ชุมเห็ดไทย สมุนไพรมากคุณค่า แก้นอนไม่หลับ เป็นยาระบาย!!

advertisement
พืชสมุนไพรของไทยมีมากมายนะคะ หลายๆ ชนิดมีสรรพคุณเป็นยา บำรุงร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้มากมาย ทั้งนี้ก็ตามแต่ชนิดของสมุนไพรด้วย อย่างเช่นที่วันนี้ ไข่เจียว.com ขอพูดถึงชุมเห็ดไทย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ผักหลับมืน เป็นผักพื้นบ้านที่นำมาประกอบอาหารรับประทานได้ ทั้งยังเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่นในเรื่องของ แก้นอนไม่หลับ เป็นยาระบาย ซึ่งถือว่าอาการสุขภาพที่ไม่ดีของผู้คนจำนวนมากในยุคปัจจุบันนะคพ ดังนั้นใครที่มีอาการเหล่านี้อยู่ มาดูสรรพคุณของชุมเห็ดไทยกันค่ะ
advertisement

http://www.herb-health.com/wp-content/uploads/2015/04/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.jpg
1) ยาช่วยให้นอนหลับ นำเมล็ดไปคั่วให้เกรียมมีกลิ่นหอม (เมล็ดที่ไม่คั่วของชุมเห็ดไทยมีความเป็นพิษ ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด) นำมาบดเป็นผงชงน้ำร้อนกินแทนชา จะทำให้นอนหลับสบายและช่วยขับปัสสาวะ ปัจจุบันมีการผลิตในรูปแบบผงชาจำหน่าย การดื่มชงชาเมล็ดชุมเห็ดไทยคั่ว จึงใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
2) ใช้แก้อาการสะลึมสะลือหลังตื่นนอน ใช้แก้ปวดหัว วิงเวียน แก้เมาเห็ด เด็กคนไหนตอนกลางคืนไม่ค่อยจะนอน ชอบงอแง ในอดีตผู้เป็นแม่จะไปตัดเอาชุมเห็ดไทยส่วนไหนก็ได้ หรือเอาทั้งต้น มาต้มอาบ จะทำให้เด็กไม่งอแงและหลับง่ายขึ้น และในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ก็มีการใช้คล้ายๆ กัน คือ รักษาอาการไม่สงบในเด็ก ด้วยการตำใบชุมเห็ดไทยทาลงบนศีรษะเด็ก
[ads]
3) ช่วยลดความอ้วน ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า เมล็ดชุมเห็ดไทยมีฤทธิ์ต้านการสะสมของไขมันจริง มีการศึกษาที่ทำกับเซลล์ไขมันที่เลี้ยงในหลอดทดลองพบว่า ค่าไตรกลีเซอไรด์ของเซลล์ที่เลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดชุมเห็ดไทยประกอบอยู่ลดลง เมื่อเทียบกับเซลล์ที่เลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ธรรมดา และทำให้น้ำหนักของหนูทดลองที่กินสารสกัดลดลงได้ เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด โดยค่าไขมันในเลือด คือ ไตรกลีเซอร์ไรด์ และโคเลสเตอรอล LDL (Low Density Lipoprotein) หรือไขมันร้าย ลดลง ในขณะเดียวกันก็มีค่าไขมันดี หรือโคเลสเตอรอล HDL (High Density Lipoprotein) เพิ่มขึ้น
4) บำรุงตับ บำรุงสายตา ตามตำรายาไทยและตำรายาจีนระบุสรรพคุณของชุมเห็ดไทยทั้งใบและเมล็ดคั่วว่า มีรสขม เย็น ชุ่ม ใช้กล่อมตับ ทำให้ตาสว่าง คนโบราณเชื่อว่า ตับสัมพันธ์โดยตรงกับตา ตับไม่ดี ตาก็ไม่ดี ของที่รสขม มีสี จะบำรุงทั้งตาและตับ การที่ชุมเห็ดไทยกล่อมตับจึงทำให้ตาสว่าง แก้ตามัว ตาฝ้าฟาง บำรุงสายตาป้องกันโรคที่เกี่ยวกับตาอื่น ๆ เช่น เยื่อตาอักเสบ ตาแดง เป็นต้น
5) ใช้รักษาคนที่เป็นไข้จม หรือเหียดจม คนไข้จะมีอาการเหนื่อย ครั่นเนื้อ ครั่นตัว จับสั่น เจ็บศีรษะ นอนไม่อยากลืมหูลืมตา จะให้หลับก็ไม่หลับ หากมีอาการเหล่านี้ หมอยาโบราณจะใช้รากหลับมืน รากซมซื่น (เขยตาย) รากผักตาโก้ง (ผักเบี้ย) มาฝนกับน้ำเป็นยาซุม (ยาหลัก) ให้รับประทาน คนไข้ก็จะลืมหูลืมตาได้
6) ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ใช้ใบหรือทั้งต้นประมาณ 1 กำมือ 15-3 กรัม เมล็ด 1 หยิบมือ 5-10 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมกระวาน 2 ผล เพื่อกลบรสเหม็นเขียวและเกลือเล็กน้อยดื่มก่อนอาหารเช้าส่วนเมล็ดคั่วให้เหลือง ใช้ชงเป็นน้ำชาดื่ม
7) ช่วยลดความดันเลือดได้โดยใช้เมล็ดแห้ง 30 กรัม คั่วให้หอม ชงกินแทนน้ำชา
8) ใบสดใช้พอกเพื่อเร่งให้หัวฝีออกเร็วขึ้นพอกโรคแก้เกาต์ ปวดสะโพก ปวดขา ปวดข้อ แก้โรคกลาก หิด ผื่นคันต่างๆนอกจากนี้ใบเคี่ยวน้ำมันละหุ่ง ทาแก้แผลเรื้อรัง
9) รักษากลากเกลื้อนได้โดย ใช้ใบย่อย 10-20 ใบสดๆ ตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทา กลากเกลื้อนวันละสองสามครั้งหรือใช้ราก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใส พอกแก้กลาก
advertisement

http://4.bp.blogspot.com/-4KTn1lohwl8/T9F6iChjFvI/AAAAAAAAAzY/G2Edn-fKKVM/s1600/DSC09684.JPG
[yengo]
ความรู้เพิ่มเติม : ชุมเห็ดไทย เป็นพืชที่นอนกลางคืนตื่นกลางวัน เวลากลางวันใบจะกางออกและหุบเข้าหากันในเวลากลางคืน เหมือนกับจะบอกเป็นนัยให้รู้ว่ามีสรรพคุณทางยาที่น่าอัศจรรย์ คือ ทำให้หลับก็ได้ หรือตื่นก็ได้ เวลาไปเก็บมาทำยา หากต้องนำมาใช้ช่วยให้หลับก็ต้องไปเก็บตอนกลางคืน หากจะนำมาใช้ให้ตื่นก็ต้องไปเอาตอนกลางวัน
ข้อควรระวัง
– เมล็ดชุมเห็ดไทยที่จะนำมาทำยาต้องคั่วให้เกรียมก่อนเท่านั้น
– การใช้เมล็ดในปริมาณสูงเกินไปอาจทำให้เกิดไตอักเสบ
– ควรระมัดระวังการใช้ในเด็ก สตรีตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory Bowel Diseases)
advertisement

https://lh4.googleusercontent.com/-ktH1hapKvBE/VI-O0qERi0I/AAAAAAAAeiM/033iagDVl7k/w1329-h775-no/DSC15.jpg
ชุมเห็ดไทย สามารถนำยอดอ่อน ดอก มาลวกรับประทานเป็นผัก เผา หรือแกงเหมือนขี้เหล็กได้ ฝักอ่อนสามารถนำมาต้มรับประทานเหมือนถั่ว ฝักแก่มีเมล็ดเหมือนเมล็ดกระถิน ใช้เผาไฟรับประทาน รสชาติเหมือนถั่วคั่วค่ะ และแม้ว่าสรรพคุณทางยานั้นจะไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เพราะปัจจุบันไม่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางยาอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่จะนิยมบริโภคยาแผนปัจจุบันกันมากกว่า หากเราไม่รู้จักศึกษาไว้บ้างก็เป็นที่น่าเสียดายนะคะ เพราะสมุนไพรไทยก็สามารถต่อยอดเพื่อใช้รักษาโรค อาการต่างๆ ได้เช่นกันค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com