ดีปลี..ขับเสมหะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ!!
advertisement
ดีปลี เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการนำมาปรุงอาหาร เพราะมีรสชาติที่เผ็ด สามารถนำมาใช้แทนพริกหรือพริกไทย ได้ ปัจจุบันดีปลีได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะนอกจากจะใช้ในการปรุงอาหารยังมีสรรพคุณในการรักษาอีกด้วยอีกด้วย วันนี้ Kaijeaw.com จะพาไปดูประโยชน์ของดีปลีค่ะ
advertisement
ลักษณะของดีปลี
ต้นดีปลี มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas) ในมหาสมุทรอินเดีย แต่ได้มีการนำมาปลูกและแพร่กระจายในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้เถามีรากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะและเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็ง มีข้อนูน แตกกิ่งก้านสาขามาก เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น มีแสงแดดรำไร
ใบดีปลี มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีเส้นใบออกจากโคนประมาณ 3-5 เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
advertisement
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้ผล ขับลม ลดอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด บำรุงธาตุไฟ แก้ปวดท้อง แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ตับพิการ แก้ท้องร่วง แก้ไอ บีบมดลูก บำรุงธาตุ ใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ขับเสมหะ แก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ แก้ลมวิงเวียน เป็นยาระงับแก้อาการนอนไม่หลับ โรคลมบ้าหมู เป็นยาขับน้ำดี เมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำดี ยาขับระดูและทำให้แท้งลูก เป็นยาขับพยาธิในท้อง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ใช้ปรุงเป็นยาทาภายนอกสำหรับบรรเทาอาการปวดที่กล้ามเนื้อ ทำให้ร้อนแดงและมีเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณนั้นมากขึ้น แก้อักเสบ ฝนเอาน้ำทาแก้ฟก บวม ใส่ฟัน แก้ปวดฟัน
advertisement
ตำรายาไทย: ดีปลีจัดอยู่ใน “พิกัดตรีกฎุก” แปลว่าของที่มีรสร้อน 3 อย่าง เป็นพิกัดยาที่ประกอบด้วยเครื่องยา 3 อย่าง ในปริมาณเสมอกันคือ พริกไทย ขิงแห้ง และดีปลี มีสรรพคุณแก้โรคที่เกิดจากวาตะ(ลม) เสมหะ และปิตตะ(ดี) ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน “พิกัดตรีสันนิบาตผล(ตรีสัพโลหิตผล)" คือการจำกัดตัวยาแก้ไข้สันนิบาต 3 อย่าง คือ ผลดีปลี รากพริกไทย และรากกระเพราแดง มีสรรพคุณแก้ไข้สันนิบาต แก้ในกองลม บำรุงธาตุ แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ “พิกัดตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด” คือการจำกัดจำนวนตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด คือ ดีปลี พริกไทย ผลผักชีลา ใบแมงลัก ผลกระวาน ใบโหระพา มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม ช่วยย่อยอาหาร “พิกัดเบญจกูล” คือการจำกัดจำนวนตระกูลยาที่มีรสร้อน 5 อย่าง มี เหง้าขิงแห้ง ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง มีสรรพคุณกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์
ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์ : ปรากฏตำรับ “ยาอาภิสะ” มีดีปลีเป็นองค์ประกอบหลักร่วมกับสมุนไพรอื่นอีกหลายชนิด มีสรรพคุณแก้ริดสีดวง ไอ ผอมแห้ง แก้เสมหะในทรวงอกและลำคอ
advertisement
1. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ
โดยใช้ผลดีปลีแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-12 ผล) เติมน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้ม 10-15 นาที ดื่มแต่น้ำวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
2. อาการไอ และขับเสมหะ
โดยใช้ผลแก่แห้ง ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือเล็กน้อย กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆให้เติมน้ำพอควร
นอกจากจะมีสรรพคุณในการขับเสมหะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยังมีสรรพคุณอีกหลายด้านอาทิเช่น
1.ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้ดอกดีปลี 10 ดอก หัวแห้วหมู 10 หัว พริกไทย 10 เม็ด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งแท้ ใช้รับประทานก่อนนอนทุกคืน (ดอก)
2.ช่วยแก้โรคลมบ้าหมู (ผล)
3.ผลแก่จัดของดีปลีช่วยบีบมดลูกและใช้เป็นยาขับระดูของสตรี (ผลแก่จัด)
4.ช่วยแก้ตับพิการ (ผล, ดอก)
5. ผลแก่จัดใช้ปรุงเป็นยาทาภายนอก แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้ร้อนแดงและช่วยให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น (ผลแก่จัด)[ads]
6.ช่วยระงับอชินโรคหรือโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือมักเป็น ๆ หาย ๆ (ผล)
7.ช่วยแก้ตัวร้อน (ราก)
8.ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก, เถา)
9.ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (เถา)
10.ช่วยแก้ไข้เรื้อรัง หรืออาการไข้ที่มักเป็น ๆ หาย ๆ ด้วยการใช้ดอกดีปลีล้างสะอาด นำมาบดหรือตำพอหยาบ ๆ ประมาณครึ่งแก้ว นำมาต้มกับน้ำ 4 แก้ว จนเหลือ 1 แก้ว แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มกินขณะท้องว่างวันละ 2 ครั้ง และสูตรนี้ยังช่วยลดอาการม้ามโตได้อีกด้วย (ดอก)
ดีปลีนอกจากจะเป็นเครื่องเทศหรือเครื่องปรุงที่ใช้ในการปรุงอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางด้านยาที่ช่วยรักษาโรคในด้านอื่นอีกหลายโรค ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่หาได้ง่ายขึ้น เพราะปัจจุบันมีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย จึงไม่มีปัญหาในการที่จะหามาบริโภคหรือนำมาใช้ในการรักษา เห็นแบบนี้แล้วคนที่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าวก็ควรหันมาบริโภคดีปลี หรือนำมาปลูกติดบ้านไว้ก็จะดีมากค่ะ
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com