ซื้อของออนไลน์แล้วโดนหลอก ฟ้องร้องอย่างไรให้ได้เงินคืน
advertisement
ในตอนนี้หลายๆท่านเลือกที่จะสั่งซื้อของออนไลน์เพื่อคความสะดวก เพราะมีบริการส่งมาให้ถึงหน้าบ้าาน ไม่ต้องเสียเวลาขับรถออกไปซื้อ แต่บางครั้งการซื้อของออนไลน์นั้นก็มีความเสี่ยง เพราะอาจจะโดนหลอก หรือได้ของไม่มีคุณภาพได้ วันนี้เราเลยมีความรู้ในเรื่องของการฟ้องร้องรับเงินคืน จากการซื้อของออนไลน์
advertisement
ซื้อของออนไลน์ไม่ให้โดนหลอก ต้องระวังอะไรบ้าง
– ศูนย์รับร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC ได้สรุปกลวิธีที่มิจฉาชีพมักใช้บ่อย ได้แก่
– ซื้อรอบแรกส่งตรงเวลา ตอบไว หลังจากนั้นปิดเพจเชิดเงินหนี
– ซื้อของทางเน็ตแล้วไม่ได้ของ เพราะมิจฉาชีพใช้วิธีเมื่อใกล้ถึงกำหนดส่งบอกว่าของมีตำหนิ ยืดเวลาส่งไปอีก หรือให้
– สั่งอย่างอื่นแทน สุดท้ายโอนเงินแล้วไม่ส่งของ
– โดนหลอกโอนเงินโดยมิจฉาชีพมักโพสต์ระบุค่าเก็บเงินปลายทางให้แพง ให้ลูกค้ารู้สึกอยากโอนตรงเร็วๆ
– ให้ระวังข้อความดึงดูดใจให้รีบโอน เช่น เหลือ 2 ชิ้นเท่านั้น, ให้คนที่โอนก่อน, โอนวันนี้พรุ่งนี้ถึงมือ
– อย่าเห็นแก่ภาพสวย ราคาถูก เพราะบางร้านเอารูปร้านอื่นมาลง
วิธีป้องกันตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพซื้อของทางเน็ตแล้วไม่ได้ของ
1. Search Google เลือกใช้คีย์เวิร์ดค้นหา โดยใช้ “ชื่อร้าน, ชื่อแม่ค้า, เบอร์โทร, เลขบัญชี” ตามด้วยคำว่า “โกง” เช่นใส่คำว่า "บริษัท XXX โกง" ถ้าร้านไม่มีประวัติ ก็เลื่อนดูโพสต์ในร้านต่อไปได้
2. นำเว็บไซต์ร้าน หรือชื่อเฟซบุ๊ก ไปตรวจสอบ e-Marketplace เมื่อต้องการซื้อของผ่านทางเฟซบุ๊กที่เป็นการโอนเงินเข้าบัญชีร้านโดยตรง ก็อาจเปลี่ยนวิธีชำระเงินไปซื้อบน e-Marketplace อาทิ Lazada, Shopee, JD Central, lnwshop และเจ้าอื่นๆ ที่มีระบบดูแลลูกค้าหลังการขาย สามารถส่งเรื่องร้องเรียน ขอคืนเงินได้เบื้องต้น
3. ดูความน่าเชื่อถือของร้านค้าจากภาพและข้อความ ภาพที่ดูสวย ดูดี ราคาถูกเกินไปอาจเข้าข่ายหลอกลวง ต้องดูข้ออื่นๆ ประกอบด้วย ควรขอดูรูปสินค้าจริงก่อนจะสั่งซื้อ
advertisement
คดีซื้อของออนไลน์ ต้องไปที่ไหน
โทรขอคำปรึกษา 1212
หากเกิดเหตุเกี่ยวกับการซื้อของออนไลน์ แล้วยังไม่อยากดำเนินคดีความ แต่อยากได้ที่ปรึกษา โทรหา 1212 เพื่อขอคำแนะนำเบื้องต้นได้ และดำเนินการประสานยังไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ [ads]
– สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
– สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
– กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ( DBD )
– กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ปท.)
– กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)
ไปสถานีตำรวจใกล้บ้านที่เกิดเหตุ ภายใน 3 เดือน
ขั้นตอนการฟ้องร้องขอเงินคืน เพื่อแจ้งความ โดนหลอกโอนเงิน โดยต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า “ประสงค์ขอแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย” ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน โดยเตรียมหลักฐาน ดังนี้
1. บัตรประชาชนของผู้แจ้ง/ผู้เสียหาย
2. หน้าประกาศ/ข้อความโฆษณาขายสินค้าใน Web Board, Page, facebook, instagram, Line ที่โพสต์ขายสินค้าและทำให้หลงเชื่อ
3. หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน, statement, mobile banking
4. หลักฐานในการติดต่อซื้อขายสินค้า พูดคุยต่างๆ เช่น ข้อความแชต(chat) ที่สั่งซื้อสินค้า, หมายเลขโทรศัพท์, ข้อความ(sms), email address ,Line ,messenger facebook เป็นต้น
5. ข้อมูลผู้ขายสินค้าหรือผู้ร่วมขบวนการ เช่น ชื่อสกุล , หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้, หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ, ที่อยู่ เป็นต้น
6. หลักฐาน/ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี
ไปศาลที่มีอำนาจในเขตพื้นที่บ้านของคุณ เพียงคุณรวบรวมหลักฐานจากการถ่ายภาพ และไปที่ศาลในเขตพื้นที่อำนาจใกล้บ้านของคุณ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ศาลเป็นผู้เขียนคำร้องให้ตามกฎหมายคุ้มครองบริโภคที่กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ศาลจะดำเนินการเขียนคำร้อง พร้อมกับนัดโจทก์มาไกล่เกลี่ยกับเราภายใน 30 วัน หากเรื่องราวสามารถตกลงได้ในขั้นไกล่เกลี่ยได้ที่ศาลก็จะได้รับเงินคืนตามข้อตกลง รวมถึงค่าเสียเวลาที่สามารถเรียกร้องได้
ขอขอบคุณที่มาจาก : thairath.co.th