แพทย์เฉลยแล้ว!! ป่วยน้ำในหูไม่เท่ากัน สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้หรือไม่? ฟังคำตอบชัดๆ!!

advertisement
ตอนนี้โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นโรคที่หลายคนต่างให้ความสนใจอย่างมากเนื่องจากข่าวคราวของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เบี้ยวศาลในเช้าวันที่ 25 สิงหาคม โดยอ้างว่าป่วยน้ำในหูไม่เท่ากัน วิงเวียนศีรษะ และมีข่าวลือว่าได้เดินทางลี้ภัยออกนอกประเทศไปซะแล้วซึ่งวันนี้ไข่เจียวเลยมีความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวมาฝาก พร้อมไขข้อสงสัยว่าถ้าป่วยเป็นโรคนี้สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้หรือไม่
น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติ หูชั้นในของคนเรามีเซลล์ประสาทที่ทำ หน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยินอยู่ โดยปกติจะมีน้ำในหูชั้นใน ปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยินดังกล่าว และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหู ขณะเคลื่อนไหวศีรษะ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าว ให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดก็ตามมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากขึ้นกว่าปกติ (endolymphatic hydrops)จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ทำให้เซลล์ดังกล่าวทำงานผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการ
– ประสาทหูเสื่อม ผู้ป่วยจะมีการเสียการได้ยินแบบประสาทเสียงเสีย(sensorineural hearing loss)ทำให้หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็น ๆ หาย ๆ บางครั้งการได้ยินดีขึ้น บางครั้งการได้ยินเลวลง ในระยะแรกเริ่มมักมีการเสียของประสาทหูที่ความถี่ต่ำก่อน แต่ในระยะยาวแล้วระดับการได้ยินจะแย่ลงเรื่อย ๆ อาจถึงขั้นหูหนวกได้ ในระยะแรกอาจมีอาการที่หูข้างเดียว ในระยะหลังอาจมีอาการที่หูทั้งสองข้าง มีอาการปวดหู หรือปวดศีรษะข้างที่เป็นด้วยได้
advertisement

– มีเสียงดังในหู
– อาการเวียนศีรษะ/บ้านหมุน บางครั้งอาจมี คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกร่วมด้วย อาการเวียนดังกล่าวมักเป็น ๆ หาย ๆ ส่วนใหญ่มักเวียนศีรษะไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่อาจเวียนเป็นชั่วโมงได้ เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ มักมีอาการทางหู เช่น หูอื้อ เสียงดังในหูร่วมด้วย อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ต้องนอนพัก
ปริมาณน้ำในหูมากขึ้นกว่าปกติ
โรคนี้พบมากในคนอายุ 30-60 ปี พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยมากอาการมักจะเริ่มเมื่ออายุ 30 ปี ในประเทศไทยข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคนี้ยังมีน้อย โรคนี้มักเป็นในหูข้างเดียว แต่อาจเป็นทั้งสองหูได้ร้อยละ30 อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด อาจมีอาการทุกวัน หรือนาน ๆ ครั้งก็ได้ ซึ่งไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอีกเมื่อไร แต่ละครั้งที่มีอาการ อาจมีอาการเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นนาที หรือมีอาการเป็นระยะเวลานานเป็นชั่วโมงได้ อาจมีอาการน้อยหรือมากได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือท้องเสียร่วมด้วยได้
การวินิจฉัยโรคนี้ประกอบด้วย การซักประวัติ อาการที่สำคัญ 3 อาการดังกล่าว ซึ่งมักจะเป็น ๆ หาย ๆ และการตรวจระบบประสาทการทรงตัว การตรวจการได้ยิน การตรวจรังสีวินิจฉัย รวมทั้งการเจาะเลือด และตรวจปัสสาวะเพื่อวินิจฉัย แยกจากโรคอื่น ๆ [ads]
การรักษาประกอบด้วย การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเวลาเวียนศีรษะ,การให้ยาบรรเทาอาการ และการผ่าตัด
1)การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเวลาเวียนศีรษะ
– เมื่อมีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ผู้ป่วยล้ม เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นกัน ถ้าอาการเวียนศีรษะเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงาน ควรหยุดรถข้างทาง หรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าเวียนศีรษะมากควรนอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น พื้น และผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว
– รับประทานยาที่แพทย์ให้รับประทานเวลาเวียนศีรษะ
– พยายามอย่ารับประทานหรือดื่มมากนัก จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง
– หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือ เพราะจะทำให้มีอาการเวียนศีรษะมากขึ้นได้
– ถ้าอาการเวียนศีรษะน้อยลง ค่อย ๆ ลุกขึ้น แต่อาจรู้สึกง่วงหรือเพลียได้ แนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ถ้าง่วงหลังตื่นนอน อาการมักจะดีขึ้น
2) การให้ยาบรรเทาอาการ และรักษา
– ควรจำกัดความเค็ม เพราะความเค็มหรือเกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกาย จะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และในหูชั้นในมากขึ้น อาจทำให้อาการผู้ป่วยแย่ลงได้
– การรับประทานยาขับปัสสาวะ อาจทำให้น้ำคั่งในหูชันในน้อยลง ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นได้
– ให้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน
– การรับประทานยาขยายหลอดเลือด(ฮิสตะมีน)จะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น
– ถ้าผู้ป่วยหายเวียนศีรษะแล้ว ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
– หลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน(ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และกาแฟ)เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด ซึ่งจะทำให้อาการของผู้ป่วยโรคนี้แย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน
3) การผ่าตัด
เพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน จะทำเมื่อให้ยารักษาเต็มที่แล้ว อาการของโรคโดยเฉพาะอาการเวียนศีรษะไม่ดีขึ้น และรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก
– การทำลายอวัยวะควบคุมการได้ยิน และการทรงตัวในหูชั้นใน (labyrinthectomy)ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดี แต่ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินในข้างนั้นด้วย มักจะทำในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างนั้นมากแล้ว แต่ยังมีอาการเวียนศีรษะมากอยู่
advertisement

– การตัดเส้นประสาท ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน(vestibular neurectomy)มักจะทำในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะมาก แต่ยังมีการได้ยินดีอยู่
– การฉีดยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหูและการทรงตัวเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในหูชั้นใน เช่น gentamycin ซึ่งเป็นยาต้านจุลชีพกลุ่ม aminoglycoside เพื่อทำลายระบบประสาททรงตัว ทำให้อาการเวียนศีรษะน้อยลง แต่การได้ยินอาจเสียไปด้วย
– ควรจำกัดความเค็ม เพราะความเค็มหรือเกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกาย จะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และในหูชั้นในมากขึ้น อาจทำให้อาการผู้ป่วยแย่ลงได้
– การรับประทานยาขับปัสสาวะ อาจทำให้น้ำคั่งในหูชันในน้อยลง ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นได้
– ให้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน
– การรับประทานยาขยายหลอดเลือด(ฮิสตะมีน)จะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น
– ถ้าผู้ป่วยหายเวียนศีรษะแล้ว ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
– หลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน(ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และกาแฟ)เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด ซึ่งจะทำให้อาการของผู้ป่วยโรคนี้แย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน
3) การผ่าตัด
เพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน จะทำเมื่อให้ยารักษาเต็มที่แล้ว อาการของโรคโดยเฉพาะอาการเวียนศีรษะไม่ดีขึ้น และรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก
– การทำลายอวัยวะควบคุมการได้ยิน และการทรงตัวในหูชั้นใน (labyrinthectomy)ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดี แต่ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินในข้างนั้นด้วย มักจะทำในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างนั้นมากแล้ว แต่ยังมีอาการเวียนศีรษะมากอยู่ [ads]
– การตัดเส้นประสาท ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน(vestibular neurectomy)มักจะทำในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะมาก แต่ยังมีการได้ยินดีอยู่
– การฉีดยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหูและการทรงตัวเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในหูชั้นใน เช่น gentamycin ซึ่งเป็นยาต้านจุลชีพกลุ่ม aminoglycoside เพื่อทำลายระบบประสาททรงตัว ทำให้อาการเวียนศีรษะน้อยลง แต่การได้ยินอาจเสียไปด้วย
advertisement

ที่สำคัญคือหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเรือ เพราะเรือแล่นบนน้ำซึ่งมีความโคลงเคลง กระตุ้นให้เกิดอาการมากที่สุด ส่วนเครื่องบินสามารถโดยสารได้หากไม่ตกหลุมอากาศก็ไม่มีปัญหาอะไร มีความคงที่มากกว่าการเดินทางโดยเรือและรถยนต์ เพราะสิ่งที่กังวลและน่าเป็นห่วงมากกว่า คือหากอาการกำเริบจะเวียนศีรษะจนล้มศีรษะฟาดพื้น และมีเลือดคลั่งในสมอง!!
หากมีความจำเป็นต้องเดินทางโดยยานพาหนะจริงๆ สามารถเดินทางได้ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ แต่จะแนะนำคนไข้ว่าพกยาติดตัวตลอด ถึงแม้จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดแต่ควบคุมอาการได้ด้วยยา จึงสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับชีวิตปกติของคนทั่วไปได้
สุดท้ายหมั่นออกกำลังกาย ซึ่งจะมีท่าออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ เป็นการเพิ่มเลือดไปเลี้ยง “หูชั้นใน” ทำให้อาการดีขึ้น จนบางครั้งไม่ต้องกินยาเลยด้วยซ้ำไป…ถือว่าไขสงสัยให้ผู้ป่วยสบายใจได้บ้างว่า…หมอไม่ได้ห้ามขึ้นเครื่องบิน!!
สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ก็คงต้องเข้ารับการรักษาให้ถูกต้อง เพราะหากปล่อยไว้ก็คงเสี่ยงที่จะหูหนวกได้ แม้จะไม่ได้ร้ายแรงมากแต่ก็ต้องรับการรักษาให้ถูกต้องนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : dailynews.co.th , si.mahidol.ac.th