหญ่ เนื่องจากไม่ช่วยลดน้ำมูก ไม่ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกหรือจาม (ยานี้มีประโยชน์กรณีโรคภูมิแพ้เท่านั้น)
*การไม่ใช้ยาแก้แพ้ชนิดง่วงน้อยเพื่อลดน้ำมูกในโรคหวัด เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
Rational Drug Use Culture
Inner Power
Together We Can
จากความคิดเห็น [ads3]
advertisement
–
advertisement
จากโพสต์
จากเรื่องนี้หวังว่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้กับทุกท่านได้นะคะ ยังไงก็ระมัดระวังการใช้ยา ถ้ามีอาการแปลกๆให้รีบพบหมอโดยด่วน
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com