ต่างประเทศมีมุมมองเกี่ยวกับ สินสอดของไทยยังไงบ้าง?

advertisement
"กว่าจะโตมาขนาดนี้ แม่ต้องเสียเงินไปเท่าไหร่ ทั้งค่าเทอม ค่าเรียนซัมเมอร์ที่ต่างประเทศ ค่าเสื้อผ้า เครื่องสำอาง ถือซะว่าเป็นค่าน้ำนมแล้วกันนะ" หากถามว่าประโยคดังกล่าวพูดถึงอะไร คนไทยเกือบทุกคนคงจะตอบได้ทันทีว่า “สินสอด” สินสอดเป็นธรรมเนียมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในสังคมไทย
แต่ในมุมมองของต่างประเทศ เขาคิดอย่างไรกันบ้างเกี่ยวกับ "สินสอด" ของประเทศไทย โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อคุณ "Saudee Malee"ได้ออกมาตั้งคำถามเล่าว่า.."ต่างประเทศมีมุมมองเกี่ยวกับ "สินสอด"ของประเทศไทยยังไงบ้างครับ"
advertisement

ความคิดเห็นชาวเน็ต
advertisement

"คำว่า สินสอด ในบริบทแต่ละครอบครัวของคนไทยยังต่างกันเลยค่ะ บางคนคิดว่าขายลูกกิน แต่บางครอบครัวที่เค้ามีความรู้ มีทัศนคติที่ดี เค้าก็แค่อยากจะดูความสามารถของผู้ชายที่จะมารับดูแลลูกเค้าเท่านั้น พ่อแม่บางคนก็คืนเงินให้ลูกทั้งหมด เพื่อเอาไปตั้งตัว ดังนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบกันจริงๆ ก็คงยาก"
advertisement

"ถ้าอย่างอเมริกา เขาออกจากบ้านไปอยู่กับคู่ตั้งแต่อายุ 17-18 ปีแล้วครับ กลับมาหาพ่อแม่อีกทีก็อาจจะมีลูกแล้ว สินสอดคืออะไรไม่รู้จัก no need, it's ridiculous"
advertisement

"เอาเป็นมาตรฐานไม่ได้ครับ มันไม่ใช่ กม แต่เป็นจารีต คุณเอามุมมอง ตปท มาตัดสินไม่ได้"
advertisement

"มันเป็นประเพณีซื้อขายที่สืบทอดกันมายาวนานมากๆจนแยกไม่ออกว่าเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี เพราะปัจจุบันคน2คนพ่อแม่ก็เลี้ยงดูมาจนเติบโตได้ดีเท่าๆกัน เพศหญิงหรือชายก็สิทธิเท่าเทียมกัน ถ้าเค้าจะให้ก็ให้ด้วยความเต็มใจอะ ไม่ใช่ไปเรียกร้องเอาเท่าไหร่ มันเหมือนซื้อ-ขายไม่รู้อะคิดว่าไร้สาระนะเรื่องนี้มันไม่ค่อยแฟร์ กับคู่ชีวิตเท่าไหร่"
advertisement

"สินสอดต้นกำเนิดน่าจะมาจากจีน ฝั่งเจ้าสาวเรียกสินสอดตามตกลงจากฝ่ายชาย แล้วฝั่งเจ้าสาว ต้องวางสินสอดให้มากกว่าที่ฝ่ายชายหามา เรียกว่าถมสินสอด
ไทยเรารับมาแค่ครึ่งเดียว คือให้เจ้าบ่าวออกค่าสินสอด แล้วฝ่ายหญิงจัดงาน ส่วนตัวผมไม่อินกับเรื่องสินสอด แต่งให้พอเป็นพิธีก็พอ สิ่งสำคัญกว่าคือการอยู่ร่วมกัน ส่วนถ้ามีลูกสาว ผมก็จะไม่เรียกสักบาท เพราะฝ่ายชายเค้าก็มีพ่อแม่เลี้ยงดูเหมือนกัน แค่ให้มาขอให้ถูกต้องก็พอ"
advertisement

"บ้านเราเรียกสินสอด เพื่อดูความสามารถที่จะดูแลเราของฝ่ายชายค่ะ ถึงเวลาคืนให้หลานหมด ทั้งสินสอดและทองหมั้น บางครั้งการเรียกก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหรอกค่ะ คงแค่ห่วงอนาคตลูก ในกรณีได้เขยไม่ดี"
ในสายตาของชาวต่างชาติที่ไม่ได้เติบโตมาในวัฒนธรรมบ้านเราอาจมองว่า การที่พ่อแม่ของฝ่ายหญิงเรียกค่าสินสอดนั้นก็คล้ายๆ กับการขายลูกสาว ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจขึ้นมา ยิ่งครอบครัวไหนเรียกค่าสินสอดแพงหูฉี่ ก็อาจจะยิ่งทำให้เกิดปัญหาเข้าไปกันใหญ่ จากที่รักกันดีๆ อาจจะทะเลาะกัน บานปลายไปจนถึงขั้นเลิกรากันก็ได้ สาวๆ หลายคนอาจจะต้องกลับมากุมขมับ เพราะเจอกับปัญหาก้อนใหญ่นั่นก็คือ “สินสอด” นั่นเอง
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มา : Saudee Malee