ทนายดังเตือนภัย!! ไปทัวร์ฝั่งลาว ระวังเจอตม.แกล้งลืมประทับตา เรียกเงินกว่า 8 พันบาท
advertisement
เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยมีประสบการณ์การไปเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านด่านชายแดนต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะไปแล้วกลับเลย ไปดูของที่ราคาถูกๆติดไม้ติดมือกลับมา และอย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าไปต่างประเทศมาแล้ว แต่ในการไปประเทศเพื่อนบ้านนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะเดินไปได้ตามสบายใจ จะต้องเจอกับด่านการตรวจสอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกฏหมาย และหากกระทำผิดกฏหมายในด้านนี้ละก็ เป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว
advertisement
"ปกติการเดินทางข้ามพรมแดน ไทย – ลาว ผมไม่เคยพบปัญหา โดยเฉพาะข้ามไป สปป.ลาว และนำรถยนต์ส่วนตัวข้ามไป ฝั่งเชียงของ – แขวงบ่อแก้ว
ผมได้รับการดูแล และอำนวยความสะดวก โดยเจ้าหน้าที่ไทย ทั้งในส่วน ตรวจคนเข้าเมือง และ ศุลกากร ซึ่งเดินทางเข้าใน สปป.ลาว ในระดับ VIP ที่ฝั่งไทย จัดทำเอกสารให้ และถึงฝั่งลาว จึงได้รับการอำนวยความสะดวก ที่ผ่านมาจึงไม่พบปัญหา
แต่…ผมก็เคยได้ยินได้อ่าน บทความที่มีการแชร์เตือนต่อๆกันมา ว่าให้คนไทย ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว สปป.ลาว ชายแดนฝั่งอุบลราชธานีว่า
เวลาที่ข้ามไป สปป.ลาว เจ้าหน้าที่ ตม.ของลาว จะแกล้งลืม ประทับตรา ในหนังสือเดินทาง หรือ ใบอนุญาตผ่านแดนชั่วคราว และเข้าไปแล้วไม่ได้ตรวจตราให้ดี ก่อน ก็อาจคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร แต่เวลากลับมาเพื่อที่จะกลับมาฝั่งไทย ก็จะเกิดปัญหา คือ ทาง ต.ม ของฝั่งลาว จะกักตัวไว้ โดยอ้างว่า เราเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะไม่มีรอยประทับตราในหนังสือเดินทาง ถึงตอนนั้น เราจะทำอะไรไม่ถูก และต้องยอมเสียค่าปรับเป็นหลายพันบาท
เรื่องนี้ ตอนแรกผมก็เฉยๆ คิดว่า คนนำมาโพ๊ส กล่าวเกินจริง เพราะผมยังไม่เจอ
ต่อมาเมื่อวันทีี่ 17 สิงหาคม 2559 ผม พาคุณแม่และคุณน้า เดินทางไป สปป.ลาว ที่เวียงจันทร์ โดยผ่านพรมแดน ด้านจังหวัดหนองคาย
ในส่วนบ้านเราไม่มีปัญหา แต่เมื่อมาถึงฝั่ง สปป.ลาว ผมก็นำเอกสารของผู้เดินทาง คือ หนังสือเดินทาง และ ใบอนุญาตผ่านแดนชั่วคราว เข้าไปติดต่อ ตรวจคนเข้าเมือง และ ศุลกากร ลาว ทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งต้องใข้เวลาในการกรอกเอกสารพอสมควร
รวมทั้งกรอกรายละเอียดของผู้ติดตาม อีก 2 ท่านด้วย ซึ่งเราจะได้แบบฟอร์ม ฝั่ง สปป.ลาวมาเขียนเยอะมาก
เมื่อเขียนเสร็จ ผมก็นำเอกสาร ไปให้ ตม.และศุลกากร ลาว ตรวจสอบ เมื่อเขาตรวจเสร็จ เขาก็ประทับตรา ในหนังเดินทาง และ หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนั้น ผมเห็นเจ้าหน้าที่ของลาว ทั้ง ตม.และศุลกากร ประทับตรา ทั้งสองหน่วยงานแน่ๆ เพียงแต่เอกสารมีจำนวนมาก จึงไม่รู้ว่า เขาประทับตราอะไรบ้าง
เมื่อผ่านการตรวจ จาก ตม.และ ศุลกากรแล้ว ต้องนำมาให้เจ้าหน้าที่อีกท่านหนึ่งเซ็นเอกสาร ในระหว่างการตรวจเอกสาร ปรากฎว่า ใบอนุญาตผ่านแดนชั่วคราว ของ คุณแม่ และของน้า รวมทั้ง หนังสืออนุญาตรถยนต์ระหว่างประเทศ ไม่มีการประทับตรา แต่อย่างใด
เมื่อผมตรวจพบ ผมจึงแจ้งให้หัวหน้า คนนั้นทราบ ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะรู้เห็นกับการที่ข้าราชการ 2 ท่าน จงใจไม่ประทับตราหรือไม่ เพราะ เขาบอกผมว่า ไม่ต้องประทับตราก็ได้
ด้วยความไม่สบายใจ จึงโทรกลับมาสอบถาม ตรวจคนเข้าเมืองฝั่งไทย ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่รู้จักกันเป็นส่วนตัว ท่านยืนยันว่า ต้องประทับตรา ในเอกสาร
ผมจึงแจ้งเจ้าหน้าที่คนนั้นว่า ตม.ไทย ยืนยันว่า ต้องประทับตราครับ
เขาจึงให้ผมนำเอกสาร กลับไป ที่ ตม.และ ศุลกากร เพื่อประทับตราอีกครั้ง
เมื่อเดินทางไปเวียงจันทร์กลับมาแล้ว จนถึงไทยโดยสวัสดิภาพ ผมได้ยินว่า มีคนไทย 3 คน ไม่ได้ประทับตรา ถูกปรับ คนละ 8,000 บาท
เรื่องนี้ผมไม่อยากกล่าวหาว่า ตม.ลาว และ ศุลกากร ลาว จงใจไม่ประทับตรา ในใบผ่านแดนชั่วคราวของ คุณแม่ และน้าผม รวมทั้ง ในหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศหรือไม่
แต่มันเป็นอุทาหรณ์ นำมาเล่าสู่กันฟังว่า เวลาเราไปเที่ยวกันหลายๆคน เอกสารหลายใบ เราควรตรวจสอบให้รอบครอบทุกๆครั้ง ครับ"
ภาพที่ลืม
advertisement
advertisement
advertisement
เป็นความรู้ที่อาจจะไม่ใหม่นักสำหรับขาทัวร์ แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ ดังนั้นจึงควรศึกษาและตรวจสอบให้ละเอียดตามขั้นตอนทุกครั้งหากมีโอกาสไปเที่ยวแบบนี้ค่ะขอบคุณที่มาจาก : ทนายเกิดผล แก้วเกิด เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com