เตรียมตัวอย่างไร? เพื่อครรภ์ที่สมบูรณ์
advertisement
เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตคู่ก็ต้องมีบุตร เพื่อครอบครัวที่สมบูรณ์ แต่การจะตั้งครรภ์มีบุตรที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและสติปัญญานั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ประกอบด้วยหลายๆ ปัจจัย แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้การตั้งครรภ์นั้นสมบูรณ์แบบที่สุดนั้น เริ่มจากตัวคุณเองทั้งสามีและภรรยา Kaijeaw.com ขอช่วยให้คุณได้วางแผนเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ได้ดังนี้ค่ะ
advertisement
1. ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
เริ่มด้วยการปรึกษาสูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายดูสุขภาพทั่วไป โรคประจำตัว ตรวจทั้งการเพาะเชื้อจากปากมดลูกและตรวจมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อตรวจว่ามีโลหิตจางหรือไม่รวมทั้งการตรวจหาภูมิต่อโรคหัดเยอรมันและไข้สุกใส หากไม่มีภูมิแพทย์ก็จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีก 3 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้
advertisement
2. งดสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นการลดโอกาสการตั้งครรภ์ลง และเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก
advertisement
3. อาหาร
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นทานผัก ผลไม้ ส่วนวิตามินเสริมอาจไม่จำเป็นหากคุณรับประทานอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม แต่หากต้องการทาน ควรตรวจสอบก่อนว่าเหมาะสำหรับสตรีที่เตรียมตัวตั้งครรภ์หรือไม่เพราะวิตามินบางอย่างอาจเป็นอันตรายได้หากรับประทานมากเกินไป เช่น วิตามินเอ
[ads]
advertisement
4. กรดโฟลิค
เสริมกรดโฟลิคที่จำเป็น ช่วยป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ และภาวะครรภ์ผิดปกติ ทานได้จากอาหารหลายประเภท เช่น ซีเรียล กล้วย และผักใบเขียว คุณแม่ควรทานกรดโฟลิคเสริม เพราะเป็นเรื่องยากที่คุณแม่จะรับประทานอาหารให้ได้กรดโฟลิคถึง 400 ไมโครกรัมต่อวันซึ่งเป็นปริมาณที่แนะนำขณะตั้งครรภ์และควรเริ่มรับประทานโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่คุณวางแผนจะตั้งครรภ์ จนถึงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์
advertisement
5. แคลเซียม
เสริมแคลเซียมเพื่อบำรุงกระดูกให้แข็งแรง เพราะการตั้งครรภ์จำเป็นต้องใช้แคลเซียมเสริมสร้างลูกให้แข็งแรงเช่นกัน ควรเลือกทาน นม เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย หากคุณทานแคลเซียมได้ไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับแคลเซียมชนิดเม็ดรับประทานเสริม
advertisement
6. ออกกำลังกาย
-อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่หักโหม และรักษาน้ำหนักไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป
-ทานผักและผลไม้หลากหลายสีสันมากๆ
-ทานอาหารประเภทแป้งให้เพียงพอ เช่น ข้าว ขนมปัง ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลเกรน
-ทานอาหารประเภทโปรตีนทุกมื้อ ปลาสัปดาห์ละสองครั้งนม ไข่ ผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง (เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์) เมล็ดพืชและถั่ว
advertisement
7. การใช้ยา
ยาบางชนิดอาจลดโอกาสการตั้งครรภ์ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์หากจำเป็นต้องรับประทานยาหรือหากเคยคุมกำเนิดด้วยการใช้ห่วงอนามัยหรือยาคุมกำเนิด ควรปล่อยให้ร่างกายได้พักและปรับตัวสักสองสามเดือนก่อนจะเริ่มเตรียมตัวตั้งครรภ์ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
8. ท่วงท่าเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
ทุกท่วงท่าของเพศสัมพันธ์ สามารถทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ หลักการคือให้น้ำอสุจิอยู่ในช่องคลอด ค้างไว้ให้นานที่สุด จะทำให้โอกาสตั้งครรภ์สูงมากขึ้น เช่นหลังมีเพศสัมพันธ์ไม่ลุกไปล้างทันที หรือใช้หมอนรองก้นเพื่อช่วยให้น้ำอสุจิอยู่ในช่องคลอด
advertisement
9. เวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์
เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่ 9 ของรอบเดือนจนวันที่ 19 ของรอบเดือน เพราะเป็นช่วงที่ไข่ตกพร้อมที่จะปฏิสนธิ โดยร่วมเพศกันวันเว้นวัน
10. หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
– โรคเพศสัมพันธ์บางโรคอาจจะมีผลทำให้เกิดการเป็นหมัน แพทย์จะซักประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และหากสงสัยแพทย์อาจจะเพาะเชื้อจากปากมดลูก รวมทั้งการเจาะเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณปลอดภัยจากโรคติดต่อและไม่ควรที่จะมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น
– การติดเชื้อจากอาหารก็อาจจะมีผลต่อการตั้งครรภ์เช่นการติดเชื้อ Toxoplasmosis ต้องรับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
– หลีกเลี่ยงจากการเข้าชุมชนเพราะท่านอาจจะติดหวัดหรือโรคติดเชื้อชนิดอื่น
advertisement
11. การดูแลสิ่งแวดล้อม
ต้องตรวจสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวว่ามีสิ่งที่เป็นเป็นภัยต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่นยาฆ่าแมลง ใยแก้ว สารตะกั่ว รังสี ควรจะหลีกสิ่งเหล่านี้ หากคุณเลี้ยงแมวบอกแพทย์ให้เจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อ toxoplasma หรือไม่เพราะเชื้ออาจจะทำให้พิการแต่กำเนิด
12. อายุ
อายุที่เหมาะสำหรับการการตั้งครรภ์คือ 25-35 ปี แต่ถ้าคุณแม่อายุเกิน 35 ปี อาจเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติต่างๆ ได้ ถ้าท้องแล้วจะต้องเจาะน้ำคร่ำ มีการตรวจสารชีวเคมีในเลือด หรือ Triple Screen ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อที่จะคัดกรองทารกในครรภ์ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางเป็นพิเศษ
advertisement
13. การเตรียมตัวสำหรับคุณพ่อ
คุณพ่อควรไปตรวจเช็คร่างกาย เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของเชื้ออสุจิ ซึ่งความแข็งแรงของน้ำเชื้อนั้นก็ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพที่ดีด้วย สำคัญต้องงดบุหรี่ ตัวการสำคัญที่ทำให้เชื้ออสุจิมีน้อยและไม่แข็งแรง รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดต่างๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบหมู่เช่นเดียวกับคุณแม่ จะทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์มีมากขึ้น
[yengo]
14. การตรวจทางพันธุกรรม
โดยแพทย์จะซักประวัติโรคทางพันธุกรรม ทั้งตัวคุณและคู่เพื่อพิจารณาว่าครอบครัวคุณมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยคือโรคธัลลัสซีเมีย และหากคุณอายุมากคุณก็จะเสี่ยงต่อกลุ่ม down
15. ไม่เครียด
ความเครียดจะมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ตั้งครรภ์ยาก คลอดก่อนกำหนด เด็กคลอดออกมามีน้ำหนักน้อย ดังนั้นคุณควรผ่อนคลายและสนุกกับการเตรียมตัวมีลูกน้อยเพราะบางครั้งธรรมชาติก็ไม่ต้องการการเร่งรัดหรือกดดันมากเกินไปนัก
16. การวางแผนทางการเงิน
หากคุณพร้อมที่จะมีบุตร ควรวางแผนเรื่องเงินเก็บสำหรับดูแลครรภ์ เลี้ยงบุตร การศึกษาที่ดี คำนวณรายรับ รายจ่ายอย่างลงตัว และศึกษาค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบ
สำหรับการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์แบบนั้น การวางแผนที่ดีเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องคิด และจัดการอย่างรอบคอบ เพื่อให้ลูกเกิดมามีความแข็งแรง เติมชีวิตครอบครัวให้สมบูรณ์และมีความสุขค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com