ตองแตก..แก้โลหิตจาง เป็นยาระบาย
advertisement
“ตองแตก” เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น สมุนไพรต้นนี้มีเอกลักษณ์เด่น ๆ ที่อยู่ในต้นเดียวกัน ทั้งใบแฉกและใบที่ไม่แฉก ในบางใบสองแฉกบ้างสามแฉกบ้าง จัดเป็นพรรณไม้ที่มีอายุอยู่ได้นานและทนทานตายยาก ขึ้นในป่าดิบ ป่าไผ่ และตามที่รกร้างทั่วไป แต่ก็มีสรรพคุณทางสมุนไพรที่โดดเด่นในเรื่องของใช้เป็นยาระบายค่ะ ตองแตก มีลักษณะอย่างไร และมีสรรพคุณทางสมุนไพรอย่างไรบ้างนั้น ตาม Kaijeaw.com มาค่ะ
สมุนไพรตองแตก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Baliospermum montanum Muell.A มีชื่อพ้อง Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) และมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ว่า นองป้อม ลองปอม (เลย), ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์), ทนดี (ตรัง), เปล้าตองแตก (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ถ่อนดี (ภาคกลาง), โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยาบูเวอ เป็นต้น
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสมุนไพรตองแตก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น ก้านใบเรียวยาว ยาว 2-6 ซม. ยอดอ่อนมีขน ใบ เดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กัน
advertisement
ใบที่อยู่ตามปลายยอดรูปใบหอกหรือรูปรี กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. ใบที่ตามโคนต้นมักจักเป็นพู 3-5 พู รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือเกือบกลม กว้างประมาณ 7.5 ซม. ยาว 15-18 ซม. โคนสอบหรือมน มีต่อม 2 ต่อม ปลายแหลม ขอบหยักแบบฟันเลื่อยห่างๆ ไม่สม่ำเสมอ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น และออกสองข้างของเส้นกลางใบ ข้างละ 5-8 เส้น เส้นใบด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน เนื้อบาง [ads]
advertisement
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรือบนช่อเดียวกัน ช่อดอกเล็กเรียว ยาว 3.5-12 ซม. ดอกเพศผู้ มีจำนวนมาก อยู่ทางตอนบนของช่อ ดอกมีรูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มม. ก้านดอกย่อยเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย ยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ รูปกลม ไม่มีกลีบดอก ฐานดอกมีต่อม 4-6 ต่อม เกสรเพศผู้มี 15-20 อัน อับเรณูคล้ายรูปถั่ว ดอกเพศเมียออกที่โคนช่อ กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายแหลม ขอบจัก ฐานดอกเป็นรูปถ้วยสั้นๆ รังไข่มี 3 พู ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ม้วนออก ผล เป็น 3 พู กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 0.8 ซม. ปลายบุ๋ม มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ 2 อัน โคนผลกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่แตกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เมล็ด รูปขอบขนาน
advertisement
ตองแตก ขึ้นในป่าดิบ ป่าไผ่ และตามที่รกร้างทั่วไป ถึงระดับความสูง 700 เมตร เขตกระจายพันธ์ ตั้งแต่อินเดีย (พบไม้ต้นแบบ) ปากีสถาน บังคลาเทศ ลงมาถึงพม่า อินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย
ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์คือ ราก ใบ เมล็ด [yengo]
สรรพคุณทางสมุนไพรของตองแตก
ราก
– เป็นยาถ่าย ถ่ายไม่ร้ายแรงนัก ถ่ายลมเป็นพิษ ถ่ายพิษพรรดึก ถ่ายเสมหะเป็นพิษ (และมีคุณคล้ายหัวดองดึง) ถ่ายแก้น้ำดีซ่าน
– ใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง
– ช่วยขับปัสสาวะ
– เป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย
– แก้บวมน้ำ แก้ดีซ่าน แก้ม้ามอักเสบ
ใบ, เมล็ด – เป็นยาถ่าย ยาถ่ายพยาธิ แก้ฟกบวม
ใบ
– เป็นยาแก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ เป็นยาแก้โรคหืดหอบ
– ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคกระเพาะ
– พอกแผล ห้ามเลือด
advertisement
เมล็ด – เป็นยาถ่ายชนิดแรงมาก (จึงไม่นิยมใช้)
ทั้งต้น
– ต้มน้ำอาบ สำหรับผู้หญิงหลังคลอด ช่วงอยู่ไฟ
– ใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี
น้ำยางจากยอดอ่อน – ใช้ใส่รักษาแผลทั้งสดและเรื้อรัง แผลโรคปากนกกระจอก
น้ำมันจากเมล็ด – ใช้เป็นยาทาแก้อาการปวดตามข้อ
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
– ใช้ใบ 2-4 ใบ หรือ ราก 1 หยิบมือ ยาไทยนิยมใช้ราก 1 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อยรับประทาน
– เมล็ดใช้ภายนอกนำมาตำหรือบดทาบริเวณที่ปวดเมื่อย ทำให้ร้อนและเลือดไหลเวียน ช่วยกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ทา
ข้อควรระวัง : เมล็ดใช้เป็นยาถ่าย แต่เป็นชนิดอย่างแรงมาก (แรงกว่าราก) และภายในเมล็ดจะมีน้ำมันที่เป็นพิษมาก ซึ่งเป็นยาถ่ายอย่างแรงถึงกับถ่ายเป็นน้ำ
ตองแตก อาจเป็นพืชพรรณไม้ที่เราพบเห็นได้ทั่วไป คล้ายต้นไม้ต้นหญ้าที่เกิดตามพื้นที่รกร้าง และดูไม่สวยงาม ไม่มีประโยชน์อะไร แต่แท้จริงแล้วตองแตกก็เป็นพืชอีกชนิดที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ตามตำราโบราณที่มีมาคู่คนไทยแต่อดีต นับเป็นสมุนไพรดีๆ ที่เราควรอนุรักษณ์กันนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com