ดูแลตัวเองอย่างไรหลังบริจาคโลหิต
advertisement
“โลหิต” เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่สูญเสียเลือด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ป่วยมะเร็ง ฯลฯ การได้บริจาคโลหิต ก็เท่ากับว่าเป็นการได้ช่วยเหลือชีวิตของเพื่อมนุษย์ด้วยกัน ได้บุญอีกด้วย สำหรับหลายๆ คนแล้ว การบริจาคโลหิตอาจฟังดูน่ากลัว เพราะมีบางเหตุการณ์ที่ผู้บริจาคนั้นหน้ามืดเป็นลม หรือกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่างๆ แต่ความเป็นจริงแล้วหากว่าเราดูแลตัวเองให้ดีหลังบริจาคโลหิต ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลค่ะ สำหรับใครที่ต้องการไปบริจาคโลหิต Kaijeaw.com ก็มีข้อแนะนำในการดูแลตัวเองหลังบริจาคโลหิตมาแนะรำกันค่ะ[ads]
คุณสมบัติของผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้
– เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
– อายุ 18 – 60 ปี
– น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป
– ไม่อยู่ในระหว่างรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาป้องกันเลือดแข็งตัว ฮอร์โมนเพศ
– ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี
– ไม่ได้รับการถอนฟันหรือขูดหินปูน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด ไม่มีบาดแผลสดหรือแผลติดเชื้อใดๆ ตามร่างกาย
– หญิงที่ไม่อยู่ในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
advertisement
ผู้ที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้
– ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด มะเร็ง ลมชัก โรคเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก
– ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือคู่ครอง(สามีหรือภรรยา)เป็นไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอสไอวีหรือซิฟิลิส
– ผู้เสพยาเสพติดชนิดใช้เข็มฉีดยา
– ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย
– น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายโต หรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
advertisement
ในการบริจาคเลือดแต่ละครั้งนั้น เราจะต้องเสียปริมาณเลือดประมาณ 350 – 450 ซีซี จากทั้งหมดที่มีในร่างกายประมาณ 4,000-5,000 ซีซี หรือคิดเป็น 8% ของน้ำหนักตัวของผู้บริจาค หลังจากการบริจาคโลหิตเรียบร้อยแล้ว เราจึงรู้สึกอ่อนเพลียเป็นธรรมดา เนื่องจากร่างกายต้องสร้างเซลล์เม็ดเลือดขึ้นมาทดแทน ดังนั้น การดูแลตนเองอย่างถูกต้องหลังจากการบริจาคโลหิตจึงสำคัญต่อร่างกายที่สมบูรณ์เร็วขึ้น ดังนี้
1. นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
2. ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และควรดื่มน้ำมากกว่าปกติ ต่อเนื่องเป็นเวลา 1-2 วัน
3. ไม่ควรรีบเร่งกลับในทันที นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
4. หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียง หรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้มได้
advertisement
5. หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบแพทย์, พยาบาล
6. หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงาน ปีนป่วยที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
7. งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
8. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
9. รับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ ตับ ไข่ เลือดหมู เลือดไก่ ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง
advertisement
10. งดสูบบุหรี่หลังบริจาคโลหิตอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และถ้าจะดื่มผู้บริจาคโลหิตควรรับประทานอาหารให้มากพอก่อนดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์
ข้อควรรู้ : หลังจากที่ท่านได้บริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน ให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ซึ่งทิ้งระยะไว้ สำหรับผู้ชาย 3 เดือน ผู้ชาย 6 เดือน ก็จะสามารถทำการบริจาคโลหิตได้อีกครั้งหนึ่ง[ads]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ผู้บริจาคโลหิตต้องมี คุณก็สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ และไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะเป็นอันตรายหลังการบริจาคโลหิต เพียงแค่ปฏิบัติตนตามคำแนะนำที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com