สธ.แนะประชาชน ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด
advertisement
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ เพื่อวางแผนการออกกำลังกาย ลดอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด เตรียมหารือที่ประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปรับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
advertisement
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับรายงานการเสียชีวิตอดีตนักกีฬาทีมชาติที่เสียชีวิตหลังเล่นฟุตบอลที่สนามกีฬาภายในกระทรวงสาธารณสุข จากท่านรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต) กระทรวงสาธารณสุขต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว และเพื่อนๆของผู้เสียชีวิตด้วย ไม่มีใครอยากให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ได้หาข้อเท็จจริง จะพยายามปรับระบบการแพทย์ฉุกเฉินภายในกระทรวงสาธารณสุขให้ดีขึ้น เพื่อดูแลเจ้าหน้าที่และประชาชนที่มาออกกำลังกายที่อาจเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น[ads]
โดยเตรียมนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติต่อไป เบื้องต้น มีแผนจะดำเนินการ ดังนี้
1.ได้สั่งการให้สถาบันบำราศนราดูรที่อยู่ใกล้สุด เป็นหลักในการเตรียมพร้อมให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
2.จัดอบรมบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการปฐมพยาบาล การช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจ(AED)
3.วางแผนกระจายเครื่องกระตุกหัวใจ(AED) ให้ครอบคลุมพื้นที่
advertisement
อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำประชาชนทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องตรวจสุขภาพปีละครั้ง เพื่อทราบสถานะสุขภาพและความเสี่ยงสุขภาพ และผู้ที่ชื่นชอบการอกกำลังกาย ควรเข้ารับการประเมินความเสี่ยงประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ จะได้วางแผนการออกกำลังกายให้เหมาะสม ลดอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด ซึ่งโรคหัวใจจัดเป็นโรคฉุกเฉินอันตรายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
advertisement
ข้อมูลในปี 2557 คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด กว่า 58,000 คน โดยผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนอื่น ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง คนอ้วน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์ ดูแลระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ไขมันในเลือด ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เลิกสูบบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็ม[ads]
สำหรับสัญญาณอาการของโรคหัวใจ ได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอกคล้ายถูกของหนักกดทับ ปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนด้านซ้าย หายใจลำบาก หากมีอาการที่กล่าวมาให้รีบนั่งพัก บอกเพื่อน ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เพื่อนำส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดทันทีหรือโทรแจ้งสายด่วน 1669
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข