ปวดท้องประจำเดือนแบบไหนผิดปรกติและต้องรีบพบแพทย์!!
advertisement
ประจำเดือน เป็นเรื่องที่สาวๆ เราทราบกันดีว่าเมื่อรอบเดือนมา อาการปวดท้องก็ตามมาเช่นกัน บางคนปวดมากบางคนปวดน้อย นี้คืออาการที่พบเห็นได้ทั่วไปที่สาวๆประสบพบเจอ บางคนอาจมีอาการอื่นหรืออารมณ์ฉุนเฉี่ยว แต่วันนี้ kaijeaw.com จะพามาศึกษาอาการปวดท้องประจำเดือนว่าปวดท้องระดับไหนที่จะต้องไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษา มาดูกันเลยค่ะ[ads]
อาการปวดประจำเดือนอาการปวดประจำเดือนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่
1. ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea)
เป็นอาการปวดประจำเดือนแบบปกติ โดยจะปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อย บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน และหงุดหงิดร่วมด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน และมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ออกมามากผิดปกติ กระตุ้นให้มดลูกมีการบิดเกร็งตัว และจะรู้สึกปวดในระยะก่อนมีประจำเดือน 2-3 ชั่วโมง ตลอดจนช่วง 2-3 วันแรกของการมีประจำเดือน อาการปวดหน่วง ๆ ก็จะยังคงรู้สึกอยู่
อาการปวดประจำเดือนชนิดนี้จะมีอาการมากสุดในช่วงอายุ 15-25 ปี หลังจากวัยนี้อาการปวดประจำเดือนจะค่อย ๆ ลดลง บางรายอาจหายป่วยหลังมีบุตรแล้ว และส่วนมากอาการปวดประจำเดือนชนิดนี้ก็จะไม่พบความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่แต่อย่างใด
advertisement
2. ปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea)
ปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิจะมีอาการปวดท้องค่อนข้างหนัก บางรายอาจมีอาการท้องเสีย เหงื่อออก ตัวเย็น มือ เท้าเย็น หรือหน้ามืดเป็นลมได้ อาการปวดประจำเดือนชนิดนี้มักเกิดกับสาววัย 25 ปีขึ้นไป โดยจะรู้สึกปวดประจำเดือนแบบนี้ครั้งแรก ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยปวดประจำเดือนขนาดนี้มาก่อน ซึ่งคนที่รู้สึกปวดประจำเดือนหนัก ๆ ในวัยนี้ มักตรวจพบความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ด้วย เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก หรือปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
ปวดประจำเดือนแบบไหน เรียกว่าปกติ
* ปวดประจำเดือนไม่มาก แค่พอรำคาญ แต่ไม่ปวดประจำเดือนจนรู้สึกทรมานและทนไม่ไหว
* อาการปวดประจำเดือนที่เป็นไม่ถึงกับต้องรับประทานยาแก้ปวด
* อาการปวดประจำเดือนเกิดขึ้นแค่ 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน จากนั้นอาการปวดประจำเดือนจะหายได้เอง
* บางรายอาจปวดประจำเดือนมากทุกครั้งที่ประจำเดือนมา แต่ถ้ากินยาแก้ปวดอาการจะทุเลาลงจนใช้ชีวิตได้ปกติ[ads]
ปวดประจำเดือนแบบไหนต้องไปหาหมอ
– ปวดประจำเดือนมาก โดยช่วงที่ปวดประจำเดือนแรก ๆ อาจพอทนไหว แต่ต่อมาอาการปวดประจำเดือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกเดือน และมักจะรู้สึกปวดรุนแรงในช่วง 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน
– รู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงจนต้องรับประทานยาแก้ปวดมากกว่าวันละ 1 ครั้ง อาการปวดประจำเดือนถึงจะทุเลาลง
– ปวดประจำเดือนรุนแรง โดยอาจมีอาการหน้ามืด เป็นลม ท้องเดิน และรู้สึกปวดท้องจนไม่สามารถลุกไปทำอะไรได้ ต้องกินยาแก้ปวดและนอนพักสักระยะจึงจะหาย
– ปวดประจำเดือนรุนแรงขึ้นจนยาแก้ปวดเอาไม่อยู่ และต้องไปพบแพทย์ทุกครั้งที่มีประจำเดือน
– มีอาการปวดตรงบริเวณท้องน้อยข้างขวา ติดต่อกันนานกว่า 6 ชั่วโมง มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย รวมทั้งหากเกิดการกระเทือน หรือกดถูกบริเวณนั้นจะมีอาการเจ็บปวด
– ปวดและกดเจ็บตรงบริเวณท้องน้อย ร่วมกับมีอาการไข้สูง อาจมีอาการตกขาวร่วมด้วย
– ปวดบิดเกร็งตรงบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง และมักมีอาการปวดร้าวลงมาที่ช่องคลอดข้างเดียวกัน
– ปวดประจำเดือนมาก ร่วมกับมีเลือดออกกะปริบกะปรอย (ประจำเดือนมากกว่ากว่า 1 ครั้ง แต่ละครั้งเลือดจะออกน้อย) หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ
advertisement
การรักษา
การรักษาเริ่มต้นจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และ Ultrasound ถ้ายังเป็นไม่มาก ไม่มีซีสต์ ไม่มีเนื้องอก พังผืดยังเป็นไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการใช้ยา Hormone เช่น ยาคุมกำเนิด มีตั้งแต่ใช้กิน ฉีด ฝัง ใส่ห่วง เป็นต้น แต่ถ้าตรวจพบเนื้องอกซีสต์ หรือพังผืดที่เป็นเยอะจนทำให้อวัยวะข้างเคียงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น มีบุตรยาก ลำไส้อุดตัน หรือท่อไตอุดตัน จากพังผืด กลุ่มนี้ต้องทำการรักษาแบบการผ่าตัดส่องกล่อง นอกจากนี้ การทำความสะอาดในช่วงมีประจำเดือนก็ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะระยะเวลาในการเปลี่ยนผ้าอนามัยนั้นสามารถเปลี่ยนได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เพราะยิ่งเปลี่ยนบ่อยเท่าไหร่ก็จะยิ่งสบายตัวมากขึ้น เรื่องการทำความสะอาดเพียงแค่ดูแลอาบน้ำ หรือถ้าใครที่อยากใช้น้ำยาทำความสะอาดเฉพาะที่ก็สามารถทำได้ แต่ควรทำเพียงภายนอกก็พอ ไม่ต้องสวนล้างเข้าไปจนถึงภายในเพราะไม่อย่างนั้นจะยิ่งเกิดอันตรายได้จากการติดเชื้อหรืออักเสบได้
สาวๆๆ อย่านิ่งนอนใจกับเรื่องอาการปวดประจำเดือนนะค่ะ เพราะบางคนอาการปวดประจำเดือนถึงขั้นต้องขาดเรียน ลางานเลยก็มี แถมสัญญาณการปวดประจำเดือนยังบ่งบอกได้ว่ามีโอกาสที่จะเป็นโรค เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ช็อกโกแลตซีสต์ เลือดออกในอุ้งเชิงกราน เนื้องอกมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ นิ่วท่อไต ไส้ติ่งอักเสบ สาวๆๆคนไหนที่ปวดประจำเดือนอยู่ในระดับที่ผิดปกติควรที่จะไปหมอนะค่ะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com