ถั่วแฮ (ถั่วแระ) สมุนไพรพื้นบ้านที่ถูกลืม..เปี่ยมด้วยคุณค่า!!
advertisement
ถั่วแระ (ถั่วแฮ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cajanuscajan (Linn.) Millsp.
ชื่อพ้อง : CajanusindicusSpreng.
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
ชื่ออื่นๆ : ถั่วแระ ถั่วแระผี ถั่วแม่ตาย (กลาง) ถั่วแรด (ชุมพร) มะแฮะ มะแฮะต้น ถั่วแระต้น (เหนือ) ย่วนตูแฮะ(ปะหล่อง), เปล๊ะกะแลง(ขมุ), มะแฮะ(ไทลื้อ), พะหน่อเซะ, พะหน่อซิ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม
ลำต้น : ตั้งตรง สูง 1-3.5 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยง สีเขียวหม่น ลำต้นแก่มีสีม่วงแดง มักแตกเป็นร่องสีน้ำตาล
ใบ : ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดเล็ก ปลายใบแหลม คล้ายใบขมิ้นต้น ผิวใบทั้งสองด้านมีขนสีขาวนวล กว้าง 1-3.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-10 เซนติเมตร
ดอกช่อ : คล้ายดอกโสน ออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองมีขอบสีน้ำตาลแดง
ผล : เป็นฝักแบนยาว สีม่วงเข้มปนเขียว เป็นห้องๆ มีขน
เมล็ด : เมล็ดเท่าเมล็ดถั่วเหลือง ฝักและเมล็ดเหมือนถั่วเหลือง ฝักหนึ่งแบ่งออกเป็น 3-4 ห้อง ข้างในมีเมล็ดกลม แบนเล็กน้อย ห้องละ 1 เมล็ด มักปลูกเป็นอาหาร ใช้ฝักแก่ต้มกินเหมือนถั่ว หรือกินฝักสดเป็นผัก มีรสฝาด
ขยายพันธุ์โดย : เมล็ด มีทั้งถั่วแระขาวและถั่วแระแดง สามารถเจริญเติบโตได้ทุกสภาพแวดล้อม
[ads]
advertisement
ประโยชน์ของถั่วแระ (ถั่วแฮ)
ใบมีประโยชน์สามารถทำปุ๋ยได้ ถั่วมะแฮะเป็นที่รู้จักดีตั้งแต่เหนือจรดอีสาน เค้านิยมปลูกเสริมแปลงผลไม้ เพื่อให้ใบร่วงหล่นมาเป็นปุ๋ยบนหน้าดินแก้พืช ด้วยที่ว่าถั่วมะแฮะมีรากแก้วที่ลึกและรากแขนงที่มาก จึงสามารถหาอาหารได้ดี ทนต่อแล้ว แต่ไม่ชอบน้ำขัง
นิยมนำมารับทานฝักอ่อน จะสามารถทานได้ทั้งผัก ไม่ต้องแกะ รสมันปนฝาด แต่ถ้าฝักแก่หน่อย จะนิยมแกะทานเมล็ดครับ ในเมล็ดสด จะมีโปรตีนสูงมากถึง 70% แต่ถ้าเมล็ดแห้งจะแหลือแค่ 19% หน่อยๆ นอกจากนั้นก็ยังมีสารอาหารเพียบ ทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินเอ แถมยังมีไขมันต่ำ
[yengo]
advertisement
สรรพคุณ
ตำรายาไทย
ราก : รสฝาดเฝื่อน รักษาไข้ ถอนพิษ ขับผายลม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ปัสสาวะแดงขุ่น ปัสสาวะน้อย ช่วยละลายนิ่วในไต
ใบ : ช่วยแก้อาการไอ ใส่แผลในปากหรือหู ขับลม ขับผายลม แก้ท้องเสีย รักษาบาดแผล แก้เส้นเอ็นพิการ
เมล็ด : บำรุงกำลัง ช่วยลดระดับคอเลสเตรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย รักษาน้ำเบาเหลืองและแดงดังสีขมิ้น หรือน้ำเบาออกน้อย
ต้นและใบ : รักษาเส้นเอ็นพิการ และใช้ขับผายลมลงเบื้องต่ำ ราก เป็นยาขับละลายก้อนนิ่วที่เกิดจากไต ช่วยกระตุ้นให้ไตทำงาน
ฝักต้มหรือฝักสด : แก้ท้องร่วง
ใบ : ใช้แก้ไอ แก้ท้องเสีย น้ำคั้นจากใบ ใส่แผลในปากหรือหู
ตำรายาพื้นบ้าน
ใช้ ทั้งต้น 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 3 ครั้ง รักษาอาการตกเลือด ไข้ทับระดู
ทั้งฝัก รสมันเฝื่อนเล็กน้อย บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูก เส้นเอ็น ราก รสเฝื่อน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปัสสาวะน้อย ขับปัสสาวะ ใบ ขับลมลงเบื้องต่ำ แก้เส้นเอ็นพิการ
การทดลองในสัตว์
พบว่าสารสกัดเมล็ดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก/ References:
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : phargarden.com
เวปไซต์เกษตรดีดี ดอทคอม (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก : kasetdd.com
ศูนย์ข้อมูลกลางกระทรวงวัฒนธรรม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : m-culture.in.th