หญ้าคา..วัชพืชมากด้วยคุณค่า เป็นยาชั้นดี!!
advertisement
หญ้าคา (Impertacyindricabeauv)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Imperatacylindrice (L.) Raeusch.
ชื่อวงศ์ : Poaceae หรือ Gramineae
ชื่ออื่นๆ : เก้อฮี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ลาลาง (มลายู); ลาแล (มลายู-ยะลา)
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะของพืช เป็นพืชจำพวกหญ้า มีลำต้นใต้ดินเป็นเส้นกลมสีขาวทอดยาว มีข้อเห็นได้ชัดเจน ผิวเรียบ หรือมีขนบ้างเล็กน้อย แตกกิ่งก้านสาขางอกเป็นกอใหม่ได้มากมายหลายกอ ใบเป็นเส้นแบนยาวตรง แตกจากลำต้นใต้ดินใบยาว 20-50 ซม. กว้าง 5-9 มม. ใบอ่อนงอกใหม่ที่ยอด มีปลอกแหลมแข็งหุ้มยาวประมาณ 1 มม. งอกแทงขึ้นมาจากดิน ดอกออกเป็นช่อทรงกระบอกยาว 5-20 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ซม. ดอกย่อยอยู่ติดกันแน่น ช่อดอกแก่เป็นช่อมีขนฟูสีขาว เมล็ดแก่จะหลุดปลิวไปตามลมแพร่พันธุ์ไปได้ไกล ๆ หญ้าคาที่ขึ้นในทุ่งหญ้าจะออกดอกในฤดูร้อน หญ้าคาที่ขึ้นในที่ชื้นแฉะจะออกดอกปลายฤดูร้อน หรือในฤดูหนาว
advertisement
[ads]
การขยายพันธุ์:
หญ้าคานอกจากแพร่พันธุ์โดยเมล็ดแล้วยังแพร่พันธุ์ด้วยลำต้นใต้ดิน โดยงอกลามไปเจริญเป็นต้นใหม่ได้ หญ้าคาเป็นพืชชอบแดดและทนทานมาก เผาก็ไม่ตายดูเหมือนว่าไฟจะไปช่วยกระตุ้นให้มันงอกเร็วขึ้น และออกดอกแพร่พันธุ์มากขึ้นอีก เป็นวัชพืชที่ขึ้นลุกลามตามไร่ซึ่งปราบได้ยากชนิดหนึ่ง
แหล่งที่พบ : พบขึ้นเป็นทุ่งทั่วไปตามที่ร้างต่าง ๆ ตามหุบเขาและริมทางทั่วไป
ส่วนที่ใช้ทำยา : ช่อดอก ขน(ดอกแก่) ราก ใบ2 ราก ทั้งสดหรือแห้ง
สรรพคุณ
advertisement
รากและเหง้า : เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะแดง บำรุงไต ขับระดูขาว ซึ่งการศึกษาฤทธิ์ขับปัสสาวะในสัตว์ทดรองพบว่า เฉพาะน้ำต้มส่วนรากมากกว่ายาปัจจุบัน
ช่อดอก : ห้ามเลือด แก้ปวด อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด บาดแผลจากของมีคม
– ใช้ดอกแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน ใช้ภายนอก ตำพอก หรืออุดรูจมูก
ขน : (ดอกแก่) ห้ามเลือด แก้เลือดกำเดาออก ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ใช้สด แก้แผลบวมอักเสบ และฝีมีหนอง
– ใช้ขน (ดอกแก่) แห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน ใช้ภายนอก ตำพอก หรืออุดรูจมูก
ราก : ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ไอ กระหายน้ำ อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาออก ความดันเลือดสูง ปัสสาวะเป็นเลือด หนองใน ปัสสาวะขัด บวมน้ำ ดีซ่าน ประจำเดือนมามากผิดปกติ
– ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำกิน หรือบดเป็นผงกิน ใช้สดตำคั้นเอาน้ำกิน
ใบ : ใช้ภายนอก ต้มน้ำอาบ แก้ลมพิษ ผื่นคัน และปวดเมื่อยหลังคลอด
– ใช้ใบต้มหรือแช่น้ำอาบ
advertisement
[yengo]
สรรพคุณและส่วนที่ใช้เป็นยา
1. แก้เลือดกำเดาออกง่าย หรือออกไม่ค่อยหยุด ใช้ช่อดอกแห้ง 15 กรัม จมูกหมู 1 อัน ต้มให้เดือดประมาณ 1 ชั่วโมง กินหลังอาหารหลายครั้ง อาจหายขาดได้ หรือใช้ขน (ดอกแก่) 15 กรัม ต้มน้ำกินก็ได้หรือใช้น้ำคั้นจากรากสดกิน 1 ถ้วยชา (15 ม.ก.) หรือใช้รากแห้งบดเป็นผง 2.6 กรัม ผสมน้ำซาวข้าวกินหรือใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำกินขณะที่เลือดกำเดาออก ใช้ช่อดอกหรือขนตำอุดรูจมูก ช่วยห้ามเลือดกำเดาอีกด้วย
2. แก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้รากแห้ง 30 กรัม ต้มน้ำกินหรือผสมรากบัว 15 กรัม ต้มน้ำกิน
3. แก้หอบ ใช้รากสด 1 กำมือ เปลือกต้นหม่อนอย่างละเท่าๆ กัน ใส่น้ำ 2 ชาม ต้มให้เหลือ 1 ชาม กินแต่น้ำ
4. แก้ปัสสาวะเป็นหนอง ใช้รากแห้ง 15 กรัม ใส่น้ำ 250 ม.ล. ต้มให้เหลือ 50 ม.ล. รินกินตอนอุ่นหรือเย็นก็ได้ วันละ 3 ครั้ง
5. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ราก 1 กำมือ ใส่น้ำ 1 ถ้วยใหญ่ ต้มให้เหลือ 1 ถ้วยชา (15 ม.ล.) รินกินตอนอุ่นๆ หรือใช้รากแห้ง เมล็ดผักกาดน้ำ อย่างละ 30 กรัม น้ำตาลทราย 15 กรัม ต้มน้ำกิน
6. แก้ตรากตรำทำงานหนัก ช้ำใน ใช้รากสดและขิงสดขนาดเท่าๆ กัน (60 กรัม) ใส่น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำ 2 ถ้วย ต้มให้เหลือ 1 ถ้วย กินวันละครั้ง
7. ปัสสาวะขุ่นเหมือนน้ำนม ใช้รากสด 250 กรัม ใส่น้ำ 2,000 ม.ล. ต้มให้เหลือ 1,200 ม.ล. ใส่น้ำตาลพอสมควรแบ่งกิน 3 ครั้ง ให้หมดใน 1 วัน หรือกินแทนชาติดต่อกัน 5-15 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา
8. แก้ไตอักเสบ
-ใช้รากแห้ง 30 กรัม ดอกเจ๊กกี่อึ้ง (Solidago virga-aureus var. leiocarpa (Benth) A Gray) 30 กรัม เปลือกลูกน้ำเต้า 15 กรัม เหล้าขาว 3 กรัม ต้มน้ำแบ่งกิน 2 ครั้ง วันละชุด (ห้ามผสมเกลือกิน) หรือใช้รากสด 60-120 กรัม ต้มน้ำแบ่งกิน 2-3 ครั้ง ให้หมดใน 1 วัน
-โรคไตอักเสบหรือไตอักเสบเฉียบพลันตำรายาแผนไทยบอกว่า ใช้ราก “ หญ้าคา ” แห้ง จำนวน 250 กรัม หั่นเป็นฝอยต้มน้ำ 2 ลิตร ให้เหลือครึ่งลิตร กินวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าเย็น กินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และให้สังเกตดูว่า อาการจะค่อยๆดีขึ้น อย่าหยุดกินจนกว่าอาการของโรคจะหายจึงจะหยุดกิน ถ้ากินแล้วอาการไม่ดีขึ้นเพราะเป็นมานาน จะต้องใช้ความอดทนตัวยาจะค่อยๆ รักษาได้ ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงรวมอยู่ด้วย ยานี้จะช่วยลดความดันโลหิตให้หายเป็นปกติได้ แต่ในระหว่างกินยาสูตรดังกล่าวอาจมีอาการวิงเวียน อึดอัด ไม่สบายใจได้ อย่าตกใจ ไม่มีพิษร้ายแรงอะไร
9. แก้ปัสสาวะขัด ตัวบวมน้ำ ใช้รากสด 500 กรัม ลอกเปลือกที่อยู่ระหว่างข้ออก หั่นฝอยใส่น้ำ 4 ถ้วยใหญ่ ต้มให้เดือด 10 นาที เปิดดู ถ้ารากยังไม่จมน้ำ ก็ให้ต้มต่อไปจนรากจมน้ำหมด เอากากออกรินตอนอุ่นๆ ประมาณครั้งละครึ่งถ้วย กลางวัน 5-6 ครั้ง กลางคืนอีก 2-3 ครั้ง ต่อเนื่องกันจนครบ 12 ชั่วโมง ปัสสาวะจะถูกขับออกมากขึ้น
10. แก้ดีซ่าน ตัวเหลืองจากพิษสุรา ใช้รากสด 1 กำมือ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับเนื้อหมู 500 กรัม กิน
11. แก้พิษจากต้นลำโพง ใช้รากสด 30 กรัม ต้นอ้อย 500 กรัม ตำคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำมะพร้าว 1 ลูก ต้มกิน
12. แก้ออกหัด กระหายน้ำ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มบ่อย ๆ
13. ขับปัสสาวะใช้วันละ 1 กำมือ (ใบสดประมาณ 40-50 กรัม แห้ง 10-15 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)
14. สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีนคือ รสอมหวานเย็น มีฤทธิ์ห้ามเลือด ทำให้เลือดเย็น ใช้รักษาอาการเลือดออกจากภาวะเลือดร้อน เช่น เลือดกำเดา ไอ อาเจียน ปัสสาวะเป็นเลือด และมีฤทธิ์ระบายความร้อน ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะร้อนมีสีเข้ม
ข้อควรระวัง
– คนที่มีปัสสาวะมาก แต่ไม่กระหายน้ำ ห้ามรับประทานราก
สารเคมีที่สำคัญ : มี Arundoin, Cylindrin, กรดอินทรีย์ น้ำตาล
advertisement
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก/ References:
เต็ม สมิตินันทน์ "ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง)" พิมพ์ที่ หจก.ฟันนี่พับบลิชชิ่ง กรุเทพฯ 2523 หน้า 188.
ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ "สมุนไพร อันดับที่ 01" พิมพ์ที่ บริษัท สารมวลชน จำกัด กรุงเทพฯ 2523 หน้า 216-222.
ดรุณ เพ็ชรพลาย และคณะ " สมุนไพรพื้นบ้านฉบับรวม ".พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์ กรุงเทพฯ 2541 หน้า 166-167.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ "เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ" โดย นายเกษตร นสพ. ไทยรัฐ วันที่ 6 มิถุนายน 2550 เข้าถึงจาก mof.or.th