ไขข้อข้องใจทำไม นักวอลเลย์ถึงติดเชื้อเยอะทั้งที่ฉีดวัคซีนแล้ว
advertisement
เชื่อว่าหลายๆท่านคงจะได้ทราบข่าวว่านักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ติดเชื้อไวรัสรวดเดียว 26 คน ทั้งที่ฉีดวัคซีนแล้ว จนเกิดคำถามถึงเรื่องของประสิทธิภาพของตัววัคซีน ให้วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมาย โดยทางเฟซบุ๊กคุณ Watthanapong Suphamongkholchaikul ได้ออกมาเผยว่า
advertisement
นักวอลเลย์บอลชุดนี้น่าจะได้ฉีดวัคซีนในวันที่ 29 เมษายน โดยที่วัคซีนที่ได้รับ น่าจะเป็น SinoVac และมีนัดฉีดวัคซีนเข็มถัดไป หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ ก็คือวันที่ 13 พค. นี้เอง แต่ตรวจพบว่าการติดเชื้อก่อหน้าจะฉีด 1 วัน ตามข่าว ถามว่าทำไมฉีดวัคซีนก็แล้ว ยังติดได้ วัคซีนไม่ดีหรือเปล่า คำตอบ มี 3 ประการหลักๆ คือ
advertisement
1. ประการแรก ที่เป็นสาเหตุหลัก ก็คือ เพราะยังฉีดวัคซีนไม่ครบ 2 dose นั่นเอง อ้างอิงจากรายงานศึกษาขั้นต้นจากประเทศชิลี พบว่า วัคซีนชิโนแวคเป็นวัคซีนที่ภูมิขึ้นช้า หลังจากฉีดdoseแรกได้ 2 สัปดาห์ ประสิทธิภาพป้องกัน ได้เพียง 16 % จาก ประสิทธิถาพเต็ม 67% เมื่อได้วัคชีนครบแล้ว 2 สัปดาห์ (Ref 2) Sinovac ต้องฉีดครบ 2 เข็มแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถึงจะถือว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ ตามเกณฑ์ของ WHO ที่ตัดที่ > 50% ขึ้นไป ซึ่งแตกต่างจาก Vaccine Astrazeneca และ Pfizer ที่มีผลการศึกษาใน UK (Ref 3) พบว่า Vaccine เพียง 1 เข็ม ของทั้ง 2ยี่ห้อ ป้องกันได้ตั้งแต่หลังฉีดเข็มแรกเลย เพราะสามารถกระต้นภูมิคุ้มกันขึ้นได้เร็วกว่า โดย หลังฉีดเข็มแรก เพียง 3 สัปดาห์ สามารลดโอกาสในการติดเชื้อ ได้ ถึง 60-70% คิดเป็น 70-75 %ของประสิทธิภาพเต็ม เมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 โดส อ่านเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/watthanapong.suphamongkholchaikul/posts/5493504590691532 [ads]
advertisement
ประการที่ 2 คือ ภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการติดเชื้อ ปกติแล้ว เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ได้ 2 ทางหลัก คือ 1. ทางการหายใจ 2. ทางการสัมผัส ซึ่งทางหลักก็คือ การหายใจเอาเชื้อเข้าไป ปกติแล้วเมื่อ ผู้ป่วย ไอ หรือ ตาม หรือหายใจ จะเชื้อถูกปล่อยออกมากับ ไอน้ำ เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย จากลมหายใจ ด้วยขนาดของสิ่งคัดหลั่งออกมา มีขนาดใหญ่(droplet) ทำให้มักจะตกลงสู่พื้นในระยะไม่เกิน 1 เมตร ส่งผลให้คนที่อยู่ใกล้ผู้ป่วย <1 เมตร เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ปกติเชื้อจะไม่สามารถลอยได้ ทำให้เมื่อเชื้อตกอยู่พื้น การสูดเอาเชื้อเข้าไปยาก ถ้าเอาไม่ก้มลงไปสูดดมรับเชื้อที่พื้น แต่ถ้ามีภาวะที่ส่งเสริม ให้เกิดการติดเชื้อแบบฟุ้งกระจาย (Aerosol) ที่ละอองฝอยที่ถูกปล่อยมามีขนาดเล็กมาก จนสามารถลอยฟุ้งค้างอยู่ในอากาศได้ เรียกว่า ทั้งเชื้อเยอะ แถมยังอยู่นาน อยู่ทนและกระจายได้ไกล ทำให้เพิ่มโอกาสในการแพร่เชื้อได้ ซึ่งก็คือ ภาวะนั้น ก็คือ ภาวะ 3 C ของ US-CDC อันได้แก่ (Ref 6) 1. Closed Space หมายถึง ห้องปิด ห้องแอร์ ที่มีการระบายอากาศไม่ดี อากาศไม่ถ่ายเท 2. Crowded แออัด เช่น ในเทค concert
advertisement
3. Closed Contact อยู่ใกล้ชิดกัน จากลักษณะกีฬาวอลเลย์บอล ที่เวลาเล่นอาจจะมีการตะโกนต่างๆ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิด ละอองฝอยจากการตะโกน slide ไถลไปกับพื้น ทำใหมีการเปื้อนละอองฝอยที่อยู่บนพื้น และสภาวะแวดล้อมในสนามกีฬาที่อยู่ในสภาวะแวดล้อม อากาศปิด การระบายอากาศไม่ดี เรียกว่า ครบทั้ง 3 C 3 แซบสำหรับ และการกินนอนอยู่ด้วยกัน เปรียบเสมือนคนบ้านเดียวกัน ซึ่งเวลานอนหรือกิน คงน่าจะไม่ได้ใส่ mask หรือตั้งการ์ระวังได้ ซึ่ง Sinovac ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องประสิทธิภาพ ในการป้องกันการติดเชื้อภายในบ้านได้อยู่แล้ว ซึ่งต่างจาก astrazeneca + pfizer ซึ่งมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อภายในบ้านได้ ลงได้ถึง 50% (Ref 5)
advertisement
จากเหตุผลข้างต้น ทำให้แม้ว่าจะได้รับวัคซีนแล้ว เนื่องจากปริมาณเชื้อที่อาจจะได้รับปริมาณมาก และได้เชื้อซ้ำๆทุกวัน วัคซีนก็รับมือไม่ไหว เอาไม่อยู่ ทำให้นักกีฬาที่แข็งแรงดี ติดเชื้อ ถึง 26 คนภายในคราเดียวกัน ประการที่ 3 ตอบแบบกำปั้นทุบดินง่ายๆ ก็คือ ไม่มีวัคซีนไหน สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ดังจะเห็นในข่าวที่สิงคโปร์ Cluster บุคลากรในสนามบินซางฮี ที่มีการติดเชื้อ ทั้งที่ได้ vaccine pfizer ครบ 2 เข็ม รวมถึง 16 คน (Ref 7) ถ้าต้องไปอยู่ในสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เพราะมีสภาพครบ 3C ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ จึงต้องทำ DMHTT ร่วมด้วยเสมอ เวลาไปสถานที่เสี่ยง เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อให้มากที่สุด
advertisement
จาก เหตุผล ข้อที่ 1 และ 2 เป็นที่น่ายินดีว่า ตามแผนการกระจายวัคซีน 100 ล้านโดยที่เราจะฉีดนั้น ทัพหลัก เป็นวัคซีนของ astrazeneca ถึง 61 ล้านโดส ที่สามารถปิดจุดอ่อน ของ Sinovac ได้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณที่มาจาก : Watthanapong Suphamongkholchaikul