บทเรียนชีวิต!! เมื่อลูกชายไม่อยากไปโรงเรียน แม่เลยพาเก็บขยะขาย สุดท้ายรู้ซึ้งเลย
advertisement
คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน คงเคยประสบปัญหากับการที่ลูกน้อยของท่าน ไม่อยากไปโรงเรียน ขี้เกียจไม่ตั้งใจเรียน เพราะเด็กเล็กๆอาจจะไม่เข้าใจ ว่าเราเรียนไปเพื่ออะไร เรียนไปแล้วได้อะไร ทำไมผู้ใหญ่ไม่ต้องไปโรงเรียน เกิดคำถามในหัวของเด็กๆอยู่มากมาย
ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Nuttanitcha Chotsirimeteekul เป็นคุณแม่ที่ต้องเจอกับปัญหา ลูกไม่อยากไปโรงเรียน คุณแม่ท่านนี้จึงมีบทเรียนชีวิตครั้งใหญ่ให้กับเขา ด้วยการพาไปทำงานร้านข้าวแกง เช็ดถู และพาไปเก็บขวดขาย แลกเงินประทังชีวิต หลังจากที่ลูกได้เจอกับความเหน็ดเหนื่อยกว่าจะได้เงินมา ก็ได้ข้อคิดต่างๆมากมาย โดยคุณแม่ท่านนี้ได้เผยว่า
advertisement
"น้องเรียว บอกแม่เหนื่อย ขอนั่งพัก #ไม่ยอมไปเรียน ก็เลยต้องเก็บขวดไปขายครับ #วันนี้ได้แบกถุงใส่ขวดเดินทั้งวันแน่นอนลูกเอ่ย เช้าเมื่อวาน น้องเรียวบอกกับพ่อว่า
เรียว : ป๊าครับ เรียวไม่อยากไปเรียนครับ?!?! พ่อและแม่ บอกแล้ว อธิบายแล้ว ลูกก็แลดูไม่เข้าใจ #เถียงแบบไพเราะและมีเหตุผลของตนเองทุกอย่าง {ทำไง ดี!! แม่อ๋อ…..} #อันเรา2พ่อแม่ก็ไม่อยากขวางลูก ก็จัดเลยค่ะ
เริ่มต้นเช้านี้ ที่ไม่ได้ไปเรียน แม่อ๋อพาไปสมัครร้านขายกับข้าวแถวบ้าน เพื่อให้ช่วยทำความสะอาดเช็ดถู ปรากฏว่า แอบดูอยู่ แบบว่าคุณป้าร้านค้าน่ารักมาก เลี้ยงดูปูเสื่อ ให้ลูกจ้างอย่างดี แถมเหนื่อยก็ให้ขึ้นไปนอนได้ แม่อ๋อส่องอยู่ เลยไปควักลูกชายออกมา พร้อมขอบคุณป้าที่ให้ความร่วมมือ
advertisement
ครานี้ เลยต้องพาลูกตัวแสบมา เดินแบกถุง เก็บขวดขาย เรื่องจะเป็นเช่นไร จะคอยอัปเดตความคืบหน้าของพี่เรียวนะครับ {โปรดดูวิดีโอครับทุกท่าน, Surachet Chongprasitipol} เดินตามหาที่ขายขวด จากซอย 84 กว่าจะหาที่ขายขวดได้ ทั้งไปผิดทาง ทั้งเหนื่อย ทั้งเดินไม่ไหว ทั้งตะโกนถามหาที่ขายขวดตลอดทาง เพื่อให้หาทีขายได้ นั่งพักแล้วพักอีก กว่าจะถึงซอย 66 แบกขวด 2 กก. คนเดียวตลอดสาย ตลอดทาง 2.2กม. ได้เงิน 2บาทเป็นค่าเหนื่อยวันนี้ครับ[ads]
#ขากลับบ้าน อีก 2.2กม. หลังจากได้รับเงิน 2 บาท ค่าเก็บขวดขายวันนี้ #อยากขึ้นรถกลับบ้าน
เรียว : มี้ครับ เราขึ้นร กลับบ้านได้มั้ย?
มี้ : เรียวมีเงินกี่บาทครับ ?
advertisement
เรียว : 2 บาทครับ
มี้ : แล้วเรามีเงินจ่ายค่ารถมั้ย เพราะค่ารถ คนละ 10บาท
เรียว : ไม่มีครับ
มี้ : งั้นเราต้องเก็บขวดเพิ่มแล้วละ!!
เรียว : เราเดินกลับแล้วกันครับ #อยากกินไอติม
เรียว : อยากกินไอติมครับ
มี้ : ไอติม 5 บาท เรามีตังค์พอมั้ย?
advertisement
เรียว : ไม่พอครับ ไม่กินก็ได้ครับ {น่าเอ็นดู} #แดดเปรี้ยงสุดๆ #ปากซอยบ้าน ณ ร้านขายโอวัลติน
เรียว : มี้ครับ อยากกินโอวันตินเย็นครับ
มี้ : ก็ไปซื้อสิ?[ads2]
เรียว : ป้ากี่บาทครับ โอวัลตินเย็น?
ป้าขาย : 15บาทครับ
advertisement
เรียว : อ่า….. ผมมีเงินไม่พอครับ ผมกลับไปกินที่บ้านครับ
มี้ครับ ไปกินของที่บ้านกันดีกว่า…
มี้ : ปะ
เรียว : เงิน 2 บาท ของเรียว ถามซื้ออะไรกิน ไม่ได้เลย..
มี้ : เหนื่อยมั้ยเรียว
เรียว : เหนื่อยครับ ร้อนครับ อยากไปเรียนครับ อยากกลับบ้าน
advertisement
(จบ) ถึงบ้านกันปลอดภัยเรียบร้อยนะครับ ขอบคุณทุกท่านครับ แม่อ๋อทยอยลงวิดีโอ ช่วงระหว่างทางของการเดินทางของพี่เรียวไว้ด้วยนะครับ #โปรดดูแบบสตรอง นะคะ #น่าฉงฉาน ☺️
#สิ่งที่ผู้ปกครองต้องเผชิญ
1.สตรอง ความสงสารจากพ่อแม่พี่น้องข้างทาง เราต้องบอกทุกท่าน ตามทางไปเรื่อยๆ ว่า เราสอนลูก และไม่อยากให้ลูกเห็นสิ่งที่ทำ เป็นเรื่องสนุก และอยากให้ไปโรงเรียนดีกว่า เพราะ ลุง ป้า น้า อา ที่พบเห็นลูกเรา จะสงสาร ทั้งวิ่งเอาน้ำหวานมาให้ เอาขนมมาให้ จะมาช่วยยกของ และบอกเราว่า พาลูกกลับบ้านเถอะ สงสารเขา ฉนั้น คนพาไป ต้องสตรองและมุ่งมั่น ด้วยนะคะ
2.ต้องตั้งเป้าหมายด้วยกัน และต้องช่วยกันทำสำเร็จ สำคัญ ตัวพ่อหรือแม่เอง ต้องไม่ใจอ่อน และท้อก่อน เพราะระหว่างทางเล็กๆ นี้ เราจะเห็นอะไรเยอะเลย ไม่ว่าจะความสงสารที่มีต่อลูก เพราะลูกเหนื่อย และทำหน้าเป็นหมาหงอยก็ตาม #มันต้องสำเร็จ และอย่าให้อะไรมาขวางทางเรา เพื่อจะเป็นแบบอย่างให้เขาสู้ไม่ถอยได้คะ
3.แบบอย่าง และความอดทน หลายๆ อย่าง ระหว่างทาง เราจะเจออะไรเยอะมาก สำคัญเราเองต้องไม่กดดันลูก ไม่โมโหกับลูก ทำให้เขาเห็นเอง ซึ่งความสุข ความทุกข์ ความเหนื่อยยาก และเรายังอยู่ข้างเขา และในขณะเดียวกัน เราต้องสอนให้เขาอยู่โลกความจริง ในสิ่งรอบตัวเพราะวันหนึ่งจะไม่มีเราอยู่ข้างเขาเสมอไป….และก็มีอีกหลายสิ่งนะคะ ที่ได้รับ จากการเดินทางเล็กๆ นี้ บ้านไหน ลองแล้ว เป็นไงบ้าง บอกกันด้วยนะคะ"
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
advertisement
ชาวเน็ตต่างชื่นชมคุณแม่[ads3]
ไปชมคลิปกันเลยค่ะ
เป็นวิธีที่แยบยลมากเลยทีเดียวค่ะ ไม่ต้องอธิบายในสิ่งที่เด็กยังไม่เข้าใจ แต่ให้ประสบการณ์เป็นตัวสอนให้ลูกคิดได้เอง
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com, ขอขอบคุณที่มาจาก : Nuttanitcha Chotsirimeteekul