ปลาอัลลิเกเตอร์ โผล่คลองแสนแสบ ย่านมีนบุรี
advertisement
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ได้มีราย งานข่าวว่าพบปลาอัลลิเกเตอร์ หรือ ปลาจระเข้ อยู่ในคลองแสนแสบ โดยไม่ทราบว่ามาอยู่ในคลองประเทศไทยได้อย่างไร เพราะปลาชนิดนี้มักพบได้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติในทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการพบชนิดนี้ในแหล่งน้ำทำให้หลายคนกังวลว่าอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและธรรมชาติโดยรอบ หากมีการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น เบื้องต้นคาดว่าอาจมีผู้นำเข้ามาแล้วนำมาปล่อยลงแหล่งน้ำ
advertisement
ปลาจระเข้ ถือว่าเป็นปลาการ์ (Gar fish) ที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ Lepisosteidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepisosteus spatula โดยมีสถิติบันทึกอย่างเป็นทางการของปลาจระเข้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดไว้คือ ยาว 2.92 เมตร หนัก 165 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นสายพันธุ์ปลาน้ำจืดโบราณที่ติดอันดับต้นๆ ในเรื่องของขนาดและความอดทน ปลาจระเข้เป็นปลากินเนื้อ ซึ่งวัยเด็กจะกินแมลง ลูกปลาขนาดเล็ก และกบ หลังจากนั้นจะเริ่มล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เช่น ปลาขนาดใหญ่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนก เป็นต้น [ads]
ปลาจระเข้มีการแพร่กระจายค่อนข้างกว้างในอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ตอนกลางไล่ไปจนถึงด้านตะวันออกของอเมริกา และสามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งในสภาพน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เนื่องจากมีอวัยวะที่ช่วยในการหายใจจึงทำให้สามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ดี อุปนิสัยของปลาชนิดนี้ ค่อนข้างรักสงบ ไม่ก้าวร้าว สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงได้ ชอบอยู่รวมกัน เป็นฝูงโดยการลอยตัวอยู่บริเวณเหนือผิวน้ำนิ่งๆ เพื่อรอเหยื่อว่ายเข้ามาใกล้จึงจะพุ่งเข้าไปงับเหยื่อ และมีรูปแบบการกินเหยื่อที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก
advertisement
ปลาชนิดนี้เป็นปลาตระกูลเดียวกันกับปลาปิรันย่า แต่จะไม่ทำร้ายคน มีลักษณะลำตัวกลมยาวเรียว ส่วนหัวจะเล็กลง ปากยาวคล้ายจระเข้ โคนหางด้านบนจะยาวกว่าโคนหางด้านล่างอย่างเห็นได้ชัด มีแพนหางกลมแข็งแรงคล้ายพัด มีโครงสร้างของเกล็ดที่แข็งและสากปกคลุมลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือเรียกว่า เกล็ดแบบ Ganoid มีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นแผ่นแข็งแรงคล้ายโล่ เพื่อป้องกันการกัดแทะจากผู้ล่า ซึ่งชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำที่ปลาจระเข้อาศัยอยู่ ได้นำเกล็ดของปลาจระเข้มาทำเป็นหัวลูกศรเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ เนื่องจากเกล็ดของปลาจระเข้เมื่อนำมาแยกเป็นชิ้นๆ และตากแห้ง จะมีลักษณะที่แข็งและแหลมคมคล้ายฟันปลาฉลาม สามารถตัดผ่านเนื้อได้อย่างไม่ยากเย็น
ปลาจระเข้อาจไม่เป็นอันตรายต่อคน แต่หากปล่อยปลาชนิดนี้ลงสู่แหล่งน้ำที่ไม่ใช่ถิ่นอาศัยเดิม กลับสร้างความเสียหายได้อย่างมาก เนื่องจากปลาชนิดนี้สามารถทนอยู่ได้ในทุกแหล่งน้ำ ประกอบกับเป็นปลาที่ไม่เลือกกินสิ่งมีชีวิต จึงสามารถทำลายระบบนิเวศบริเวณนั้นได้ นอกจากนั้นไข่ของปลาจระเข้ยังเป็นพิษ ทำให้อัตรารอดของลูกปลาจระเข้ที่ฟักออกเป็นตัวค่อนข้างสูงตามไปด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้วปลาจระเข้มีศัตรูตามธรรมชาติอยู่น้อย เมื่อเข้ารู้ระบบนิเวศใหม่ซึ่งปราศจากศัตรู ปลาจึงสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุณที่มาจาก : เรื่องเล่าเช้านี้