น้ำเต้า..ช่วยลดน้ำตาลในเลือดควบคุมเบาหวาน!!
advertisement
น้ำเต้า ผักพื้นบ้านพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย น้ำเต้านั้นมีหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเต้าทั่วไป น้ำเต้าพื้นบ้าน น้ำเต้าขม และ น้ำเต้างาช้าง ชาวบ้านนิยมนำน้ำเต้ามาต้มรับประทานหรือประกอบอาหารต่างๆ ได้มากมาย เมื่อทำให้สุกแล้วจะมีรสชาติหวานอร่อยถูกใจ และยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่น่าสนใจอรกด้วย อย่างไรนั้น มาดูกันค่ะ
ชื่อสมุนไพร : น้ำเต้า
ชื่อเรียกอื่นๆ เรียกตามท้องถิ่น : มะน้ำเต้า (ภาคเหนือ), คิลูส่า, คูลูส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลุ้นออก, แผละลุนอ้อก (ลั้วะ), Dudhi Lauki (อินเดีย), หมากน้ำ และ น้ำโต่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria (Molina) Standl.
ชื่อสามัญ : Bottle Gourd, Calabash Gourd, Flowered Gourd และ White Flowered Gourd
วงศ์ : CUCURBITACEAE
[ads]
ลักษณะสมุนไพร :
ต้น : ไม้เถาล้มลุกเลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้ ตามเถามีขนยาวสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉก 5-7 แฉก โคนใบเว้าเข้าถึงเส้นกลางใบ ใบมีขนตลอดทั้งใบ ก้านใบยาว มีต่อมเทียม 2 ต่อม ซึ่งอยู่ตรงรอยต่อระหว่างก้านใบกับแผ่นใบ
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก กลีบดอกมีขนลักษณะบางและย่น มีเกสร 3 อัน ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูเป็นสีขาว อยู่ชิดกัน ดอกเพศเมียมีลักษณะทั่วไปคล้ายดอกเพศผู้ต่างกันที่จะมีผลเล็กๆ ติดอยู่ที่โคนดอก
ผล : มีรูปทรงกลม ทรงกลมซ้อน ทรงกลมหัวจุก ทรงยาว ทรงแบน เป็นรูปกระบอง หรือเป็นรูปขวด ลักษณะกลมโต คอดกิ่วบริเวณยอด เปลือกผลแข็งและทนทาน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดรูปทรงแบนป้านคล้ายเล็บมือ ส่วนปลายมีติ่งยื่น 2 ข้าง เป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดตามยาวของเมล็ด
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ, ผล และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :
ราก – ช่วยบำรุงน้ำดีแก้ดีแห้ง ขับน้ำดีให้ตกลำไส้แก้อาการบวมน้ำตามร่างกาย
ใบ รักษางูสวัด แก้ไฟลามทุ่งแก้โรคดีซ่านช่วยรักษาโรคเริมยาขับปัสสาวะ ยาระบายช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำช่วยดับพิษ เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
ผล – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวาน ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคมะเร็งปอด แก้อาการไอ แก้อาการปวดท้องที่เกิดจากไข้ ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแผลในกระเพาะอาหาร ยาขับปัสสาวะ ยาระบาย
เมล็ด – ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการทางประสาท ช่วยทำให้เจริญอาหาร ขับพยาธิ ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
[yengo]
วิธีการใช้ :
1) ช่วยบำรุงน้ำดีแก้ดีแห้ง ขับน้ำดีให้ตกลำไส้แก้อาการบวมน้ำตามร่างกาย นำรากมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
2) รักษางูสวัด แก้ไฟลามทุ่งแก้โรคดีซ่านช่วยรักษาโรคเริมยาขับปัสสาวะ ยาระบายช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำช่วยดับพิษ เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด นำใบมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
3) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวาน ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคมะเร็งปอด แก้อาการไอ แก้อาการปวดท้องที่เกิดจากไข้ ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแผลในกระเพาะอาหาร ยาขับปัสสาวะ ยาระบาย นำผลมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทานปรุงอาหารต้มเป็นน้ำซุป
4) ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการทางประสาท ช่วยทำให้เจริญอาหาร ขับพยาธิ ช่วยแก้อาการบวมน้ำ นำเมล็ดมาต้ม ดื่มรับประทาน หรือสกัดเป็นน้ำมันเมล็ด
5) ช่วยรักษาโรคลูกอัณฑะบวม ด้วยการใช้ลูกน้ำเต้านำมาต้มรับประทาน
6) น้ำต้มใบกับน้ำตาล ใช้แก้โรคดีซ่าน
7) เมล็ดมีรสเย็นเมา สรรพคุณช่วยแก้อาการบวมน้ำ หรือใช้รากนำมาต้มกับน้ำใช้กินเป็นยาแก้อาการบวมน้ำตามร่างกายก็ได้เช่นกัน
8) ช่วยแก้อาการปวดฝีในเด็ก ด้วยการใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้น ๆ นำมาผสมกับของต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน
9) ใบสดนำมาโขลกผสมกับเหล้าขาว หรือโขลกเพื่อคั้นเอาแต่น้ำ หรือใช้ใบสดผสมกับขี้วัวแห้งหรือขี้วัวสด โขลกให้เข้ากันจนได้ที่ แล้วผสมเหล้าขาว 40 ดีกรี (การผสมขี้วัวเข้าใจว่าขี้วัวมีแอมโมเนีย จึงทำให้เย็นและช่วยถอนพิษอักเสบได้ดีกว่าตัวยาอื่น) ใช้เป็นยาทาถอนพิษร้อน ดับพิษ แก้อาการฟกช้ำบวม พุพอง แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน รักษาอาการพองตามผิวหนังตามตัว แก้เริม และงูสวัดได้ดี
ข้อควรระวัง : การรับประทานผลน้ำเต้าสุก จะทำให้อาเจียน มีอาการปวดท้อง ท้องเดิน จึงให้ใช้ผลอ่อนเป็นยา
น้ำเต้า เป็นผักอีกชนิดที่มีคุณค่าทางสารอาหารที่ดีต่อร่างกายมากเลยนะคะ แถมยังกินได้มากโดยไม่ต้องกลัวอ้วนกันเลยทีเดียว ใครที่ยังไม่เคยกินและไม่รู้ว่าจะกินอย่างไร ง่ายๆ โดยนำผลมาต้มหรือนึ่งรับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว ปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทำแกง แกงเลียง แกงอ่อม แกงส้ม แกงหน่อไม้ แกงเผ็ดน้ำเต้าอ่อน ผัดพริก ฟักน้ำเต้าเห็ดหอม ผัดน้ำมัน น้ำเต้าผัดกับหมูใส่ไข่ หรือต้มเป็นผักจิ้ม ฯลฯ แนะนำว่าไม่ควรต้มหรือผัดนานเพราะจะทำให้เละได้ค่ะ เมนูอาหารมื้อที่จะถึงนี้ ต้องลองกินน้ำเต้ากันบ้างแล้ว!!
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com