ระวัง! อาหารปนเปื้อน”ดินประสิว”สารพิษอันตราย ตัวทำลายสุขภาพ!!
advertisement
อาหารที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร อย่างเช่น เนื้อแดดเดียว หมูแดดเดียว แหนม กุญเชียง ปลาเค็ม ฯลฯ ที่มีวางขายอยู่ตามท้องตลาดหลายๆ ร้าน เป็นสีแดงเป็นธรรมชาติดูน่ารับประทานมาก ไม่เหมือนเนื้อหรือหมูที่เราตากเอง ที่มักจะมองดูสีคล้ำไม่น่ารับประทานเลย นั่นเป็นเพราะเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารหรือแปรรูปเหล่านั้น มีการใส่ดินประสิวเข้าไป "ดินประสิว" เป็นสารเคมีชนิหนึ่ง ซึ่งก่อให้โทษแก่ผู้บริโภคได้ ถ้าหากว่าได้รับในปริมาณที่มากๆ หรือสะสมในร่างกาย ดังนั้นสำหรับวันนี้ Kaijeaw.com จึงจะขอพาให้คุณไปรู้จักกับ สารเคมีชนิดนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
advertisement
ดินประสิวคืออะไร
ดินประสิว คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโพแทสเซียมไนเตรท (Potassium nitrate) มีสูตรทางเคมี คือ KNO3 มีลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ไม่มีกลิ่น มีรสเค็มเล็กน้อย ถ้าชิมเล็กน้อยจะไม่มีรสอะไร มีความคงตัวดี แต่อาจมีการเปลี่ยนรูประหว่างไนเตรต กับไนไตรต์กลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม
advertisement
ดินประสิวที่ผสมในอาหาร
ในทางธุรกิจอาหาร ใช้ดินประสิวเป็นสารกันบูดและถนอมอาหาร ผสมในอาหารที่จะต้องเก็บรักษาเอาไว้นานๆ เพื่อป้องกันการบูดเสีย เช่น เอาไปใส่ในเนื้อเค็ม ปลาชนิดต่างๆ “ดินประสิว” สามารถช่วยให้เนื้อสัตว์มีสีสันสดใส มองดูน่ารับรับประทานมากขึ้นมีสีออกแดงเรื่อๆ ทำให้เกิดการซื้อง่ายขายคล่องเมื่อเอาไปใช้กับเนื้อเค็ม ปลาช่อนแห้ง และปลาเค็มทั่วๆ ไป ทำให้สีเนื้อสัตว์ดูสดอยู่เสมอ และนอกจากนี้ยังช่วยในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิดเช่น คลอสตริเดียมโบทูลินัม ซึ่งมักเจริญเติบโตในอาหารกระป๋อง แต่ในทางการค้าบรรดาพ่อค้า ที่ไม่รู้ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหรืออาจจะด้วยความเห็นแก่ตัว ต้องการขายสินค้าได้มากๆ โดยที่มีสีสวยงามปกป้องความไม่สดของอาหาร ก็อาจใส่สารโพแทสเซียมไนเตรทในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายได้ [ads]
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณที่พอเหมาะเอาไว้ให้แล้ว โดยตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 84 พุทธศักราช 2527 เรื่องวัตถุเจือปนในอาหารได้มีการกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ ให้ใช้โปแตสเซียม ไนเตรท์หรือโซเดียวไนเตรท 500 มิลลิกรัม ต่อ เนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัมจะเห็นได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้ “ดินประสิว” แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อพ่อค้าแม่ค้าใช้จริงๆ นั้นได้ใช้เป็นปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจึงเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
advertisement
อันตรายที่เกิดจากดินประสิว
เป็นสารก่อมะเร็ง ตามที่กล่าวมาแล้วว่าดินประสิวคือ สารเคมีที่เรียกว่า โพแทสเซียม ไนเตรท (KNO3) ซึ่งเปลี่ยนรูปไปมาระหว่างไนเตรท กับไนไตรท์ได้โดยแบคทีเรียบางชนิด เมื่ออยู่ในรูปของไนไตรท์มันจะทำปฏิกิริยากับสารประกอบบางอย่างในอาหาร ที่เรียกว่าสารเอมีน (Amine) โดยมีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเป็นตัวช่วย ทำให้เกิดสารประกอบที่เรียกว่า ไนโตรซามีน (Nitrosamines) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เป็นมะเร็งที่ปอด หลอดลม หลอดอาหาร สำไส้ใหญ่ ลำไส้ดูโอดินัม ตับ ไต ผิวหนัง โพรงจมูก สมอง และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
สารประกอบไนโตรซามีน ยังสามารถเกิดได้เองโดยตรง โดยการรับประทานอาหารที่มีสารเอมีนสูง เช่น ปลาหมึก หอย เมื่อเรานำมาปิ้งย่างด้วยไฟแรงๆ จะมีกลไกการทำปฏิกิริยาไนโตรเจนในอากาศกับเอมีนในอาหาร ประกอบกับมีความร้อนสูง จึงก่อให้เกิดสารไนโตรซามีนขึ้นได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังพบสารไนเตรทในผักอีกหลายชนิด เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และผักบุ้งจีน เพราะการใส่ปุ๋ยมากเกินไป ก็จะมีการตกค้างของไนเตรทสูง เมื่อนำผักมารับประทาน จะทำให้น้ำลายขับสารไนเตรทออกมามาก และเมื่อรับประทานอาหารที่มีสารเอมีนสูง เช่น ปลาหมึก หอย ก็จะเกิดการผสมกันระหว่างสารเอมีนกับไนเตรท ประกอบกับมีกรดในกระเพาะอาหารพอเหมาะ ทำให้เกิดสารประกอบของไนโตรซามีนขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งขึ้นได้
อาการเมื่อได้รับอันตรายจากดินประสิว
ในรายที่ได้รับเข้าไปไม่มากนัก จะมีอาการปวดศรีษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าได้รับเข้าไปไม่มากจะมีอาการปวดท้อง กล้ามเนื้อไม่มีเรี่ยวแรง เนื่องจากว่าพิษของดินประสิวสามารถทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเรียบของเลือดโลหิตขนาดเล็กและหัวใจ ในเรื่องของพิษจากดินประสิวนี้ยังทำให้เม็ดเลือดแดงจับออกซิเจนได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายขาดออกซิเจนลงไปได้ด้วย เกิดอาการเวียนศรีษะ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ผิวหนังซีด เป็นลมหมดสติได้
ในผู้ป่วยบางรายอาจจะถ่ายปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลเข้ม เพราะมีสีของ “ฮีโมโกลบิน” ที่ถูกทำลายออกมาในน้ำปัสสาวะ หรือบางทีก็อาจจะถ่ายปัสสาวะไม่ออก ถ้ามีมากๆ ก็อันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ [ads]
advertisement
อาหารที่มักพบว่ามีสารดินประสิวเจือปน
ได้แก่ เนื้อและอาหารแปรรูปต่างๆ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อวัว เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน แหนม เนื้อสวรรค์ ไตปลาดิบ ปลาร้า ปลาเจ่า และอื่นๆ เป็นต้น
วิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายจากอาหารที่มีสารดินประสิวเจือปน
1. หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารแปรรูปต่างๆ โดยเฉพาะอาหารที่มักพบว่ามีสารดินประสิวเจือปน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น มารับประทานอาหาร หรือสามารถทำไว้ทานเองได้จะปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ
2 ไม่ควรรับประทานอาหารซ้ำซาก จำเจ เพราะจะทำให้ได้รับสารมากเกินไปเกิดการสะสมและก่อโรคได้
3. หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง เช่น เนื้อแดง ปลาหมึก หอย เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีแดงผิดปกติจากธรรมชาติ เช่น เนื้อแดดเดียว กุนเชียง เป็นต้น
5. รับประทานอาหารที่มีวิตามินซี และวิตามินอีสูงหลังอาหาร เพราะวิตามินดังกล่าวสามารถยับยั้งการเกิดสารไนโตรซามีนในกระเพาะอาหารได้
6. ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะเป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
7. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง งดการกินเหล้า สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเชื้อรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไม่กินอาหารปิ้งย่าง รมควัน ฮอร์โมนเอสโตรเจน ไขมัน เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อสารเคมีได้
เพื่อสุขภาพที่ดีและความปลอดภัยต่อชีวิต สำหรับพ่อค้าแม่ค้า การใช้ดินประสิว หรือไนเตรต และสารไนไตรต์ในอาหารนั้นจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าใช้มากเกินกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และผู้บริโภคก็ควรเลือกซื้อและทานอาหารที่มีลักษณะสีอย่างธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป โดยเฉพาะที่มีสีสันสดใสเกินจริงค่ะ ทางที่ดีเลือกทานอาหารใหม่สดจากธรรมชาติ และปรุงอาหารทานเองจะปลอดภัยมากยิ่งกว่าค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com