งิ้วป่า..แก้ท้องเสีย เป็นยาบำรุง!!
advertisement
“งิ้วป่า” หรืองิ้วดอกขาว ต้นไม้ที่สามารถพบได้ทั่วไป แต่ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่มีหินปูน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอิสาน ที่ชาวบ้านจะนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น นำมาประกอบอาหาร คนภาคเหนือและภาคอีสานนำกลีบดอกที่มีรสเปรี้ยวมาใส่ในแกงส้มหรือต้มจิ้มน้ำพริก เกสรตัวผู้นำไปผึ่งแดดให้แห้ง ใช้ปรุงแกงส้ม น้ำเงี้ยวหรือแกงแค ฝักอ่อนมาต้มจิ้มน้ำพริกหรือแกงส้มได้ โดยผลจะให้เส้นใยใช้ทำหมอนและที่นอนได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรได้ด้วย ตาม Kaijeaw.com มารู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้ ให้มากขึ้นกันค่ะ
งิ้วป่า มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า นุ่นป่า งิ้วป่าดอกขาว งิ้วดอกขาว ไกร งิ้วผา (เหนือ) ง้าวป่า (กลาง) งิ้วขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps Pierre. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย BOMBACOIDEAE
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 30 เมตร เมื่อต้นยังเล็กเรือนยอดจะเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดด้านบนจะแบน เปลือกสีเทา มีหนามตามแข็งตามลำต้นมากมายโดยเฉพาะต้นอ่อน และกิ่งก้าน และจะลดลงเมื่อโตขึ้น กิ่งก้านยังคงมีหนาม
advertisement
ใบ : ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ แผ่นใบรูปใบหอกหรือรูปไข่ กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ก้านใบย่อยยาว 0.5-1.8 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 10-17เซนติเมตร ก้านใบรวมยาวเท่าๆกับใบย่อย [ads]
advertisement
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว มีขนาด 6.5-8 เซนติเมตร สีขาวครีมแกมม่วง ออกเป็นกลุ่ม 2-4 ดอก กระจายทั่วเรือนยอดที่กำลังผลัดใบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มี 2-4 พู สีเขียวสด เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยบนฐานดอกที่แข็ง กลีบดอกโค้งงอไปด้านหลังปิดส่วนของกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว มีขนละเอียดด้านนอก เกสรตัวเพศผู้มีเป็นจำนวนมาก ประมาณ 250-300 อัน มีสีขาวเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มๆ แยกเป็น 5 กลุ่ม และเชื่อมเป็นหลอด ด้านล่างห่อหุ้มก้านเกสรตัวเมีย เกสรเพศเมียสีชมพูอมม่วงมีอันเดียว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ซึ่งอยู่ชิดติดกัน [ads2]
advertisement
ผล : รูปทรงกระบอกยาว คล้ายรูปกระสวย กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาว 12-15 เซนติเมตร ขอบขนาน โค้งงอเล็กน้อย มีสันตื้นๆ 5 สัน แห้งแล้วแตกตามรอยตะเข็บ มีเมล็ดรูปทรงกลมสีดำขนาดเล็ก มีปุยสีขาวห่อหุ้มคล้ายเมล็ดฝ้าย
advertisement
สรรพคุณตามตำรายาไทย :
ใบ – มีรสเย็น ตำพอกแก้ฟกช้ำ บดผสมน้ำ ทาแก้ต่อมทอมซิลอักเสบ
เปลือกต้น – มีรสฝาดเย็น เป็นยาแก้อาการร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้บิด
ราก – มีรสจืด ขับปัสสาวะ เป็นยากระตุ้น และยาบำรุงกำลัง
รากและเปลือก – รสฝาดเย็น ทำให้อาเจียน [ads3]
ยาง – มีรสเย็นเมา กระตุ้นความต้องการทางเพศ ห้ามเลือดที่ตกภายใน ขับน้ำเหลืองเสีย บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ระดูสตรีมามากเกินไป
ดอกแห้ง – รสหวานเย็น รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวด แก้คัน แก้พิษไข้
ดอกและผล – รสหวานเย็น แก้พิษงู
เมล็ด – มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคผิวหนัง
ผู้คนที่อยู่ในชุมชนเมืองน้อยคนนัก ที่จะรู้จักนำงิ้วป่ามาใช้ประโยชน์กันนะคะ อาจจะเพียงแค่เคยเห็น แต่ชาวบ้านหรือผู้ที่เข้าป่าเป็นประจำ รู้จักกันดี โดยส่วนใหญ่จะนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเอาดอกและผลอ่อนมาลวกจิ้มน้ำพริก ทำแกงส้ม ใยของผลก็นำไปใช้ประโยชน์ทำหมอนได้ด้วย อีกทั้งยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่มีคุณค่ามากอีกด้วย นับเป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าตามภูมิปัญญาชาวบ้านจริงๆ เลยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com