ตะคร้อ…ผลไม้ พืชบ้าน เป็นยาดีรักษาโรค
advertisement
ตะคร้อ ผลไม้ป่าชนิดหนึ่ง ที่คนเมืองมักจะไม่รู้จักเอาเสียเลย แต่ชาวบ้าน ชนบทที่อยู่ใกล้แหล่งป่าธรรมชาติจะรู้จักกันดี ผลตะคร้อเมื่อสุกแล้วนำมารับประทานเป็นผลไม้ได้ มีรสเปรี้ยวฝาด ทานได้สดๆ หรือนำมาจิ้มพริกเกลือ เหมาะแก่การนำมาทำเครื่องดื่มดับกระหายในหน้าร้อนได้ รวมถึงนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทยำ และด้วยตะคร้อมีรสเปรี้ยวๆ นี่เองจึงสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมะนาวได้ ในฤดูร้อนซึ่งมะนาวมีราคาแพง นอกจากนี้แล้วตะคร้อยังมีสรรพคุณอีกมากมายที่เชื่อว่าหลายคนคาดไม่ถึง บอกได้เลยว่าตะคร้อเป็นผลไม้ที่ไม่ควรพลาด ! ตาม Kaijeaw.com ไปรู้จักกับตะคร้อให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ
advertisement
ตะคร้อ เป็นหนึ่งพืชที่อยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Schleichera oleosa (Lour.) Merr เรียกเป็นภาษาอังกฤษชื่อสามัญ Ceylon oak มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า กาซ้อง คอส้ม (เลย), เคาะ (นครพนม, พิษณุโลก), ค้อ (กาญจนบุรี), เคาะจ้ก มะเคาะ มะจ้ก มะโจ้ก (ภาคเหนือ), ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง), ซะอู่เสก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กาซ้อ คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปั้นรั้ว (เขมร-สุรินทร์), ปั้นโรง (เขมร-บุรีรัมย์), บักค้อ ตะค้อ หมากค้อ เป็นต้น มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งก้านมักคดงอ ลำต้นเป็นปุ่มปมและพูพอนเปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดโดยสามารถพบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร
ตะคร้อถือเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูงอีกชนิดหนึ่ง โดยตะคร้อปริมาณ 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
จากข้อมูลการวิเคราะห์การห้องปฏิบัติการศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พบว่าคุณค่าทางด้านโภชนาการของน้ำคั้นจากผลตะคร้อ 100 กรัม ประกอบด้วย[ads]
advertisement
– ไขมัน 1.14 กรัม
– โปรตีน 0.93 กรัม
– ความชื้น 87.2 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 9.82 กรัม
– เส้นใย 0.16 กรัม
– วิตามินบี1 0.748 มิลลิกรัม
– วิตามินบี2 0.097 มิลลิกรัม
– วิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม
– วิตามินซี 3.68 มิลลิกรัม
– แคลเซียม 154.47 มิลลิกรัม
– เหล็ก 2.12 มิลลิกรัม
advertisement
ตะคร้อกับสรรพคุณทางยา
แก่น : แก้ฝีหนอง
เปลือก : เป็นยาสมานท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ใช้เป็นยารักษาผิวหนังอักเสบ และแผลเปื่อยได้ดี ช่วยแก้ฝีหนอง มีงานวิจัยได้ศึกษาฤทธิ์ทางยาของส่วนเปลือกลำต้นตะคร้อ โดยการทดสอบฤทธิ์ในหนูทดลอง พบว่ามีส่วนช่วยลดปริมาณน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะป้องกันและลดการอักเสบอันเนื่องมาจากแผลในกระเพาะอาหารได้
ใบ : แก้ไข้ ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็น ช่วยถ่ายฝีภายใน รักษาฝี
ราก : มีสรรพคุณเป็นยาถอนพิษ
เมล็ด : เมล็ดที่บดแห้งสามารถใช้ในแผลอักเสบของสัตว์พวกวัว-ควาย เพื่อกำจัดหนอนและแมลงที่ตอมแผล
น้ำมันจากเมล็ด : น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด หรือ Kusum oil บำรุงผมแก้ผมร่วง ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันที่ใช้ตกแต่งทรงผม และช่วยแก้อาการปวดไขข้อได้
advertisement
ตัวอย่างใช้ตะคร้อรักษาโรคต่าง ๆ ได้แก่
– เป็นยาแก้ไข้ โดยใบแก่นำมาขยี้กับน้ำ แล้วนำมาเช็ดตัว
– เป็นยาระบาย รับประทานเนื้อผลช่วยให้ระบาย ระวังไม่รับประทานมากไปจะทำให้ท้องเสียได้ – ช่วยแก้อาการท้องร่วง บ้างว่าใช้แก้บิด มูกเลือดได้ด้วย โดยนำเปลือกต้นมาตำกิน
– แก้อาการท้องเสีย เปลือกต้นตะคร้อนำมาแช่กับน้ำดื่ม โดยใช้ร่วมกับเปลือกต้นมะกอก เปลือกต้นเป๋ยเบาะ เปลือกต้นตะคร้ำ[ads]
– ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือนได้ โดยดื่มน้ำต้มจากเปลือกต้นตะคร้อ
– รักษาฝี ใบใช้ตำพอกบริเวรที่เป็นฝี
– ยาแก้ฝีหนอง เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ฝีหนอง
– แก้อาการปวดไขข้อได้ ใช้น้ำมันจากเมล็ดมาใช้นวดแก้อาการปวดไขข้อ
advertisement
ตะคร้อ กับประโยชน์เพื่อสุขภาพ
ตะคร้ออุดมด้วยวิตามินซีและแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้ป่วยบ่อยๆ โดยเฉพาะไข้หวัด มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน จึงช่วยให้ผิวแข็งแรงและดูอ่อนเยาว์ ตะคร้อมีไฟเบอร์ที่ช่วยในการขับถ่าย และยังมีรสเปรี้ยว ออกฤทธิ์ช่วยในการระบาย ป้องกันปัญหาท้องผูก นอกจากนี้แล้วยังพบกรดอินทรีย์หลายชนิด ได้แก่ กรดออกซาลิก กรดทาร์ทาริก กรดฟอร์มิก กรดแล็กติก และกรดชิตริก เป็นต้น ซึ่งกรดอินทรีย์ที่พบในผลไม้เหล่านี้ ช่วยส่งเสริมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และยังเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางต่างๆ มีประโยชน์ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวอย่างเป็นธรรมชาติ
แม้ว่าตะคร้อจะเป็นเพียงผลไม้ป่าธรรมดาๆ ที่หลายๆ คนไม่สนใจ เมื่อได้ทราบประโยชน์เช่นนี้แล้ว เชื่อว่าต้องเปลี่ยนใจกันแล้วล่ะค่ะ สำหรับใครที่สนใจอยากจะกินตะคร้อ จะสามารถหาทานได้ในช่วงฤดูร้อนนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com