ต้องรู้!! ไส้ติ่ง มีประโยชน์หรือไม่ ? ตัดทิ้งก่อนเลยได้ไหม ? มาฟังคำตอบ..!
advertisement
จากประเด็นที่มี ดราม่าหมอไม่เย็บแผลผ่าไส้ติ่งให้คนไข้ เพื่อปล่อยให้แผลสมานไปเอง จึงมีหลากหลายความคิดเห็นที่ถามกันเข้ามาว่าจริงๆ แล้วไส้ติ่งมันมีประโยชน์อะไร ในร่างกาย เพราะเมื่อไส้ติ่งแตก หมอก็ตัดทิ้งเหมือนไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย และถ้าเกิดว่าเราได้ผ่าตัดช่องท้อง อย่างการผ่าคลอด แล้วขอผ่าไส้ติ่งออกเลยได้ไหม ?? Kaijeaw.com เลยมีคำตอบเรื่องนี้มาฝาก
ซึ่งจากเรื่องดังกล่าวก็มีหลายๆท่านเข้ามาแสดงความคิดเห็น แชร์ความรู้เรื่องประโยชน์ของไส้ติ่งโดยบอกว่า
advertisement
จ่าเจ้าของเพจ Drama-addict ให้คำตอบว่า…งานวิจัยหลังๆบอกว่า เป็นอวัยวะส่วนที่ ไว้เก็บแบคทีเรียที่ดี ไว้ใช้สำรองตอนลำไส้อักเสบ ติดเชื้อ จนแบคทีเรียดีๆในลำไส้ลดจำนวนลง ก็จะใช้ไอ้ที่อยู่ในไส้ติ่งนี่ล่ะเป็น back up [ads]
advertisement
และทางด้านเพจ OR No.9 เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัด เคยมีการออกมาให้คำตอบคลายข้อสงสัยเรื่องนี้ เราเลยอยากจะขอแชร์มาฝากทุกๆท่านกัน ลองอ่านดูเลยคะ มีประโยชน์มากๆ
ไส้ติ่งตัดทิ้งก่อนเลยได้ไหม ยังไงก็ไม่มีประโยชน์
“ไส้ติ่ง” อวัยวะเล็ก ๆ เป็นส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ยื่นออกมา อยู่บริเวณด้านขวาล่างของช่องท้อง ขนาดไส้ติ่งแต่ละคนก็แตกต่างกันครับ ความยาวเฉลี่ย 9 เซนติเมตร (2 – 20 เซนติเมตร)
คำถามที่ถูกถามบ่อย ๆ จากคนไข้ผม และจากท่านผู้อ่านคือ ไส้ติ่งมีประโยชน์หรือเปล่า ตัดทิ้งไปเลยดีไหมป้องกันว่าวันหนึ่งมันอักเสบขึ้นมา หรือว่าผ่าท้องแล้วขอหมอตัดไส้ติ่งเลยดีไหม เป็นต้น
ไส้ติ่งมีประโยชน์อะไรไหม???
สมัยก่อนเราไม่ทราบแน่ชัดครับว่ามันมีประโยชน์หรือไม่ บางคนจึงคิดว่ามันคือส่วนเกินของร่างกาย ก็เลยเกิดความคิดขึ้นมาว่า ถ้าเราต้องมีการผ่าตัดช่องท้อง ก็ตัดไส้ติ่งไปด้วยเลย เผื่อวันหลังเกิดเป็นไส้ติ่งอักเสบจะได้ไม่ต้องมาผ่าตัดอีก
จริง ๆ แล้วมีรายงานเกี่ยวกับประโยชน์ของไส้ติ่งอยู่หลายรายงานครับ แต่ที่ดูจะอธิบายได้อย่างมีเหตุผลมากที่สุด ก็เป็นรายงานของ รองศาสตราจารย์ William Parker แห่ง Duke University ซึ่งรายงานมาตั้งแต่ปี 2008 แล้วว่า จริง ๆ แล้วไส้ติ่งมีหน้าที่สร้าง และปกป้องจุลินทรีย์ที่ช่วยเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารในร่างกายเรา และในกรณีที่เราถูกเชื้ออหิวาต์เล่นงาน ไส้ติ่งยังมีหน้าที่กระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารกลับมาทำงานตามเดิมอีกด้วย [ads]
เดินไปหาหมอ แล้วขอตัดไส้ติ่งเลยได้ไหม???
ปกติแล้วไส้ติ่งอักเสบ ส่วนมากเจอบ่อยในที่สุดในอายุ 15 – 30 ปี ถ้าอายุมากขึ้นกว่านี้ ความเสี่ยงก็จะน้อยลงไปอีก โดยผู้ชายมีความเสี่ยงร้อยละ 8.6 ส่วนผู้หญิงมีความเสี่ยงร้อยละ 6.7 (สถิติในสหรัฐอเมริกา) ดังนั้นไม่ต้องวิตกกังวล เพราะไม่ได้เป็นทุกคน และตลอดชีวิตของเราอาจไม่ได้เป็นโรคนี้ก็ได้ และปัจจุบันการเดินทางดีขึ้น ท่านไม่ต้องกังวลครับไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในในโลกนี้ (ไม่นับประเภทที่หลงป่า หลงกลางทะเลยทรายหาทางออกไม่ได้เป็นเดือน ๆนะครับ) ถ้าปวดท้องก็สามารถไปพบแพทย์และผ่าตัดได้ทันอยู่แล้วครับ
ถ้าต้องผ่าตัดช่องท้องอยู่แล้ว ขอหมอตัดไส้ติ่งไปเลยได้ไหม???
คำถามที่เจอประจำ และหลาย ๆ ท่านยังมีความเข้าใจผิดอยู่มากเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น ผ่าคลอด หรือผ่าตัดทางนรีเวชอื่น ๆ ตัดไส้ติ่งไปด้วยหรือไม่ ล่าสุดในปัจจุบันก็ยังถกเถียงกันอยู่ครับ เช่น บางรายงานก็บอกว่ามีประโยชน์ในกรณีผู้หญิงอายุน้อยกว่า 35 ปี และจากที่ผ่านมาทั้งหมดก็ยังไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจน ซึ่งโอกาสเกิดไส้ติ่งอักเสบในช่วงตลอดชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง น้อยกว่าร้อยละ 7 ดังนั้นต้องชั่งใจเอาเองครับ ระหว่างแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วย
*****แต่ก็อย่างที่เคยบอกเสมอครับว่า การผ่าตัดทุกชนิดถึงมีความเสี่ยง ถึงแม้ว่าจะผ่าตัดเล็กหรือผ่าตัดใหญ่ก็ตาม ดีที่สุดคือผ่าตัดเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆเท่านั้นครับ
ดังนั้น ไส้ติ่งมีประโยชน์ครับ ไม่ถึงกับไร้ประโยชน์สักทีเดียว แต่ที่สำคัญถ้ามันอักเสบก็ต้องผ่าออกทันที แต่ถ้าไม่มีการอักเสบอะไร ก็ไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่ต้องตัดทิ้งก่อนครับ
เพราะฉะนั้นใครที่ไม่อยากเป็นไส้ติ่งอักเสบก็ควรดูแลสุขภาพ และหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างถี่ถ้วนจะดีที่สุดค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com ข้อมูลจาก : OR No.9 เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัด