ดอกมะลิ..แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ
advertisement
ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม และเป็นดอกไม้ประจำวันแม่ด้วย ซึ่งดอกมะลินั้นยังนิยมนำมาใช้ไหว้พระ และร้อยเป็นพวงมาลัยไว้แขวนในรถ กลิ่นที่หอมของดอกมะลิทำให้เป็นที่ที่ต้องการของตลาดมากขึ้น วันนี้ kaijeaw.com จะพาไปรู้จักดอกไม้ดอกเล็กๆ อย่างมะลิให้มากขึ้นค่ะ
ดอกมะลิ
ลักษณะของต้นมะลิ
ต้นมะลิ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบียโดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม มีใบแน่น มีความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ลำต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ (ในช่วงฤดูฝนเป็นวิธีการที่ดีที่สุด) และการตอนกิ่ง (เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี) เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ออกดอกน้อยลง และการตัดแต่งใบภายหลังการออกดอกชุดใหญ่จะทำให้การออกดอกดีขึ้น (ทั้งจำนวนและขนาดของดอก)
ใบมะลิ ใบออกเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปมนป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวแก่ ที่ท้องใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นใบมีขนาดใหญ่ มีประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบมีขนาดสั้นมากและมีขน
ดอกมะลิ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอกซ้อนเราจะเรียกว่า “มะลิซ้อน” ส่วนดอกที่ไม่ซ้อนจะเรียกว่า “มะลิลา” โดยทั้งสองชนิดจะเป็นดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ซึ่งดอกมะลิลาจะมีกลิ่นหอมมากกว่าดอกมะลิซ้อนขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมะลิลาปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ส่วนปลายแยกเป็นเส้น มีเกสรเพศผู้ 2 ก้านติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว และมักไม่ติดผล
ผลมะลิ ผลเป็นผลสด[ads]
advertisement
สรรพคุณของมะลิ
1.บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ใช้ดอกแห้ง 1.5 – 3 กรัม ต้มน้ำ หรือชงน้ำร้อนดื่ม
2.รากของมะลิแก้ได้สารพัดโรคทั้งปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งช่วยรักษาหลอดลมอักเสบได้ด้วย
3.ใบใช้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดีรวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใสแต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น
4.ใบช่วยบำรุงสายตา
5.ใบขับน้ำนมสตรีที่มีครรภ์ได้ด้วย
6.ดอกแก้โรคบิด อาการปวดท้อง
7.ดอกตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้
8.รากนำไปต้มแล้วดื่มน้ำเป็นยาแก้เบาหวาน
9.หากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาฝนกับน้ำรับประทาน
10.ดอกและใบมีรสเผ็ดชุ่ม เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเหงื่อขับความชื้น แก้ไข้หวัดแดด (ดอกและใบ)รากใช้ฝนกับน้ำเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)
11.ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
12.ดอกแก่ใช้เข้ายาหอมเป็นยาแก้หืด (ดอก)
13.ดอกสดนำมาตำใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง ผิวหนังผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ และแก้ปวดหูชั้นกลาง (ดอก) ช่วยแก้ฝีหนอง (ดอกและใบ)
14.ใช้แก้กระดูกร้าว ฟกช้ำ ให้ใช้รากแห้ง 1.5 กรัม นำมาฝนกับเหล้ารับประทาน (ราก) หรือจะใช้รากสดตำพอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกเนื่องจากการหกล้ม (ราก)
15.รากสดใช้ทำเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบ (ราก) ใบและรากใช้ทำเป็นยาหยอดตา (ใบ, ราก) บ้างว่าใช้ดอกมะลิสดที่ล้างน้ำสะอาด นำมาต้มกับน้ำจนเดือดสักครู่ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตาขาวอักเสบ (ดอก)
16.นอกจากนี้ยังมีการนำดอกมะลิผสมเข้ายาหอมที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน เช่น ในตำรับยาหอมเทพจิต ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมนวโกฐ และยาหอมอินทจักร์ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นดอกมะลิ และยังใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแก้ไข้มิรู้จักสติสมปฤดี ยาประสะจันทน์แดง ยามหานิลแท่งทอง เป็นต้น (ดอก)
advertisement
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรมะลิ
รากมะลิหากรับประทานมาก ๆ อาจทำให้สลบได้
ดอกมะลิที่นำมาใช้แต่งกลิ่นชาไม่ควรนำมารับประทานเป็นประจำ เพราะอาจทำให้ความจำเสื่อมหรือเป็นคนลืมง่าย
ดอกมะลิเป็นยารสหอมเย็น อย่าใช้มากเกินไป เพราะจะไปแสลงกับโรคลมจุกเสียดแน่น
การดื่มน้ำลอยดอกมะลิเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันการปลูกและการดูแลรักษามะลิก็เพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจมีการใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
จะเห็นว่าดอกมะลินอกจะเป็นดอกไม้ที่ปลูกตามบ้านเพื่อให้ดูสวยงามแล้ว ดอกและกลิ่นก็เป็นลักษณะเด่นที่ทำให้คนนิยมชมชอบดอกมะลิ แต่สรรพคุณที่ได้จากดอกมะลิ ใบ ราก ก็เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยในการป้องกันโรคหรือรักษาโรคได้หลายชนิด แต่ใช่ว่าจะมีแต่ประโยชน์โทษก็มีเช่นกัน ฉะนั้นก่อนที่จะบริโภคก็ควรศึกษาถึงการนำมาใช้ด้วยนะค่ะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com