อาการไม่พึงประสงค์หลังจากบริจาคโลหิต
advertisement
อาการเป็นลมจากการบริจาคเลือด
แม้ว่าจะได้รับการคัดกรองและปฎิบัติตามขั้นตอนการรับ บริจาคเลือดอย่างถูกต้องตามมาตรฐานแล้ว ระหว่างและหลังการบริจาคเลือดผู้บริจาคบางรายอาจเกิดภาวะไม่พึงประสงค์โดยภาวะ ไม่พึงประสงค์ชนิดหนึ่งที่พบบ่อยได้คืออาการเป็นลมจากการบริจาค เลือด
อาการเป็นลมจากการบริจาคเลือดมักเกิดจากการที่ระบบ ประสาทอัตโนมัติของร่างกายยังปรับตัวไม่ทันต่อการสูญเสียปริมาณ น้ําในร่างกายระหว่างการบริจาคเลือด
อาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นความรู้สึกไม้สบายตัว มึนศีรษะ คลื่นไส้หน้าซีด ผิวหนังเย็น และหากรุนแรงขึ้นก็อาจมีอาการหน้ามืด เป็นลมหรือหมดสติได้อาการดังกล่าวอาจเกิดระหว่างทําการบริจาค เลือดหรือหลังบริจาคเลือดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้
โดยทั่วไปอาการที่เกิดขึ้นมักไม่รุนแรงและสามารถดีขึ้นได้เอง หลังจากระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกายสามารถปรับตัวได้แต่สิ่ง ที่ควรระมัดระวังคืออุบัติเหตุจากการลมกระแทกเมื่อมีอาการเป็นลม ซึ่งอาจทําให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงตามมาได้
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันอาการเป็นลมจากการบริจาคเลือด ผู้บริจาคเลือดควรให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถามตามความเป็น จริง นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง รับประทานอาหารภายใน 4 ชั่วโมง แจ้งโรคประจําตัวและยาที่ได้รับแก่เจ้าหน้าที่อย่างถูกต้อง ดื่มน้ําก่อนการบริจาคอย่างน้อย 3- 4 แก้ว ปฏิบัติตามข้อแนะนําใน การปฏิบัติตัวหลังการบริจาคเลือดอย่างเคร่งครัด และหากมีอาการ ผิดปกติระหว่างหรือหลังการบริจาคเลือดให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องรับ บริจาคทันทีเพื่อที่ท่านจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมทันท้วงที
advertisement
การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการเป็นลม จากการบริจาคเลือด
หากเกิดอาการระหว่างบริจาคเลือด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เจ้าหน้าที่จะให้การดูแลท่านโดยจะให้ท่านนอนยกขาสูง คลายเครื่อง แต่งกายให้หลวม สูดแอมโมเนีย วางผ้าเย็น และให้ดื่มน้ําหวาน ขอให้ท่านปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่แนะนํา
หากเกิดอาการหลังจากออกจากห้องรับบริจาคเลือดไปแล้ว ควรรีบนั่งลงหรือนอนราบกับพื้นทันทีเพื่อปองกันอุบัติเหตุแจ้งบุคคล ใกล้ชิดให้ทราบ ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในที่อาการถ่ายเทโดย ให้ทท่านนอนยกขาสูง คลายเครื่องแต่งกายให้หลวม สูดแอมโมเนีย วางผ้าเย็น และดื่มน้ําหวาน หากอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์และ แจ้งกลับมายังห้องรับบริจาคเลือด โทร 0-2419-8081 ต่อ 123, 128 [ads]
หลังเกิดอาการเป็นลมแล้ว ท่านควรปฏิบัติดังนี้
- ถ้าอาการกลับมาเป็นซ้ํา ควรรีบนั่งลงหรือนอนราบกับพื้น
- ดื่มน้ํามากกว่าปกติเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อทดแทนปริมาณ เลือดที่ท่านเสียไป
- หลีกเลี่ยงสถานที่ร้อนและแออัด
- งดการออกกําลังกายเล่นกีฬาอบตัว/อบไอน้ํา 1วัน
- งดการทํางานในที่สูง ระมัดระวังในการขึ้นลงลิฟท์หรือ บันไดสูง
- หากอาการที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง สุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรงดี ท่านสามารถกลับมาบริจาคเลือดได้ตามระยะเวลาที่กําหนด
การมีจ้ำเลือดจากการบริจาคเลือด
- ภาวะไม่พึงประสงค์จากการบริจาคเลือดอีกชนิดหนึ่งที่พบ ได้คือการมีจ้ําเลือดบริเวณรอยเจาะเลือด ซึ่งมักเกิดจากการที่เลือดใน เส้นเลือดซึมผ่านบริเวณรอยเจาะบนผนังเส้นเลือด
- โดยทั่วไปรอยเจาะบนผนังเส้นเลือดจะสมานตัวได้เอง แต่เลือดที่ซึมออกมาแล้วจะยังคงอยู่และปรากฏเป็นรอยเขียวช้ําได้ ประมาณ 7-10 วันร่างกายจึงจะสามารถดูดซึมกลับคืนได้หมด
- เมื่อจ้ําเลือดค่อยๆจางลงอาจสังเกตได้ว่าบริเวณของจ้ํา เลือดขยายขนาดขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ไม่ได้ก่ออันตรายเพิ่มเติม ในผู้บริจาคบางรายที่จ้ําเลือดมีขนาดใหญ่หรืออยู่ลึกก็อาจก่อให้เกิด อาการเจ็บปวดบริเวณรอยช้ําร่วมด้วยได้ใน 2-3 วันแรกซึ่งจะค่อยๆดี ขึ้นเมื่อจ้ําเลือดจางลง [ads]
การปฏิบัติตวเมื่อเกิดจาเลือด จากการบริจาคเลือด
ในผู้บริจาคบางรายจ้ําเลือดเกิดขึ้นระหว่างบริจาคเลือด ถ้าหาก จ้ําเลือดที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กและไม่เพิ่มขนาด ก็สามารถทําการ บริจาคเลือดต่อได้จนครบ แต่หากจ้ําเลือดมีขนาดใหญ่หรือขยาย ขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆก็จําเป็นต้องหยุดการบริจาคเลือด การดูแล เบื้องต้นคือจะต้องกดรอยเจาะจนเลือดหยุดไหลและจ้ําเลือดไม่เพิ่ม ขนาด หากจ้ําเลือดมีขนาดใหญ่ท่านอาจได้รับการปาดแผลด้วย ผ้าพันแผลชนิดกดแน่น
ในผู้บริจาคบางรายจ้ําเลือดอาจปรากฏขึ้นภายหลังออกจากห้อง รับบริจาคเลือดไปแล้ว การดูแลเบื้องต้นคือถ้ามีเลือดไหลจากรอย เจาะด้วยจะต้องกดรอยเจาะจนเลือดหยุดไหลและจ้ําเลือดไม้เพิ่ม ขนาด
advertisement
หลังจากเกิดจ้าเลือดแล้ว ท่านควรดูแลตนเองดังนี้
- ประคบจ้ำเลือดด้วยความเย็น โดยอาจใช้ผ้าขนหนูห่อถุงใส่ น้ำแข็งหรือ ice pack วันละ 2-3 ครั้ง 1-2 วันแรก
- วันที่ 3 หลังเกิดจ้ําเลือดจึงจะประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น
- หากมีเลือดซึมบริเวณรอยเจาะให้ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณรอย เจาะจนกว่าเลือดจะหยด
หากเลือดไม่หยุด มีอาการปวดรุนแรงจ้าเลือดขยายขนาด อย่างรวดเร็วให้ไปพบแพทย์หรือแจ้งกลับมายังห้องรับบริจาค เลือด โทร 0-2419-8081 ต่อ 123, 128
เมื่อจ้ําเลือดหายดีไม่มีผลแทรกซ้อนท่านสามารถกลับมา บริจาคเลือดได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
ภาวะไม่พึงประสงค์ชนิดหนึ่งที่พบได้คืออาการปวด ชา หรือ เจ็บแปลบๆบริเวณแขน ซึ่งเกิดจากการที่เส้นประสาทแขนงย่อยได้รับ การกระทบกระเทือนระหว่างการเจาะเก็บ โดยทั่วไปเส้นประสาท ดังกล่าวจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วันและ ส่วนใหญ่อาการจะหายไปได้เองใน 1- 2 เดือน
หากท่านมีอาการดังกล่าวหรือมีข้อสงสัย ท่านสามารถติดต่อมายังห้องรับบริจาคเลือด ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โทร 0-2419-8081 ต่อ 123, 128 วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 18.30 น.
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : ภาควิชาเวชศาสตรการธนาคารเลือด